วิดีโอชายถูกไฟดูดในสถานีรถไฟ ไม่ได้มีสาเหตุจากหูฟังบลูทูธ

ในยุคของโซเชียลมีเดีย ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดความตื่นตระหนกโดยไม่จำเป็น ตัวอย่างหนึ่งคือวิดีโอไวรัลที่เผยแพร่ทางออนไลน์ โดยอ้างว่าชายคนหนึ่งถูกไฟฟ้าดูดขณะใช้หูฟังบลูทูธบนชานชาลารถไฟ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอของชายคนหนึ่งที่ล้มหมดสติลงที่ชานชาลารถไฟแห่งหนึ่ง พร้อมข้อความว่า *“หลีกเลี่ยงการใช้หูฟัง BLOOT ใกล้รางปลั๊กไฟ ข้อมูลนี้มีความสำคัญมาก หากคุณได้ยินสิ่งนี้ โปรดสละเวลาสักครู่เพื่อส่งข้อความนี้ถึงลูกชาย ลูกสาว หรือพี่น้องของคุณที่เล่นหูฟังบ่อยๆ โอเคไหม? โดยเฉพาะคนที่นั่งรถไฟฟ้า.. เมื่อเปิดชุดหูฟัง Bluetooth บนโทรศัพท์มือถือของคุณ จะมีกระแส ส่ง/เหนี่ยวนำ จากสายไฟฟ้าแรงสูงบนรางรถไฟเข้าถึงโดยตรงผ่าน หูและเข้าสู่สมอง.. …จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป? ? ? หลีกเลี่ยงการใช้บลูทูธบนชานชาลาฝั่งรถไฟเมื่อขับรถและยืนใกล้ช่องทางรถไฟฟ้า” Source | Archive โดยวิดีโอและข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่อเป็นจำนวนมากบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าฟุตเทจดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สถานีรถไฟ Kharagpur ในรัฐ West Bengal ประเทศอินเดีย เนื่องจากสายไฟหล่นใส่ศีรษะ ไม่ใช่จากการใช้หูฟังบลูทูธแต่อย่างใด (ที่มา: Reuters, News 18) บุคคลในวิดีโอดังกล่าว คือ Sujan Singh Sardar เจ้าหน้าที่ตรวจสอบตั๋วเดินทางบนรถไฟ เขาทรุดตัวลงและตกลงไปในทางรถไฟหลังจากสายไฟหลุดออกมาจากด้านหลังและตกใส่เขา โดยหลังจากนั้นไม่นาน […]

Continue Reading

ภาพไวรัลบนโซเชียลเกี่ยวกับอันตรายของหูฟังบลูทูธยังไม่มีหลักฐานรองรับเพียงพอ

จากที่มีรูปภาพระบุถึงอันตรายของการใช้หูฟังแบบบลูทูธแชร์กันอย่างแพร่หลายบนโซเชียล โดยในรูปภาพดังกล่าวได้ใช้รูปภาพหูฟังบลูทูธและรูปภาพสมองของมนุษย์ ซึ่งอาจทำให้ผู้อ่านมองว่าการใช้หูฟังบลูทูธนั้นส่งผลต่อสมองได้ Facebook Post | Archive ข้อความในภาพระบุว่า “หูฟังบลูทูธใช้คลื่นวิทยุเพื่อเชื่อมต่อกับผู้ใช้ โดยในกรณีของ Airpods หูฟังทั้งสองข้างเชื่อมต่อกันแบบไร้สายโดยมีสมองของผู้ใช้คั่นตรงกลาง ทำให้สมองสัมผัสกับคลื่น EMF ที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ การศึกษาในอังกฤษยืนยันว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่มีส่วนทำให้อัตราโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น 40% ตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา เมื่อใช้หูฟัง ควรเลือกใช้หูฟังแบบสายแทนการใช้หูฟังไร้สาย” ซึ่งโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ออกไปกว่า 200 ครั้ง Facebook | Archive อีกหนึ่งโพสต์บนเฟซบุ๊กที่พูดถึงอันตรายของหูฟังแบบบลูทูธที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก มีหลายฝ่ายที่แสดงความกังวลว่าคลื่น EMF อาจส่งผลต่อสมองได้ โดยคลื่น EMF หรือ Electromagnetic fields เป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะอุปกรณ์บลูทูธ แต่ยังรวมถึงไมโครเวฟ โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั่งคอมพิวเตอร์อีกด้วย สรุปง่ายๆ ได้ว่า มนุษย์เราใช้ชีวิตอยู่กับคลื่น EMF มาตั้งแต่จะมีหูฟังแบบบลูทูธแล้ว แต่คลื่นที่ว่านี้ปลอดภัยต่อมนุษย์จริงๆ หรือไม่? ข้อกล่าวอ้าง: หูฟังบลูทูธปล่อยคลื่น EMF ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ข้อเท็จจริง: ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นได้ยืนยันว่าระดับคลื่น […]

Continue Reading