จีนและอินเดียยังไม่ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินจากโรค HMPV

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อมูลอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการระบาดของโรค HMPV ในประเทศจีน พร้อมกับการอ้างว่ามีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศจีนและอินเดียแล้ว โดยข้อมูลดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียและสร้างความกังวลและสับสนแก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย  มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อมูลว่า จีนและอินเดียได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากโรค HMPV (Human Metapneumovirus) ระบาด พร้อมระบุว่าล่าสุดโรงพยาบาลได้เมืองหลักต่างๆ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว มีภาวะผู้ป่วยล้นจนเตียงเต็ม เนื่องมาจากการติดเชื้อ HMPV ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง HMPV คืออะไร? Human Metapneumovirus (HMPV) เป็นไวรัสในตระกูล Paramyxoviridae ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2001 โดยการศึกษาพบว่า HMPV สามารถแพร่กระจายได้ทั่วโลกและพบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ แม้ว่า HMPV จะมีลักษณะคล้ายกับ RSV (Respiratory Syncytial Virus) […]

Continue Reading

ไวรัส hMPV “ไม่ใช่” ไวรัสชนิดใหม่ ตามข้อกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดีย

เมื่อไม่นานมานี้ เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียว่ามีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่าโควิด-19 เข้ามาระบาดในประเทศไทย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย พบข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE ระบุว่า “มาอีกแล้ว ไวรัส HMPV หนักกว่าโควิด ไทยนำเข้ามาแล้วอย่างเป็นทางการ มีอาการผสมระหว่างไข้หวัดใหญ่+โควิด ไม่มียาและไม่มีวัคซีนรักษา ก็ต้องป้องกันตนเองให้ดีที่สุด” นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างข้างต้นอาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดและเกิดความกังวลได้ เนื่องจากอันที่จริงแล้ว hMPV ไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด ทำความรู้จัก hMPV Human metapneumovirus หรือ hMPV คือ ไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ น้ำมูก คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ที่มีการค้นพบมานานหลายสิบปี ไม่ได้เป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ แต่ที่เพิ่งมารู้จักกันในประเทศไทยไม่นาน เพราะเพิ่งจะเริ่มมีการพัฒนาการตรวจหาเชื้อ ที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ไม่นานนี้ โดยวิธีการ Swab ป้ายตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นเดียวกับการตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และ RSV โดยอาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจ คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้ […]

Continue Reading