Scammer Alert! ภาครัฐออกโรงเตือน อย่าหลงเชื่อ SMS แจกอั่งเปาช่วงตรุษจีน

เทศกาลตรุษจีนกำลังใกล้เข้ามาแล้ว ในขณะที่ประชาชนเชื้อสายจีนเตรียมตัวฉลองวันปีใหม่จีนและแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษ มิจฉาชีพบางกลุ่มก็ใช้โอกาสนี้ในการล่อลวงผู้คน Fact Crescendo พบว่ามีมิจฉาชีพบางกลุ่มส่ง SMS โดยอ้างว่าจะแจกอั่งเปาในช่วงตรุษจีน เพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้คลิกลิงก์ หรือแอดไลน์ไอดีเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้ รวมถึงอาจใช้ช่องทางนี้แฮ็กข้อมูลและเข้าถึงแอปธนาคารและแอปต่างๆ ได้อีกด้วย ตัวอย่าง SMS ที่อ้างว่าแจกอั่งเปาในช่วงตรุษจีน ตัวอย่าง SMS มิจฉาชีพที่แนบลิงก์เว็บไซต์ปลอมเพื่อล่อลวงข้อมูลของผู้ใช้ (ที่มา: ตำรวจสอบสวนกลาง) โดยล่าสุด ทางกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) ได้ออกแถลงการณ์เตือนประชาชนถึงภัยคุกคามในรูปแบบ SMS ในช่วงตรุษจีนนี้ โดยเตือนประชาชนอย่าคลิกลิงก์ใน SMS ที่อ้างว่าแจกอั่งเปาวันตรุษจีน Archive นอกจากนี้ ทางหน่วยงานตำรวจไซเบอร์ยังได้เผยแพร่วิดีโอแสดงตัวอย่างของมิจฉาชีพทาง SMS ที่ใช้กลลวงในลักษณะเดียวกันกับที่กล่าวถึงข้างต้น Source | Archive โดยในวิดีโอได้แสดงตัวอย่าง SMS จากมิจฉาชีพที่มักจะแอบอ้างตนว่าเป็นหน่วยงานและเว็บไซต์ยอดนิยมต่างๆ เช่น TikTok, Shopee, Google หรือแม้กระทั่งธนาคาร เพื่อลวงเอาข้อมูลและรหัสผ่านของผู้ใช้ผ่านทางเว็บไซต์ปลอม  ทางหน่วยงานได้แจ้งแนวทางในการระมัดระวังให้แก่ประชาชนดังนี้ ข้อสรุปส่งท้าย ให้ระวัง SMS แอบอ้างที่มักจะมาในช่วงเทศกาลต่างๆ และอย่าคลิกลิงก์และกรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ ในเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนโจรกรรมข้อมูล Title:Scammer […]

Continue Reading

[อัปเดต] มิจฉาชีพรูปแบบใหม่ แฮ็กข้อมูลผ่านสายชาร์จได้จริงหรือไม่?

อัปเดตล่าสุดวันที่ 19 ม.ค. 2566 เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2566 มีผู้ใช้โซเชียลหลายรายได้โพสต์เตือนภัยและแสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้สายชาร์จ เนื่องจากมีผู้เสียหายหลายรายที่ได้เข้าแจ้งความเนื่องจากโดยแฮ็กข้อมูลและโอนเงินออกจากบัญชีธนาคาร โดยมีรายงานว่าขณะนี้มีผู้เสียหายแล้วมากกว่า 10 ราย Source Post | Archive โดยเพจ “ประชาสัมพันธ์ audio” มีการแชร์เรื่องราวดังกล่าว โดยมีเนื้อความในโพสต์ว่า “#เตือนภัยด่วน ผู้ใช้มือถือระบบ “แอนดรอยด์” จำนวนมาก #ถูกดูดข้อมูลและสั่งโอนเงินออกจากบัญชีอัตโนมัติ เบื้องต้นคาดต้นเหตุมาจากสายชาร์จ” โดยในส่วนความคิดเห็นก็มีผู้ใช้มาโพสต์ข้อมูลยืนยันและแสดงความกังวลใจเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทางตำรวจสอบสวนกลาง ก็ได้ออกมาแชร์เรื่องราวดังกล่าวและเตือนภัยให้ผู้ใช้ระวังภัยจากมิจฉาชีพรูปแบบใหม่นี้ Archive ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม ธนาคารแห่งชาติได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า ตามที่ปรากฏข่าวพบผู้เสียหายจากการใช้งานสายชาร์จปลอม แล้วถูกดูดข้อมูล และโอนเงินออกจากบัญชีนั้น ธปท.หารือสมาคมธนาคารไทยเพื่อตรวจสอบกรณี ดังกล่าวแล้ว พบว่าไม่ได้เกิดจากการใช้งานสายชาร์จปลอม แต่เกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์ ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า และควบคุมเครื่องโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมแทนจากระยะไกล เพื่อโอนเงินออกจากบัญชี นอกจากนี้ ทางตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ระบุว่าจากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์ของผู้เสียหายพบว่ามีการติดตั้งแอปหาคู่เถื่อน ชื่อว่า “Sweet meet” ลงในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสอดคล้องกับประวัติในการเข้าไปในเว็บไซต์เพื่อติดตั้งแอปดังกล่าว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ถูกดูดเงินออกจากแอปธนาคาร ยืนยันว่ากรณีดังกล่าวไม่เกี่ยวกับสายชาร์จดูดข้อมูลตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด ล่าสุดได้สั่งการให้ตำรวจเข้าดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยทางธนาคารแห่งชาติได้ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลนั้นมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินออกจากแอปธนาคารได้ตามที่ผู้เสียหายกล่าวอ้าง […]

Continue Reading

อย่าหลงเชื่อ เพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อกรมการขนส่ง รับทำใบขับขี่ออนไลน์

จากที่มีการแชร์โพสต์เรื่องการรับทำใบขับขี่ออนไลน์บนโซเชียล โดยมีเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อกรมการขนส่งทางบก และอ้างว่ารับทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยมีเนื้อความในโพสต์ว่า “รับทำใบขับขี่ จริง ต่อใบขับขี่ปีละครั้ง ผู้ติดตามเรา 6,700 กว่าคน รับประกัน เรารับทำออนไลน์ ราคาไม่แพง บัตรออกโดยขนส่ง มีในระบบ ถูกฎหมายแน่นอน ทำงานไม่ต้องออกจากบ้าน ส่งเอกสารเช็ก ทราบผลทันที รอรับบัตรไม่เกิน 2-3 วัน อยากทำใบขับขี่ ทางเราทำให้ไม่ยุ่งยาก รู้ผลทันที สนใจอยากทำใบขับขี่ สนใจสอบทางไลน์ได้เลย” (Source | Archive) ทาง Fact Crescendo ได้ตรวจสอบและพบว่าเพจดังกล่าวไม่ใช่เพจจริงของกรมการขนส่งทางบก และทางกรมการขนส่งทางบกก็ไม่ได้เปิดรับทำใบขับขี่ออนไลน์ในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด มีเพียงการเปิดอบรมใบขับขี่ออนไลน์สำหรับต่ออายุใบขับขี่เท่านั้น และไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรมแต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้าง เพจเฟซบุ๊กดังกล่าวที่ใช้ชื่อกรมการขนส่งทางบกอ้างว่ารับทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยมีอัตราค่าบริการแตกต่างกันไปสำหรับรถแต่ละประเภท และทำได้โดยไม่ต้องออกจากบ้าน เพียงส่งเอกสารเช็กและรอรับบัตรได้เลย ตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลของเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า “กรมการขนส่งทางบก รับทำใบขับขี่” ซึ่งใช้โลโก้และภาพหน้าปกของกรมการขนส่งทางบก พบว่าเพจดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับกรมการขนส่งทางบกแต่อย่างใด โดยทางกรมขนส่งทางบอกได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ของทางองค์กร แนะประชาชนอย่างหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่อาสาดำเนินการด้านทะเบียนและใบขับขี่ (ที่มา: กลุ่มประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ […]

Continue Reading

เตือนภัย โพสต์/ SMS แจ้งข่าวธนาคารออมสินปล่อยกู้สินเชื่อ เป็นข้อมูลเท็จ

ธนาคารออมสินออกมาเตือน อย่าหลงเชื่อโพสต์ที่แอบอ้างว่าทางธนาคารปล่อยเงินกู้ที่กำลังระบาดทั้งบนเฟซบุ๊กและ SMS โดยใช้ชื่อและโลโก้ของทางธนาคารเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ Source | Archive โพสต์ดังกล่าวได้ใช้ชื่อของธนาคารออมสิน รวมถึงโลโก้ของธนาคาร และแชร์ข้อมูลการปล่อยกู้ โดยมีเนื้อหาว่า “สินเชื่อปล่อยกู้โดยตรง วงเงินสูงสุด 300,000 บาทต่อคน ทางสินเชื่อเปิดให้กู้ 24 ชั่วโมงค่ะ สามารถกู้ได้ทุกธนาคารแล้วนะคะ กู้ได้จริงไม่ยุ่งยาก ทางเราเป็นออมสินปล่อยกู้ถูกกฎหมาย สนใจแอดไลน์ไอดี @****** หรือคลิก ******” ทาง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวก็พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ ไม่ใช่ข้อมูลจากธนาคารออมสินแต่อย่างใด คำกล่าวอ้าง โพสต์เฟซบุ๊กจากผู้ใช้งานที่ใช้ชื่อและโลโก้ของทางธนาคารออมสิน ได้โพสต์ข้อมูลคล้ายข้อความประชาสัมพันธ์จากธนาคารว่าธนาคารเปิดให้ปล่อยกู้ โดยให้วงเงินสูงสุด 300,000 บาทต่อราย ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทางทีมงานได้ทำการตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวของผู้ใช้เฟซบุ๊กช้ที่ใช้ชื่อบัญชีว่า “ธนาคาร ออมสิน” ที่โพสต์ในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “ธนาคาร ออมสิน” พบว่าบัญชีดังกล่าว รวมถึงกลุ่มเฟซบุ๊กดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับธนาคารออมสิน โดยทางธนาคารออมสินได้เผยแพร่บทความแจ้งให้ผู้ใช้ระวังภัยมิจฉาชีพที่ปลอมเป็นธนาคาร โดยให้สังเกตเครื่องหมายยืนยันตัวตนสีฟ้าข้างชื่อเพจเฟซบุ๊ก (ที่มา: ธนาคารออมสิน) โดยทางธนาคารยังระบุอีกว่า “ถ้าใช้ชื่ออื่นที่สะกดผิด หรือใช้คำภาษาไทย เช่น ธนาคารออมสิน, […]

Continue Reading