ซีรีส์ “Squid Game” ไม่ได้สร้างจากเหตุการณ์จริงตามข้อความไวรัลบนโซเชียล

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา Netflix ได้ปล่อยภาคต่อของซีรีส์เกาหลียอดนิยมที่กลายเป็นไวรัลทั่วโลกเมื่อปี 2021 อย่าง Squid Game ออกมา โดยหลังจากซีซั่นที่ 2 เปิดให้รับชม ก็มีข้อความไวรัลบนโซเชียลมีเดียอ้างว่า Squid Game นั้นสร้างมาจากเหตุการณ์จริง โดยอ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ในปี 1986 ที่มีผู้คนถูกจับเป็นตัวประกันและถูกบังคับให้เล่นเกมที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า ซีรีส์ Squid Game สร้างจากเหตุการณ์จริงในปี 1986 เหตุการณ์จริงเกิดขึ้นในบังเกอร์แห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ โดยผู้คนถูกจับเป็นตัวประกันและต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อให้อยู่รอด พร้อมอ้างว่าซีรีส์ดังเรื่องนี้มีแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์นี้ พร้อมภาพสถานที่ที่อ้างว่าเป็นภาพสถานที่จริงของเหตุการณ์ดังกล่าว ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่มาของซีรีส์ Squid Game: Hwang Dong-hyuk ผู้กำกับซีรีส์ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าแรงบันดาลใจในการสร้าง Squid Game มาจากความยากลำบากในชีวิตส่วนตัวของเขาและการสังเกตเห็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ นอกจากนี้ เขายังได้รับอิทธิพลจากผลงานแนวดิสโทเปียของญี่ปุ่น เช่น Battle […]

Continue Reading

เตือนภัย! อีเมลปลอมแอบอ้าง Netflix หลอกให้อัปเดตข้อมูลการชำระเงิน

เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้รับอีเมลที่อ้างว่ามาจาก Netflix ให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัว พร้อมเตือนว่าเป็นอีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร หากได้รับอีเมลลักษณะดังกล่าวที่แจ้งว่า Netflix ต้องการให้อัปเดตข้อมูลการชำระเงินอย่างเร่งด่วน อย่าเพิ่งรีบคลิกหรือลงข้อมูลใดๆ เพราะนี่อาจเป็นกลโกงฟิชชิง (Phishing) ที่ออกแบบมาให้เหมือนกับอีเมลจาก Netflix เพื่อหลอกให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว บทความนี้จะช่วยให้คุณสังเกตเห็นจุดน่าสงสัย วิธีรับมือ และป้องกันตัวเองจากกลโกงนี้ อีเมล “Netflix Update Your Payment Details” คืออะไร? อีเมลฟิชชิงนี้เป็นการหลอกลวงที่ปลอมแปลงให้ดูเหมือนข้อความจาก Netflix โดยมักใช้คำที่กระตุ้นให้รีบทำ เช่น “อัปเดตข้อมูลการชำระเงินทันที มิฉะนั้นบัญชีจะถูกระงับ” เป้าหมายคือการทำให้เหยื่อรู้สึกกังวลแล้วคลิกเข้าไปกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ปลอม ซึ่งเว็บเหล่านี้ออกแบบให้คล้าย Netflix เพื่อขโมยข้อมูลบัญชี Netflix ข้อมูลบัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งข้อมูลธนาคาร จุดสังเกตที่บอกว่าเป็นอีเมลปลอม ตัวอย่างอีเมลแอบอ้าง สังเกตได้ว่าลักษณะการสะกดคำจะไม่ถูกต้อง ที่มา ตัวอย่างลิงก์ปลอมที่มาในอีเมลแอบอ้าง ที่มา ถ้าเจออีเมลที่น่าสงสัย ต้องทำอย่างไร? ทำไมมิจฉาชีพถึงเลือกเป้าหมายเป็นผู้ใช้ Netflix? ด้วยจำนวนผู้ใช้ […]

Continue Reading

จริงหรือไม่: ภาพไวรัลพร้อมข้อกล่าวอ้างว่ามาจากภาพยนตร์ Dragon Ball Z ฉบับคนแสดง

เมื่อไม่นานมานี้ มีภาพพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพจากภาพยนตร์เรื่อง Dragon Ball Z เวอร์ชันคนแสดงจาก Netflix แพร่กระจายเป็นวงกว้างบนโซเชียลมีเดีย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บน Facebook ที่มีรูปภาพและอ้างว่าเป็นภาพจากภาพยนตร์ Dragon Ball Z ของ Netflix ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดความสนใจในหมู่แฟนการ์ตูนที่รอคอยให้มีการดัดแปลงเป็นฉบับคนแสดง พร้อมคำบรรยายในโพสต์ว่า “ดราก้อนบอล น่าดูมากถ้าพูดถึงการทำหนังหรือซีรีส์สมัยนี้ ความสมจริงสมจัง ทั้งฉาก คอสตูม และขั้นตอนการผลิตต่างๆ บอกเลยว่าไม่ควรพลาด!!! Dragon Ball Z (Saiyan Saga) Live Action in Netflix Soon” Source | Archive นอกจากนี้เรายังพบรูปภาพชุดเดียวกันพร้อมคำกล่าวอ้างที่คล้ายกันในโพสต์บน Facebook หลายรายการ โดยโพสต์เวอร์ชันภาษาอังกฤษมีการแชร์ต่อถึงกว่าหมื่นครั้ง Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราตรวจสอบข้อเท็จจริงและพบว่าภาพชุดดังกล่าวไม่ใช่ภาพจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse […]

Continue Reading

ภาพ AI ถูกนำมาใช้โยงกับภาพล่าสุดของทักษิณ

ในช่วงเช้าวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับบ้านพัก พร้อมกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร และนางสาวพินทองทา คุณากรวงศ์ บุตรสาวทั้งสอง 2 คน (อ่านข่าวที่นี่) และในช่วงบ่ายของวันที่ 18 ก.พ. นางสาวแพทองธาร ได้โพสต์รูปของนายทักษิณ ในบัญชี Instagram ส่วนตัวของตน และมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้นำภาพดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับภาพที่อ้างว่าเป็นโปสเตอร์ภาพยนตร์ของ Netflix โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้บัญชี X รายหนึ่งได้โพสต์ภาพล่าสุดนายทักษิณ เปรียบเทียบกับภาพภาพหนึ่ง พร้อมคำบรรยายภาพว่า “คนคิดคอนเทนต์ ต้องดู Netflix แน่ๆ” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์กล่าวมีการรับชมไปกว่า 360,000 ครั้งภายในไม่กี่ชั่วโมง และมีผู้ใช้รายหลายแสดงความเห็นภายในโพสต์ว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพจริง แต่เป็นภาพจาก AI เราจึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงภาพดังกล่าว บทความที่เกี่ยวข้อง: ภาพเก่าของทักษิณ ถูกนำมาใช้แอบอ้างเป็นภาพล่าสุดขณะรักษาตัวที่รพ. ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการดำเนินตรวจสอบที่มาของรูปภาพ เราไม่พบโปสเตอร์ภาพยนตร์หรือซีรีส์จาก Netflix ที่ตรงกับภาพดังกล่าว อย่างไรก็ตาม […]

Continue Reading