ข่าวลือว่า OpenAI จะเปิดตัวโมเดล AI “Orion” AI ในเดือนธันวาคมนี้ ไม่เป็นความจริง

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวลือว่า OpenAI จะเปิดตัวโมเดล AI ใหม่ที่ชื่อว่า “Orion” ในเดือนธันวาคมปี 2024 โดยแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโซเชียลมีเดียและสำนักข่าวออนไลน์ต่างๆ โดยมีการคาดการณ์เกี่ยวกับฟังก์ชันการทำงานใหม่ๆ ไปจนถึงการแข่งขันกับเทคโนโลยี AI จากคู่แข่งรายอื่นๆ ข้อกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดีย มีเว็บไซต์สื่อด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง เช่น The Verge, WCCFtech และ Tom’s Hardware ได้รายงานเกี่ยวกับโมเดล “Orion” ที่อ้างว่า OpenAI เตรียมเปิดตัวโมเดลรุ่นใหม่ที่ชื่อว่า “Orion” ภายในเดือนธันวาคม ซึ่งข่าวนี้ทำให้เกิดการคาดเดาเกี่ยวกับศักยภาพของโมเดลนี้ โดยมีการคาดการณ์ว่า “Orion” อาจเป็นโมเดลรุ่นถัดไปที่มีคุณสมบัติเทียบเคียงกับ GPT-5 ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความตื่นเต้นและข้อถกเถียงในหมู่ชุมชนผู้ใช้ AI Source | Archive Source | Archive Source | Archive ข้อกล่าวอ้างนี้ยังแพร่กระจายอย่างเป็นวงกว้างใน Facebook อีกด้วย Source | Archive Source | […]

Continue Reading

วิดีโอ “ปลางวงช้าง” ที่เป็นไวรัล สร้างขึ้นโดยใช้จาก AI

เมื่อเร็วๆ นี้ มีวิดีโอไวรัลของปลาชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะประหลาด โดยมีส่วนหัวที่ดูเหมือนเขาหรือส่วนงวง สร้างความสงสัยแก่ผู้คนว่าเป็นภาพของปลาจริงหรือภาพที่ถูกสร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยวิดีโอดังกล่าวได้มีการส่งต่อกันอย่างแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม LINE พร้อมข้อความว่า “หาดูไม่ง่าย “กุญชรวารี” (ช้างน้ำ ตัวท่อนบนเป็นช้าง ท่อนล่างเป็นปลา..สัตว์หิมพานต์) ปรากฏให้เห็นจริงๆแล้ว…” นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอดังกล่าวพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook เช่นเดียวกัน โดยผู้ใช้บางส่วนได้ระบุว่าปลาชนิดดังกล่าวคือ “ปลางวงช้าง” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือค้นหาภาพกลับ (Reverse Image Search) ไม่มีผลการค้นหาที่เชื่อมโยงภาพนี้กับแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือแสดงให้เห็นว่าปลาเหล่านี้เป็นชนิดปลาที่มีอยู่จริง การตรวจสอบฐานข้อมูลปลาที่น่าเชื่อถือ เช่น FishBase ก็ไม่พบข้อมูลที่สอดคล้องกับภาพปลาเหล่านี้ ทำให้เราเชื่อว่าภาพเหล่านี้อาจไม่ใช่ของจริง นอกจากนี้ ยังไม่พบรายงานข่าวการค้นพบปลาลักษณะดังกล่าวจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือรูปภาพปลาชนิดดังกล่าวในแหล่งที่มาอื่นๆ แต่อย่างใด และเราได้ลองใช้เครื่องมือตรวจจับรูปภาพและวิดีโอที่สร้างโดย AI เช่น HiveModeration และ HuggingFace โดยได้ผลลัพธ์ตรงกันว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าวิดีโอดังกล่าวจะสร้างขึ้นโดยใช้ […]

Continue Reading

ภาพ AI ถูกนำมาใช้โยงกับภาพล่าสุดของทักษิณ

ในช่วงเช้าวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางกลับบ้านพัก พร้อมกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร และนางสาวพินทองทา คุณากรวงศ์ บุตรสาวทั้งสอง 2 คน (อ่านข่าวที่นี่) และในช่วงบ่ายของวันที่ 18 ก.พ. นางสาวแพทองธาร ได้โพสต์รูปของนายทักษิณ ในบัญชี Instagram ส่วนตัวของตน และมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้นำภาพดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับภาพที่อ้างว่าเป็นโปสเตอร์ภาพยนตร์ของ Netflix โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้บัญชี X รายหนึ่งได้โพสต์ภาพล่าสุดนายทักษิณ เปรียบเทียบกับภาพภาพหนึ่ง พร้อมคำบรรยายภาพว่า “คนคิดคอนเทนต์ ต้องดู Netflix แน่ๆ” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์กล่าวมีการรับชมไปกว่า 360,000 ครั้งภายในไม่กี่ชั่วโมง และมีผู้ใช้รายหลายแสดงความเห็นภายในโพสต์ว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพจริง แต่เป็นภาพจาก AI เราจึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงภาพดังกล่าว บทความที่เกี่ยวข้อง: ภาพเก่าของทักษิณ ถูกนำมาใช้แอบอ้างเป็นภาพล่าสุดขณะรักษาตัวที่รพ. ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการดำเนินตรวจสอบที่มาของรูปภาพ เราไม่พบโปสเตอร์ภาพยนตร์หรือซีรีส์จาก Netflix ที่ตรงกับภาพดังกล่าว อย่างไรก็ตาม […]

Continue Reading

ภาพไวรัล ‘Dark Zuckerberg’ เป็นภาพที่สร้างจาก AI ไม่ใช่บุคคลจริง

เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบภาพไวรัลของภาพชายผิวดำคนหนึ่งที่มีใบหน้าละม้ายคล้าย CEO ของ Facebook และเครือ Meta อย่าง Mark Zuckerberg เป็นอย่างมาก ซึ่งความเหมือนนี้ทำให้ภาพดังกล่าวการรับชมบนทวิตเตอร์ไปกว่าหลายล้านครั้ง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ X (Twitter) รายหนึ่งได้แชร์ภาพชายผิวดำรายหนึ่งที่มีใบหน้าคล้ายกับ Mark Zuckerberg พร้อมคำบรรยายภาพว่า “Dark Zuckerberg” โดยภาพดังกล่าวมีการรับชมบนแพลตฟอร์มไปกว่า 15 ล้านครั้ง Source | Archive นอกจากนี้เรายังพบภาพดังกล่าวถูกแชร์บน Facebook ทั้งในบริบทภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราดำเนินการตรวจสอบภาพดังกล่าวโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และเราพบว่ามีผู้ใช้ Reddit ที่ใช้ชื่อว่า “rare_gianpaolo” ได้โพสต์รูปเดียวกันลงบนเว็บไซต์ พร้อมคำบรรยายแปลได้ว่า “Mark Zuckerberg ที่มาจากไนจีเรีย” โดยกระทู้ดังกล่าวอยู่ในหมวดหมู่ ‘เนื้อหาที่สร้างโดย AI’ […]

Continue Reading

หุ่นยนต์เกี่ยวข้าว: มีจริงหรือแค่วิดีโอตัดต่อ?

เทคโนโลยี AI และการออกแบบกราฟิกที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่ว่าใครที่มีจินตนาการอันสร้างสรรค์ก็สามารถสร้างรูปภาพและวิดีโอที่แปลกใหม่และน่าสนใจได้ อย่างไรก็ตาม มีการแชร์ผลงานเหล่านี้พร้อมข้อกล่าวอ้างที่ชวนให้เข้าใจผิดได้ โดยในบทความนี้ เราจะตรวจสอบคำกล่าวอ้างที่ระบุว่าเป็นวิดีโอของหุ่นยนต์กำลังเกี่ยวข้าวในทุ่งนา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์ที่หุ่นยนต์กำลังเกี่ยวข้าว โดยหุ่นยนต์ในวิดีโอดังกล่าวมีลักษณะการเคลื่อนไหวคล้ายคลึงกับมนุษย์ โดยวิดีโอดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมากในโซเชียลมีเดีย Source | Archive วิดีโอดังกล่าวถูกแชร์ในภาษาต่างๆ และกลายเป็นไวรัลบน TikTok (รับชมได้ที่นี่) นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอลักษณะเดียวกันบนแพลตฟอร์ม X (Twitter) และ YouTube ซึ่งมีวิดีโอหุ่นยนต์พร้อมข้อกล่าวอ้างต่างๆ มากมาย ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบคลิปไวรัลดังกล่าวอย่างละเอียด เราสังเกตเห็นความผิดปกติหลายประการในวิดีโอ เช่น การเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ พื้นหลังในวิดีโอ โดยจะเห็นว่าขาของหุ่นยนต์ดูเหมือนไม่ได้สัมผัสพื้นโดยตรงในหลายครั้ง และบริเวณรอบๆ ตัวของหุ่นยนต์ก็ดูพร่ามัว ซึ่งเป็นสัญญาณของการบิดเบือนจากฟุตเทจต้นฉบับ เราได้ลองใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่ามีการโพสต์วิดีโอดังกล่าวในบัญชี “@TheFigen_” บนแพลตฟอร์ม ‘X’ ในเดือนมกราคม 2024 ที่ผ่านมา และผู้ใช้จำนวนมากบนแพลตฟอร์มก็ต่างแสดงความคิดเห็นว่าวิดีโอดังกล่าวสร้างขึ้นโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในเวลาต่อมาวิดีโอดังกล่าวก็ถูกลบไป นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโออื่นที่มีพื้นหลังเดียวกัน แต่ใช้หุ่นยนต์ตัวอื่น […]

Continue Reading

10 อันดับเนื้อหา AI ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปี 2023

ในปีที่ผ่านมา เราพบเห็นภาพไวรัลจาก AI เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก กล่าวได้ว่าปี 2023 เป็นปีที่ AI เข้ามามีบทบาทในโลกออนไลน์อย่างเต็มตัว และเส้นแบ่งระหว่างข้อเท็จจริงและข้อมูลเท็จก็เลือนรางมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นเหล่ารูปภาพที่สร้างโดย AI ซึ่งมักถูกนำไปเติมแต่งเรื่องราวจนเกิดการเข้าใจผิด ในปีนี้เราพบรูปภาพที่สวยงาม รวมถึงภาพถ่ายที่สร้างกระแสไวรัลในสังคมออนไลน์ที่มาจากฝีมือ AI มากมาย และในบทความนี้ เราได้รวบรวมบทความตรวจสอบข้อเท็จจริงเนื้อหา AI ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปีนี้มาไว้ที่นี่แล้ว และหากพบข่าวหรือภาพที่น่าสงสัย สามารถส่งให้เราช่วยตรวจสอบผ่านทาง LINE ได้ที่นี่ หรือที่ LINE ID: @factcresdendoth อันดับที่ 1: ต้น “April Snow” ที่สวยงามจนเป็นไวรัล มีผู้ใช้บนโซเชียลได้แชร์รูปภาพต้นไม้ที่สวยงามและแปลกตาต้นหนึ่ง โดยอ้างว่าเป็นต้น Losu หรือต้น April Snow ซึ่งเป็นต้นไม้หายากจากประเทศจีน โดยเมื่อเราดำเนินการตรวจสอบก็พบว่า มีความเป็นไปได้สูงว่าต้นไม้ในภาพนั้นเป็นภาพที่สร้างโดยใช้ AI และต้น April Snow ที่แท้จริงนั้นคือต้น Tassel และมีลักษณะแตกต่างจากภาพไวรัลดังกล่าว อ่านบทความ: ต้น “April Snow” […]

Continue Reading

SCAM ALERT: เตือนภัย! โพสต์แอบอ้างว่าสามารถดาวน์โหลด AI ของ Google ได้ฟรี

ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา Google เปิดตัวแชทบอต AI ตัวใหม่ที่ใช้ชื่อว่า “Bard” ซึ่งทำให้ทั่วโลกต่างจับตามองทิศทางในเกม AI ของ Google มากยิ่งขึ้น รวมถึงให้ความสนใจกับ Bard เป็นอย่างมาก และล่าสุด เราพบโพสต์ที่นำชื่อของ Google และ Bard มาใช้ พร้อมโปรโมทลิงก์ที่อ้างว่าเป็นโปรแกรม Bard รุ่นใหม่ล่าสุดที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี  โพสต์โซเชียลมีเดีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเพจที่ใช้ชื่อว่า “𝐆𝐨𝐨𝐠𝐥𝐞 AI” โพสต์ลิงก์โปรแกรมที่ระบุว่าเป็นโปรแกรม Google AI แบบอัปเดตใหม่ Source | Archive Source | Archive และเราพบว่ามีโพสต์ลักษณะเดียวกันในภาษาไทยด้วยเช่นกัน Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการตรวจสอบเพจ “Google AI” และพบว่าเพจดังกล่าวมีการเปลี่ยนชื่อมาหลายครั้ง ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นชื่อ “Google AI” เมื่อวันที่ 28 […]

Continue Reading

ทอม ครูซกับสตันท์แมน: ภาพจริงหรือตัดต่อ?

แม้ว่าการพัฒนาของระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะมีประโยชน์และช่วยทุ่นแรงในการทำงานของมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก แต่หลายครั้ง AI ก็อาจสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้คนได้ เช่นในกรณีนี้ที่มีผู้ใช้ระบบสร้างรูปภาพจาก AI สร้างรูปภาพนักแสดงฮอลลีวูดคนดังอย่าง ทอม ครูซ จนภาพดังกล่าวกลายเป็นไวรัล ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายราย รวมถึงเพจต่างๆ โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่าเป็นภาพของ “ทอม ครูซ” และทีมสตันท์ของเขา Source | Archive Source | Archive เป็นภาพที่สร้างขึ้นโดยใช้ Midjourney AI เราได้ดำเนินการตรวจสอบโพสต์และรูปภาพดังกล่าวโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อหาที่มาของรูปภาพ และพบว่าภาพชุดดังกล่าวสร้างขึ้นโดยผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Ong Hui Woo โดยได้โพสต์ลงบนกลุ่ม Midjourney Official เมื่อวันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมา Source | Archive โดย Ong Hui Woo ได้บรรยายรูปภาพในโพสต์ว่า “สตันท์ของทอมครูซ กำลังฉลองที่งานเลี้ยงรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ MI […]

Continue Reading

EXPLAINED: ทำไม Elon Musk และผู้เชี่ยวชาญอีกหลายรายถึงต้องการให้หยุดพัฒนา AI ชั่วคราว?

การแข่งขันเพื่อสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้ฉลาดและมีความสามารถมากยิ่งขึ้นกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่นักวิทยาศาสตร์และผู้นำอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชื่อดังหลายคนได้ออกมาเรียกร้องให้หยุดการพัฒนาไว้ชั่วคราวในจดหมายเปิดผนึกที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ (29 มี.ค.) ที่ผ่านมา โดยมีผู้ลงนามมากกว่าหนึ่งพันคนในสาขาวิชาชีพต่างๆ จากนานาประเทศ รวมถึง Elon Musk และ Steve Wozniak จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ได้เรียกร้องให้เว้นวรรคการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี AI ขั้นสูงเป็นเวลาหกเดือน จดหมายนี้กล่าวถึงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และผลกระทบที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จาก AI โดยมีตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนจาก GPT-4 ซึ่งเป็น AI รุ่นล่าสุดของ OpenAI ที่กล่าวว่าจะมีประสิทธิภาพและมีความสามารถหลากหลายมากกว่า ChatGPT ผู้ลงนามในจดหมายกล่าวว่าการหยุกพัฒนาชั่วคราวจะช่วยให้สามารถทบทวน หารือ และร่วมมือกันรับมือผลกระทบของ AI ในเชิงสังคมและจริยธรรมได้มากยิ่งขึ้น และช่วยให้สามารถพัฒนาระบบการกำกับดูแลและกฎระเบียบที่ดีขึ้นได้อีกด้วย Source จดหมายนี้กลายเป็นที่ถกเถียงถึงอนาคตของ AI และความรับผิดชอบของผู้สร้างและผู้ที่จะนำไปใช้ จดหมายเปิดผนึกนี้คืออะไร? จดหมายดังกล่าวออกโดย Future of Life Institute ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นในการลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติและการดำรงอยู่ทั่วโลกที่เกิดจากเทคโนโลยีขั้นสูง โดยได้เรียกร้องให้หยุดการฝึกระบบ AI ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า GPT-4 เป็นเวลาหกเดือน โดยจดหมายได้ระบุว่าระบบ AI ที่มีความฉลาดในการแข่งขันแบบมนุษย์นั้นมีความเสี่ยงอย่างมากต่อสังคมและมนุษยชาติ AI […]

Continue Reading

ภาพปูตินแต่งกายเป็นพระสงฆ์ แท้จริงแล้วสร้างจาก AI

ข้อพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครนถือเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างแสดงความกังวล ด้วยสถานการณ์ที่ตึงเครียดมากยิ่งขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศ โดยนอกจากการปะทะกันทางกองกำลังทางทหารแล้ว การโจมตีด้วยข้อมูลและข่าวปลอมก็ถือเป็นอีกวิธีที่เราพบเห็นได้มากยิ่งขึ้น และล่าสุด มีรูปภาพของวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซียแต่งกายแบบพระภิกษุแพร่กระจายและเป็นที่พูดถึงอยู่ในขณะนี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ได้แชร์ภาพของปูตินในเครื่องแต่งกายแบบภิกษุสงฆ์ พร้อมคำบรรยายในภาพว่า “ # #เรื่องที่คุณอาจจะยังไม่รู้ ปูติน เคยบวชให้ในหลวง ร.9 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ณ วัดแห่งหนึ่งใน ธิเบต โดยท่านบวชเป็นจำนวน 3 พรรษา ซึ่งตรงกับ 9 เดือน พอดี เรื่องนี้มีน้อยคนมากที่รู้ จนมีพระในธิเบตรูปนึงออกมาเปิดเผยเรื่องราวผ่านสำนักข่าว รอยเตอร์โอเว่น ว่าครั้งนึง ประธานาธิบดี ปูติน เคยมาบวชถวายตัวเป็นพุทธมามก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ร.9ด้วยอิริยาบทที่สงบ ประหนึ่งจะตรัสรู้ในวันข้างหน้า ทั้งนี้เดอะไทม์หนังสือพิมพ์ชื่อดัง ยังได้ออกมาคอนเฟิร์มเรื่องนี้ว่ามีมูลความจริง หลังจากปูติน ได้สำนึกในพระกรุณาธิคุณ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สาธุๆ ธ สถิตในดวงใจ” Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวได้มีการแชร์ออกไปอย่างแพร่หลาย โดยนอกจากโพสต์ดังกล่าวแล้ว เราพบรูปภาพเดียวกันพร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันเผยแพร่บนเฟซบุ๊กในหลายๆ โพสต์ […]

Continue Reading