คลิปจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนไม่เกี่ยวกับน้ำท่วมแม่น้ำโขง

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์คลิปวิดีโอในสื่อสังคมออนไลน์ แสดงภาพการปล่อยน้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่ พร้อมข้อความระบุว่าจีนกำลังระบายน้ำลงแม่น้ำโขง และอาจส่งผลให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทยและลาว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่กี่วันมานี้ วิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook พร้อมข้อความกำกับว่า “จีนร่งระบายน้ำลงแม่น้ำโขง หลายจังหวัดเตือน ระวัง น้ำโขงล้นตลิ่ง” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายบน TikTok เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง วิดีโอดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง แม้ว่าข่าวที่ระบุว่าจีนปล่อยน้ำจากเขื่อนลงสู่แม่น้ำโขงจะเป็นเรื่องจริง (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) แต่วิดีโอดังกล่าว เป็นวิดีโอที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในขณะนี้ โดยวิดีโอและข้อกล่าวอ้างเดียวกันนี้มีการแพร่กระจายตั้งแต่ปี 2564 (ดูที่นี่) อย่างไรก็ตาม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เคยออกมาชี้แจงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิดีโอและข้อกล่าวอ้างนี้ โดยอธิบายว่า คลิปวิดีโอดังกล่าวเป็นเหตุการณ์การระบายน้ำของเขื่อนเสี่ยวล่างตี่ ซึ่งเป็นเขื่อนพลังงานไฟฟ้าในแม่น้ำเหลือง (แม่น้ำฮวงโห) มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน โดยแม่น้ำเหลืองอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศจีน ไม่ได้เชื่อมต่อกับแม่น้ำล้านช้างซึ่งเป็นต้นทางของแม่น้ำโขง แม่น้ำเหลืองไหลจากฝั่งตะวันตกไปยังฝั่งตะวันออกของจีน และไหลออกสู่ทะเลเหลือง ในขณะที่แม่น้ำโขงมีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบตและไหลผ่านหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ กอนช. […]

Continue Reading

ภาพพร้อมข้อความว่าในหลวงมาช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เชียงราย เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อเร็วๆ นี้ มีภาพพร้อมข้อความแพร่กระจายว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงขับเครื่องบินมาที่ค่ายทหารที่เชียงราย เพื่อมาสั่งเตรียมถุงยังชีพช่วยเหลือประชาชนที่ประสบเหตุอุทกภัยที่จังหวัดเชียงราย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook หลายราย ได้แชร์พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมข้อความกำกับว่า “ร.10 ทรงเครื่องบินมาที่ค่ายทหารเชียงราย โดยประสานงานระหว่างองครักษ์และทหาร ไม่ให้ข้าราชการและประชาชนแตกตื่น ผู้ว่า นาย อำเภอ และนักการเมือง ไม่ต้องมารับ ให้เอาเวลาไปช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อน สั่งเตรียมถุงยังชีพ พร้อมโดรนส่งสิ่งของพระราชทานเข้าไป มีกลุ่มทหารรอรับเป็นจุด ๆ เช้าวันนี้ (12 ก.ย. 67) เริ่มส่งถึงมือผู้ประสบภัย พระองค์ลงจากฮ. ไม่ทรงถามหาใครเลย เพราะฝ่ายทหารเตรียมพร้อม ไม่ต้องมีพิธีอะไร ข่าวดีๆแบบนี้ สื่อไม่มีออกข่าวเลย สื่อไม่ออก เราก็ช่วยกันแชร์นะครับ ทรงปิดทองหลังพระ #ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้เครื่องมือการค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse […]

Continue Reading

รักชนก ชี้แจง บุคคลในคลิปสูบบุหรี่ไฟฟ้าในรัฐสภาไม่ใช่ตน

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์คลิปวิดีโอหนึ่งอย่างแพร่หลาย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่า รักชนก ศรีนอก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาชน ยืนสูบบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ของรัฐสภา โพสต์บนโซเขียลมีเดีย เมื่อวันที่ 19 กันยายน มีผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม X รายหนึ่งได้แชร์วิดีโอบุคคลหนึ่งยืนหันหลังและสูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่ห้ามสูบ พร้อมข้อความว่า “ส.ส. คนดีกว่าใครพรรคไหนสูบบุหรี่ไฟฟ้าในรัฐสภาในที่ห้ามสูบ?” โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 4.5 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยเราพบว่าคลิปวิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันนี้ได้มีการแชร์ต่ออย่างเป็นวงกว้างบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง รักชนก ศรีนอก ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยชี้แจงว่าบุคคลในภาพไม่ใช่ตนเอง และยังไม่มีการระบุตัวตนที่แน่ชัดของบุคคลในภาพ นอกจากนี้ รักชนกระบุว่ามีการชี้นำในโซเชียลมีเดียให้เข้าใจผิดว่าเป็นตน และมีการแชร์ข้อมูลผิดๆ นี้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังเปิดเผยว่าได้รับข้อมูลว่าบุคคลในวิดีโอเป็นนักข่าวคนหนึ่ง ไม่ใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนี้ รักชนกยังได้ตอบกลับโพสต์ดังกล่าวบนแพลตฟอร์ม X โดยระบุว่า “ดูเหมือนเจ้าของโพสเองก็ไม่รู้ว่าคนในคลิปเป็นใคร แต่พยายามจะชี้นำว่าเป็น สส. แล้วให้คนคิดไปเองว่าเป็นไอซ์ โดยการให้เพื่อนๆของคุณช่วยกันทวิตช่วยกันนำไปในทางนั้น ขอถามคุณอาร์ตเลยละกันว่า […]

Continue Reading

 การถอนข้อสงวนอนุสัญญาสิทธิเด็ก “ไม่ใช่การให้สัญชาติไทย” โดยอัตโนมัติ

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ว่ากฎหมายใหม่ จะทำให้เด็กพม่าที่เกิดในไทย ได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “จากนี้เด็กพม่าที่เกิดในประเทศไทยจะได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ แถมยังได้รับการศึกษาฟรี ได้รับการรักษาพยาบาลฟรี มีสิทธิ์ทุกอย่างเหมือนเด็กไทยคนหนึ่ง รวมถึงเด็กพม่าที่ลี้ภัยสงครามด้วยถ้าเข้ามาอยู่ในไทยจะได้รับสัญชาติไทยทันที” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X และ TikTok เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออกมาชี้แจงกรณีการให้สัญชาติ จากมาตรา 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่า ไม่มีให้สัญชาติแก่เด็กผู้ใดโดยเด็ดขาด โดยมาตราที่ 22 จะกล่าวถึงเรื่องการให้สิทธิเพื่อดูแลเด็ก ทั้งในทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา และในแง่มุมต่างๆ โดยประเทศไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ให้การรับรองมาตราดังกล่าว (ที่มา) @topvarawut ขอทําความเข้าใจครับ #topvarawut♬ original […]

Continue Reading

ภาพและวิดีโอในอดีตถูกนำมาแชร์ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นครั้งล่าสุด

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ที่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคิวชู โดยทางหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นได้ออกคำเตือนแผ่นดินไหวที่แนวร่องลึกนันไก และเตือนว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขนาด 8-9 ในช่วง 1 อาทิตย์ถัดมาได้ และท่ามกลางเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกครั้งนี้ ก็มีรูปภาพและวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียโดยอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดนี้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook หลายรายได้แชร์ภาพและวิดีโอ พร้อมอ้างว่าเป็นภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา Source | Archive Source | Archive Source | Archive อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่า ภาพและวิดีโอบางส่วนนั้นไม่ได้มาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาที่มาของรูปและวิดีโอที่มีการกล่าวอ้าง และนี่คือผลลัพธ์จากการตรวจสอบของเรา ภาพที่ 1: ภาพเหตุการณ์สึนามิที่เมือง Rikuzentakata เมื่อปี 2011 โดยภาพดังกล่าวมากจากจากคลังภาพของ National Geographic ในบทความเกี่ยวกับสึนามิที่เผยแพร่ในปี 2013 ซึ่งถ่ายโดย Tamon […]

Continue Reading

คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ยืนยัน Imane Khelif เป็นเพศหญิงโดยกำเนิด และมีสิทธิ์ลงแข่งมวยสากลหญิงที่ปารีส

ในการแข่งขันมวยสากลหญิงในโอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงปารีส เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันในวงกว้างหลังจาก Imane Khelif นักชกทีมชาติแอลจีเรีย ชนะคู่ต่อสู้จากอิตาลี Angela Carini ผู้ที่ประกาศยอมแพ้หลังจากขึ้นชกกับ Khelif ได้เพียง 46 วินาที โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ X รายหนึ่งได้แชร์ข้อความระบุว่า “ผู้ชายไม่ควรอยู่ในกีฬาผู้หญิง แองเจลา คารินี ต้องขอถอนตัว หลังชกกับ อิมาเน เคลิฟ ไปแค่ 46 วินาที เผยทั้งน้ำตา เธอไม่เคยถูกต่อยหนักขนาดนี้ อิมาเน เคลิฟ เคยถูกสั่งห้ามลงแข่งชิงแชมป์โลกหญิง 2023 เพราะตรวจฮอร์โมนไม่ผ่าน แต่ปารีสให้แข่ง” โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรีโพสต์กว่า 5 พันครั้ง และมีการรับชมไปกว่า 4.4 ล้านครั้ง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เหตุการณ์การถูกตัดสิทธิ์ในอดีตของ Imane Khelif Imane Khelif […]

Continue Reading

ข้อความว่า เมาแล้วขับ จำคุกทันที ไม่รอลงอาญา “ชวนให้เข้าใจผิด”

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย ระบุว่า กฎหมายเมาแล้วขับล่าสุด มีโทษปรับ 1 หมื่นบาท และจำคุก 1 เดือนทันที โดยไม่รอลงอาญา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา เกี่ยวกับข้อความที่มีการแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE ที่ระบุว่า: “วันนี้เป็นวันแรกของการบังคับใช้กฎหมาย เมาแล้วขับ ปรับ 1 หมื่น คุก 1 เดือน ไม่รอลงอาญา ไม่บำเพ็ญประโยชน์ แปลว่า… เป่าเจอ ไปติดคุกเลย” ลิงก์ พบข่าวหรือข้อมูลที่น่าสงสัย? ส่งให้เราตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ โดยเมื่อเราตรวจสอบเพิ่มเติมก็พบว่าข้อความเดียวกันได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook เมื่อเร็วๆ นี้ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อความไวรัลดังกล่าว และพบว่าเป็นข้อความที่แพร่กระจายมาตั้งแต่ปี 2558 จึงไม่ใช่กฎหมายที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเร็วๆ […]

Continue Reading

ข้อมูลว่า “สี จิ้นผิง” มีอาการหลอดเลือดสมองตีบ เป็นข่าวปลอม

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวมถึงจากเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ต่างๆ ที่ระบุว่า สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ โดยมีอาการกำเริบระหว่างเข้าประชุมคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ผ่านมา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีเว็บไซต์ข่าวหลายแห่ง รวมถึงผู้ใช้โซเชียลมีเดียจำนวนหนึ่งได้โพสต์ข้อความที่ระบุว่า สี จิ้นผิง มีอาการหลอดเลือดในสมองตีบ โดยแม้ว่าจะยังไม่มีการยืนยันใดๆ แต่ข้อความดังกล่าว พร้อมภาพของสี จิ้นผิงที่แสดงสีหน้าขณะจิบชาระหว่างการประชุมก็มีการแชร์อย่างแพร่หลายทั้งบน Facebook และ X ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) รวมถึงการค้นหาโดยใช้คำสำคัญที่เกี่ยวข้องต่างๆ และเราพบบทความของ Dailymail ที่พาดหัวว่า “มีอะไรในถ้วยน้ำชา? ประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง ดูเหมือนจะสะดุ้งขณะจิบชาในระหว่างการประชุมประจำปี” (อ่านบทความ ที่นี่ | ลิงก์ถาวร) ขณะที่ช่างภาพจับภาพขณะที่สี […]

Continue Reading

ภาพและข้อกล่าวอ้างว่าทรัมป์ถูกยิงที่หน้าอก ชวนให้เข้าใจผิด

หลังเหตุการณ์ที่โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีและผู้ลงสมัครประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประจำปีนี้ถูกลอบยิงขณะออกหาเสียงเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีข้อกล่าวอ้างที่ชวนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียมากมาย และหนึ่งในนั้นคือข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า นอกจากทรัมป์จะถูกยิงที่บริเวณใบหูแล้ว ทรัมป์ยังถูกยิงบริเวณหน้าอกอีกด้วย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook โพสต์ภาพของโดนัลด์ ทรัมป์ ขณะเกิดเหตุลอบยิง พร้อมข้อความระบุว่า นอกจากทรัมป์จะถูกยิงที่บริเวณใบหูแล้ว ยังถูกยิงบริเวณหน้าอกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบภาพและข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X อีกด้วยเช่นกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ เราพบว่าภาพและข้อกล่าวอ้างดังกล่าวชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) เพื่อค้นหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว และพบว่าภาพดังกล่าวมาจากรายงานข่าวของสำนักข่าว AP เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม (ดูภาพต้นฉบับได้ที่นี่) โดยเมื่อดูภาพต้นฉบับแบบความละเอียดสูงจะพบว่า รอยที่มีลักษณะเหมือนรูในภาพที่กล่าวอ้าง แท้จริงแล้วเป็นรอยพับจากแขนเสื้อของเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาประชิดตัวเพื่ออารักขาและนำทรัมป์ออกจากที่เกิดเหตุ ไม่ใช่รอยจากเสื้อของทรัมป์ ภาพโดย: […]

Continue Reading

ชายในวิดีโอที่แอบอ้างเป็น “โทมัส ครุกส์” ไม่ใช่ผู้ก่อเหตุตัวจริง

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ระหว่างการหาเสียงของโดนัลด์ ทรัมป์ ในเมืองบัตเลอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย มีเสียงปืนดังขึ้น ส่งผลให้หน่วยสืบราชการลับต้องรีบยึดเวทีไว้ ผู้สื่อข่าวสังเกตเห็นเหตุกราดยิงหลายนัด และอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ก็ถูกพาตัวออกไปด้วยขบวนคาราวานหลังจากได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหู หลังจากนั้น FBI ระบุว่ามือปืนคือ โทมัส แมทธิว ครุกส์ วัย 20 ปี โดยใช้ปืนไรเฟิลสไตล์ AR ซึ่งอยู่ห่างจากเวทีประมาณ 400 ฟุต (ที่มา: CBS) และหลังจากเหตุการณ์อันตื่นตระหนกที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้คนทั่วทั้งโลกครั้งนี้ ก็มีวิดีโอหนึ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยบุคคลในวิดีโอได้ระบุว่าเขาคือ “โทมัส แมทธิว ครุกส์” และเจ้าหน้าที่จับคนร้ายผิดตัว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย วิดีโอของชายผมบลอนด์ยาว สวมเสื้อสีน้ำเงิน พร้อมกล่าวว่า “ผมชื่อ โทมัส แมทธิว ครุกส์ ผมเกลียดริพับบลิกัน ผมเกลียดทรัมป์ แล้วรู้อะไรไหม พวกเขาจับคนผิด” ได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง Facebook, TikTok และ X […]

Continue Reading