ข้อความว่าน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้กรุงเทพฯ กำลังจะจมน้ำ เป็นข้อมูลชวนให้เข้าใจผิด

ท่ามกลางข่าวน้ำท่วมหนักในหลายๆ พื้นที่ในประเทศไทย ล่าสุดเราพบข้อความที่แพร่กระจายเกี่ยวกับน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งอาจทำให้เมืองจมทะเลในไม่ช้า โดยข้อความดังกล่าวแพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ระบุว่า “น้ำทะเลหนุน ถนนพระราม 2 เมืองกำลังจะจมทะเล ถ้าเรายังไม่เริ่มวางแผนรับมือ” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยรูปภาพและข้อความดังกล่าวมีการแชร์อย่างแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม Facebook ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเราพบว่า ในช่วงวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา เกิดเหตุน้ำท่วมที่บริเวณถนนพระราม 2 จริง แต่เป็นน้ำท่วมขังที่รอการระบาย เนื่องมาจากฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนสูง อย่างไรก็ตาม ทางรัฐฯได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา โฆษกกระทรวงคมนาคม รายงานเหตุน้ำท่วมบนถนนพระราม 2 เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 67 ระดับน้ำท่วมขัง 15-25 ซม. ส่งผลให้การจราจรติดขัด สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักและน้ำทะเลหนุนสูงเมื่อวันที่ 3 ต.ค. […]

Continue Reading

ชวนให้เข้าใจผิด: ภาพนายกฯ แพทองธารไปชมคอนเสิร์ต ไม่ใช่ภาพเมื่อเร็วๆ นี้

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่จังหวัดเชียงใหม่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่เป็นประวัติการณ์ เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ มีภาพนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ขณะชมคอนเสิร์ตกับบิดา ทักษิณ ชินวัตร แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้โพสต์ภาพเซลฟี่ของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นากยรัฐมนตรี ที่ถ่ายคู่กับนายทักษิณ ชินวัตร และครอบครัว พร้อมข้อความบรรยายภาพว่า “พาพ่อมาซิ่ง! อุ๊งอิ๊งโพสรูปคู่นายใหญ่และครอบครัวร่วมคอนเสิร์ตศิลปินดังสุดชื่นมื่น เผยตอนเด็กๆพ่อพามา ตอนนี้โตแล้วขอพาพ่อมาบ้าง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และมีผู้ใช้ Facebook อีกหลายรายมาแสดงความคิดเห็น แสดงความกังวลถึงสถานการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ เรายังพบรูปภาพพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้เครื่องมือค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ พบว่าภาพดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์ล่าสุด แต่เป็นภาพที่ถ่ายตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และคอนเสิร์ตดังกล่าวจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2566 (ที่มา: The Better, Thaiticketmajor) […]

Continue Reading

ข้อมูลเท็จ: เรือสำราญแจกไอศกรีมฟรีแก่ผู้โดยสารเพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บศพ

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อกล่าวอ้างที่กลายเป็นไวรัลบนโซเชียลมีเดีย โดยระบุว่าเมื่อมีการแจกไอศกรีมฟรีบนเรือสำราญ อาจหมายถึงมีผู้เสียชีวิตบนเรือจำนวนมากกว่าพื้นที่ในห้องเก็บศพ จึงต้องนำไอศกรีมและอาหารแช่แข็งออกมาจากตู้เย็นเพื่อนำพื้นที่มาเก็บศพแทน โดยข้อความดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้บนแพลตฟอร์ม X โพสต์ข้อความว่า “ที่อเมริกา อดีตนักร้องเรือสำราญเล่าว่า ถ้าวันไหนเรือมีการแจกไอศกรีมฟรีให้ผู้โดยสาร อย่าเพิ่งดีใจ เพราะแปลว่ามีคนเสียชีวิตบนเรือมากกว่าจำนวนพื้นที่ในห้องเก็บศพ ต้องเอาไอศกรีมและอาหารแช่แข็งอื่นๆ ออกไปจำนวนมาก เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับใส่ศพได้ หลายคนยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงครับ” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 6.5 ล้านครั้ง อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้หลายรายที่แสดงความคิดเห็นใต้โพสต์นี้ ระบุว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง นอกจากนี้ เราพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร จากการตรวจสอบพบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวมาจากวิดีโอของ Dara Starr Tucker อดีตนักร้องบนเรือสำราญ โดยเธอได้พูดถึงประสบการณ์ในชณะที่เธอทำงานบนเรือสำราญ โดยระบุว่า ปาร์ตี้แจกไอศกรีมฟรีบนเรืออาจเป็นสัญญาณว่าห้องเก็บศพบนเรือเต็ม ทำให้ต้องเคลียร์พื้นที่ในห้องแช่แข็งเพื่อเก็บศพเพิ่มเติม (ที่มา) ตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บศพบนเรือสำราญ เรือสำราญจำเป็นต้องมีห้องเก็บศพตามกฎหมายเพื่อจัดการหากเกิดเหตุผู้โดยสารที่เสียชีวิตขณะล่องเรือ โดยห้องเก็บศพเหล่านี้โดยทั่วไปจะมีความจุจำกัด โดยมีตั้งแต่ 1 ศพไปจนถึงหลายศพ ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เชียงราย ชวนให้เข้าใจผิด

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคเหนือและภาคอีสานได้กลายเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ดึงดูดความสนใจของประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากอุทกภัยครั้งนี้ และล่าสุด เราพบวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่ามาจากเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ได้แชร์วิดีโอรถบรรทุกที่ถูกพัดไปกับกระแสน้ำ พร้อมข้อความระบุว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย โดยระบุว่า “รถขนเสบียงไปเชียงราย สู้กระแสน้ำไม่ไหว จมหายไปทั้งคัน จนท. ช่วยคนขับรถไว้ได้ บาดเจ็บ นำส่ง รพ.เรียบร้อย ปลอดภัยดีแล้วค่ะ” พร้อมติดแฮชแท็ก #น้ำท่วมเชียงราย โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 1.4 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เราพบวิดีโอและข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์จากจังหวัดเชียงราย และข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว โดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพและวิดีโอแบบย้อนกลับ และพบว่า วิดีโอดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นภัยพิบัติจากฝนมรสุมที่ส่งผลกระทบต่อ 7 รัฐทั่วประเทศอินเดีย ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่ม […]

Continue Reading

คลิปจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนไม่เกี่ยวกับน้ำท่วมแม่น้ำโขง

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์คลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์ แสดงภาพการปล่อยน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่ พร้อมข้อความระบุว่าจีนกำลังระบายน้ำลงแม่น้ำโขง และอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยและลาว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่กี่วันมานี้ วิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook พร้อมข้อความกำกับว่า “จีนร่งระบายน้ำลงแม่น้ำโขง หลายจังหวัดเตือน ระวัง น้ำโขงล้นตลิ่ง” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายบน TikTok เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง วิดีโอดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง แม้ว่าข่าวที่ระบุว่าจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนลงสู่แม่น้ำโขงจะเป็นเรื่องจริง (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) แต่วิดีโอดังกล่าว เป็นวิดีโอที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในขณะนี้ โดยวิดีโอและข้อกล่าวอ้างเดียวกันนี้มีการแพร่กระจายตั้งแต่ปี 2564 (ดูที่นี่) อย่างไรก็ตาม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เคยออกมาชี้แจงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิดีโอและข้อกล่าวอ้างนี้ โดยอธิบายว่า คลิปวิดีโอดังกล่าวเป็นเหตุการณ์การระบายน้ำของเขื่อนเสี่ยวล่างตี่ ซึ่งเป็นเขื่อนพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน โดยแม่น้ำเหลืองอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศจีน ไม่ได้เชื่อมต่อกับแม่น้ำล้านช้างซึ่งเป็นต้นทางของแม่น้ำโขง แม่น้ำเหลืองไหลจากฝั่งตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออกของจีน และไหลออกสู่ทะเลเหลือง ในขณะที่แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบตและไหลผ่านหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ กอนช. […]

Continue Reading

ภาพพร้อมข้อความว่าในหลวงมาช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เชียงราย เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อเร็วๆ นี้ มีภาพพร้อมข้อความแพร่กระจายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขับเครื่องบินมาที่ค่ายทหารที่เชียงราย เพื่อมาสั่งเตรียมถุงยังชีพช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเหตุอุทกภัยที่จังหวัดเชียงราย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook หลายราย ได้แชร์พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมข้อความกำกับว่า “ร.10 ทรงเครื่องบินมาที่ค่ายทหารเชียงราย โดยประสานงานระหว่างองครักษ์และทหาร ไม่ให้ข้าราชการและประชาชนแตกตื่น ผู้ว่า นาย อำเภอ และนักการเมือง ไม่ต้องมารับ ให้เอาเวลาไปช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อน สั่งเตรียมถุงยังชีพ พร้อมโดรนส่งสิ่งของพระราชทานเข้าไป มีกลุ่มทหารรอรับเป็นจุด ๆ เช้าวันนี้ (12 ก.ย. 67) เริ่มส่งถึงมือผู้ประสบภัย พระองค์ลงจากฮ. ไม่ทรงถามหาใครเลย เพราะฝ่ายทหารเตรียมพร้อม ไม่ต้องมีพิธีอะไร ข่าวดีๆแบบนี้ สื่อไม่มีออกข่าวเลย สื่อไม่ออก เราก็ช่วยกันแชร์นะครับ ทรงปิดทองหลังพระ #ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้เครื่องมือการค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse […]

Continue Reading

กระทรวงดิจิทัลฯ แจง ข้อความ “ยกเลิกเงินดิจิทัล 10,000 บาท” เป็นข่าวปลอม

ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวลือเกี่ยวกับการยกเลิกโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดีย สร้างความสับสนให้กับประชาชนจำนวนมาก ท่ามกลางความคาดหวังต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้ Facebook หลายรายโพสต์ข้อความว่า “ด่วน!! ประกาศยกเลิก แจกเงินดิจิตอล 10,000” โดยมีการแชร์ต่อและแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในวันที่ 21 กันยายน 2567 นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดและโฆษกกระทรวงกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงกรณีข้อความที่ระบุว่า “ประกาศยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” ที่มีการแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียในขณะนี้ โดยชี้แจงว่าเป็นข้อมูลเท็จ กลุ่มสารนิเทศการคลัง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า การดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ล่าสุดจะเป็นการดำเนินโดยผ่าน 2 โครงการ ได้แก่: โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการลงทะเบียนฯ) […]

Continue Reading

 การถอนข้อสงวนอนุสัญญาสิทธิเด็ก “ไม่ใช่การให้สัญชาติไทย” โดยอัตโนมัติ

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ว่ากฎหมายใหม่ จะทำให้เด็กพม่าที่เกิดในไทย ได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “จากนี้เด็กพม่าที่เกิดในประเทศไทยจะได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ แถมยังได้รับการศึกษาฟรี ได้รับการรักษาพยาบาลฟรี มีสิทธิ์ทุกอย่างเหมือนเด็กไทยคนหนึ่ง รวมถึงเด็กพม่าที่ลี้ภัยสงครามด้วยถ้าเข้ามาอยู่ในไทยจะได้รับสัญชาติไทยทันที” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X และ TikTok เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออกมาชี้แจงกรณีการให้สัญชาติ จากมาตรา 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่า ไม่มีให้สัญชาติแก่เด็กผู้ใดโดยเด็ดขาด โดยมาตราที่ 22 จะกล่าวถึงเรื่องการให้สิทธิเพื่อดูแลเด็ก ทั้งในทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา และในแง่มุมต่างๆ โดยประเทศไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ให้การรับรองมาตราดังกล่าว (ที่มา) @topvarawut ขอทําความเข้าใจครับ #topvarawut♬ original […]

Continue Reading

ข้าวเบญจรงค์ไม่ได้ใช้ข้าว 10 ปีที่รัฐบาลเปิดประมูล

มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า ข้าวเบญจรงค์ที่มีการเพิ่มปริมาณขึ้นและวางจำหน่ายในท้องตลาดขณะนี้ เป็นการนำข้าว 10 ปี ที่รัฐบาลนำมาเปิดประมูลเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook และ LINE ระบุว่า: “ผมไปซื้อข้าวถุงยี่ห้อเบญจรงค์จากแมคโครเมื่อกี้ (23 สค. 67 เวลาประมาณ 10.00น.) มีข้าวถุงยี่ห้อนี้ขนาด 5 กก. (เพิ่งวางขายที่มีปริมาณแถมเพิ่ม 250 กรัม) แต่พอเอามาพิจารณาดูเมล็ดข้าวจะมีเมล็ดที่มีสีเหลืองๆ ปนอยู่มาก เมื่อยกไปเทียบกับข้าวถุงรุ่นเดิมที่ไม่แถมปริมาณเพิ่ม จะเห็นความแตกต่างของสีเมล็ดข้าวชัดเจน สงสัยว่าจะมีการเอาข้าวสิบปีมาปนขายหรือเปล่า ทุกท่านโปรดสังเกตและระมัดระวังด้วยนะครับ บริษัทข้าวเบญจรงค์ได้โควตาข้าว 10 ปีจะซื้อมาบริโภคก็สังเกตกันให้ดีๆ ค่ะ” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างบนโซเชียลมีเดีย เราจึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นนี้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง แถลงการณ์จากข้าวเบญจรงค์: เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม บริษัท เอเชีย อินเตอร์ […]

Continue Reading

ภาพและวิดีโอในอดีตถูกนำมาแชร์ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นครั้งล่าสุด

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ที่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคิวชู โดยทางหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นได้ออกคำเตือนแผ่นดินไหวที่แนวร่องลึกนันไก และเตือนว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขนาด 8-9 ในช่วง 1 อาทิตย์ถัดมาได้ และท่ามกลางเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกครั้งนี้ ก็มีรูปภาพและวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียโดยอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดนี้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook หลายรายได้แชร์ภาพและวิดีโอ พร้อมอ้างว่าเป็นภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา Source | Archive Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่า ภาพและวิดีโอบางส่วนนั้นไม่ได้มาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาที่มาของรูปและวิดีโอที่มีการกล่าวอ้าง และนี่คือผลลัพธ์จากการตรวจสอบของเรา ภาพที่ 1: ภาพเหตุการณ์สึนามิที่เมือง Rikuzentakata เมื่อปี 2011 โดยภาพดังกล่าวมากจากจากคลังภาพของ National Geographic ในบทความเกี่ยวกับสึนามิที่เผยแพร่ในปี 2013 ซึ่งถ่ายโดย Tamon […]

Continue Reading