EXPLAINED: ทำไม Elon Musk และผู้เชี่ยวชาญอีกหลายรายถึงต้องการให้หยุดพัฒนา AI ชั่วคราว?

การแข่งขันเพื่อสร้างระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้ฉลาดและมีความสามารถมากยิ่งขึ้นกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่นักวิทยาศาสตร์และผู้นำอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชื่อดังหลายคนได้ออกมาเรียกร้องให้หยุดการพัฒนาไว้ชั่วคราวในจดหมายเปิดผนึกที่เผยแพร่เมื่อวันพุธ (29 มี.ค.) ที่ผ่านมา โดยมีผู้ลงนามมากกว่าหนึ่งพันคนในสาขาวิชาชีพต่างๆ จากนานาประเทศ รวมถึง Elon Musk และ Steve Wozniak จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ได้เรียกร้องให้เว้นวรรคการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี AI ขั้นสูงเป็นเวลาหกเดือน จดหมายนี้กล่าวถึงความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และผลกระทบที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จาก AI โดยมีตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนจาก GPT-4 ซึ่งเป็น AI รุ่นล่าสุดของ OpenAI ที่กล่าวว่าจะมีประสิทธิภาพและมีความสามารถหลากหลายมากกว่า ChatGPT ผู้ลงนามในจดหมายกล่าวว่าการหยุกพัฒนาชั่วคราวจะช่วยให้สามารถทบทวน หารือ และร่วมมือกันรับมือผลกระทบของ AI ในเชิงสังคมและจริยธรรมได้มากยิ่งขึ้น และช่วยให้สามารถพัฒนาระบบการกำกับดูแลและกฎระเบียบที่ดีขึ้นได้อีกด้วย Source จดหมายนี้กลายเป็นที่ถกเถียงถึงอนาคตของ AI และความรับผิดชอบของผู้สร้างและผู้ที่จะนำไปใช้ จดหมายเปิดผนึกนี้คืออะไร? จดหมายดังกล่าวออกโดย Future of Life Institute ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นในการลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติและการดำรงอยู่ทั่วโลกที่เกิดจากเทคโนโลยีขั้นสูง โดยได้เรียกร้องให้หยุดการฝึกระบบ AI ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า GPT-4 เป็นเวลาหกเดือน โดยจดหมายได้ระบุว่าระบบ AI ที่มีความฉลาดในการแข่งขันแบบมนุษย์นั้นมีความเสี่ยงอย่างมากต่อสังคมและมนุษยชาติ AI […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลที่ถูกเข้าใจผิด: ดอก ”พญาเสือโคร่ง” หรือ“มหาโมลี” บานครั้งเดียวในรอบ 400 ปี

การแชร์วิดีโอหรือภาพธรรมชาติอันสวยงามที่เป็นกำลังเป็นไวรัลนั้นดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ บนโซเชียลมีเดีย ทั้งภาพวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ ปรากฏการณ์ต่างๆ ไปจนถึงภาพดอกไม้หรือพืชพรรณต่างๆ ซึ่งบางครั้งข้อมูลที่มากับวิดีโอหรือรูปภาพเหล่านั้นก็อาจสร้างความเข้าใจผิดได้ และล่าสุด มีวิดีโอดอกไม้บานที่กำลังแพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยอ้างว่าเป็นดอกไม้ที่จะบานทุก 400 ปี วิดีโอของดอกไม้สีเหลืองขนาดเล็กที่บานสะพรั่งพร้อมคำบรรยายว่า “นี่คือ “ดอกพญาเสือโคร่ง” หรือ “มหาโมลี” ดอกไม้มงคลเฉพาะของทิเบต ดอกพญาเสือโคร่งบนเทือกเขาหิมาลัยจะบานทุกๆ 400 ปี คนรุ่นเราโชคดีได้เห็นเจดีย์บาน โปรดแชร์ให้คนอื่นได้เห็น โชคดีตลอดชีวิต!” Source | Archive โดยเราพบว่านอกจากโพสต์ข้างต้นแล้ว วิดีโอดังกล่าวยังถูกแชร์บนโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลายอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ทีมงาน Fact Crescendo พบว่าคำกล่าวอ้างที่มาพร้อมกับวิดีโอดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากที่เราได้ทำการตรวจสอบและค้นหาข้อมูล เราไม่พบดอกไม้ชื่อ “มหาโมลี” หรือ “Mahameru” ตามข้อความที่กล่าวอ้างใดๆ ส่วนดอกพญาเสือโคร่ง เป็นไปได้ว่าจะมาจาก “ดอกนางพญาเสือโคร่ง” (ชื่อภาษาอังกฤษ Wild Himalayan cherry หรือ Sour cherry, ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus cerasoides) นั้นก็มีลักษณะแตกต่างจากดอกไม้ในวิดีโอโดยสิ้นเชิง โดยนางพญาเสือโคร่งจะมีลักษณะเป็นดอกสีชมพู กลีบเล็ก คล้ายกับดอกซากุระ […]

Continue Reading

 อย่าหลงเชื่อ! วิดีโอดวงจันทร์ขนาดยักษ์ที่อาร์กติกเป็นภาพตัดต่อ

จากที่มีวิดีโอดวงจันทร์ขนาดยักษ์แชร์อย่างแพร่หลายบนโลกโซเชียล โดยอ้างว่าวิดีโอดังกล่าวบันทึกภาพขึ้นในแถบอาร์กติก ที่ระหว่างเขตแดนของรัสเซียและแคนาดา ซึ่งในวิดีโอได้แสดงภาพดวงจันทร์ขนาดยักษ์ที่บดบังดวงอาทิตย์ โดยดวงจันทร์ปรากฏขึ้นในระยะใกล้พื้นผิวโลกเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะบดบังดวงอาทิตย์และทำให้เกิดความมืดชั่วขณะ และจางหายไปในขอบฟ้า Source | Archive โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้ได้บรรยายคลิปดังกล่าวว่า “ภาพหาดูยาก!! ในดินแดนอาร์กติกยามดวงจันทร์ขนาดใหญ่โผล่ออกมา 30 วินาทีแล้วไปบังดวงอาทิตย์จนมิด 5 วินาที หลังจากนั้นก็หายไป” โดยวิดีโอได้มีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ รวมถึงทวิตเตอร์ด้วยเช่นกัน Archive โดยวิดีโอในทวีตดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่า 630,000 ครั้ง Fact Crescendo ได้ตรวจสอบคลิปดังกล่าวและพบว่าคลิปดังกล่าวเป็นคลิปตัดต่อ และทางเฟซบุ๊กยังได้ขึ้นข้อความเตือนในโพสต์ดังกล่าวแล้วว่าเป็นคลิปตัดต่อ ตรวจสอบข้อเท็จจริง Archive ทางทีมงาน Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบโดยการค้นหาคีย์เวิร์ดใน Google และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ และพบว่าทวีตจาก Hoaxeye ที่ชี้แจงเกี่ยวกับรูปภาพดังกล่าวว่า “เราพบว่ามีคำถามเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับวิดีโอแอนิเมชันที่มีการตัดต่อ/ใช้เอฟเฟกต์พิเศษนี้ปัญหาเดียวคือเรายังไม่พบศิลปินที่ตัดต่อคลิปนี้ขึ้นมา คลิปวิดีโอนี้ทำให้เราคิดถึงแอนิเมชันที่ทำขึ้นเมื่อปี 2013 คลิปนี้ https://youtube.com/watch?v=oBDZtt0vWD8” นอกจากนี้เรายังได้เบาะแสจากทวีตนี้เพิ่มเติม ซึ่ง Hoaxeye อ้างว่า บัญชีผู้ใช้ติ๊กต็อก “Aleksey___nx” เป็นผู้ตัดต่อคลิปนี้ขึ้นมา โดยบัญชีดังกล่าวได้โพสต์วิดีโอนี้ไว้ตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2017  Archive […]

Continue Reading

โพสต์ประกาศหาแรงงานไทย 4,000 อัตราทำงานสวนผักในเกาหลีผ่านกรมจัดหางานเป็นข่าวปลอม

Source | Archive ตามที่มีโพสต์อ้างว่ามีตำแหน่งงานว่างสำหรับคนไทยเพื่อทำงานในสวนผักที่ประเทศเกาหลีใต้กว่า 4,000 อัตรา โดยมีรายได้ต่อเดือนกว่า 79,000 บาท นอกจากนี้ยังอ้างว่าเป็นการเปิดรับสมัครโดยกรมแรงงาน และไปอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งโพสต์ในลักษณะดังกล่าวก็ได้รับความสนใจและมีการแชร์ในเฟซบุ๊กและแพลตฟอร์มโซเชียลต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวและโพสต์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งพบว่าในโพสต์ดังกล่าวนั้นไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการใดๆ จากทางกรมจัดหางานเกี่ยวกับงานดังกล่าว มีเพียงลิงก์ไปยังตัวแทนของเพจนั้นๆ ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับทางกรมแรงงานหรือเจ้าหน้าที่จัดหางานที่ได้รับการตรวจสอบยืนยัน และเพจเฟซบุ๊กนั้นเป็นเพียงเพจสถาบันสอนภาษาเกาหลี ไม่ใช่สำนักงานจัดหางานแต่อย่างใด และถือเป็นข้อมูลเท็จ ข้อกล่าวอ้าง โพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าวอ้างว่ากรมแรงงานเตรียมเปิดรับแรงงานไทยเพื่อทำงานในสวนผักที่เกาหลีใต้กว่า 4,000 อัตรา รายได้ต่อเดือนกว่า 79,000 บาท ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมการจัดหางานยืนยันว่าโพสต์เฟซบุ๊กในลักษณะข้างต้นที่โพสต์เกี่ยวกับตำแหน่งงานว่างในเกาหลีนั้นไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้อง โดยข้อมูลดังกล่าวเป็นโพสต์การรับสมัครทดสอบภาษาเกาหลี และทดสอบทักษะการทำงาน (Point System) สำหรับผู้ที่สนใจไปทำงานที่สาธารณรัฐเกาหลีเท่านั้น และเพจดังกล่าวไม่ได้มีอำนาจหรือมีสิทธิ์ในการจัดหางานในเกาหลีให้กับคนไทยแต่อย่างใด และการทดสอบ Point System ดังกล่าวก็ได้ปิดรับสมัครไปตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2565 (ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ) นอกจากนี้ กรมการจัดหางานยังได้ออกแถลงการณ์บนเว็บไซต์ เพื่อเตือนภัยเกี่ยวกับโพสต์ประกาศรับสมัครแรงงานต่างๆ บนเฟซบุ๊กที่ไม่ได้มาจากหน่วยงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือตัวแทนจัดหางานที่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังชี้แจงว่า งานด้านการเกษตรในเกาหลีที่ทางกรมแรงงานเปิดรับส่วนใหญ่มักจะเป็นงานระยะสั้นตามฤดูกาล และไม่เน้นทักษะภาษาเกาหลี […]

Continue Reading

 กรมการปกครองไม่ได้ประกาศใช้ทะเบียนบ้านดิจิทัล 

Source | Archive ตามที่มีการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการประกาศใช้ทะเบียนบ้านดิจิทัล โดยมีภาพประกาศราชกิจจานุเบกษา กระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับการใช้ระบบดิจิทัลสำหรับทะเบียนบ้าน และการลงทะเบียนเพื่อใช้งานทะเบียนบ้านแบบออนไลน์ Source | Archive Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวก็พบว่าพาดหัวข่าวที่ระบุว่ามีการเปิดให้ใช้งานทะเบียนบ้านในรูปแบบออนไลน์นั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด โดยประกาศใช้งานระบบดิจิทัลดังกล่าวเป็นระบบ Digital ID เพื่อใช้พิสูจน์และยืนยันตัวตนเท่านั้น ข้อกล่าวอ้าง กรมการปกครองประกาศเปิดใช้งานทะเบียนบ้านดิจิทัล โดยสามารถใช้งานได้แบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของทางรัฐได้แล้ว ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อทาง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนบ้านดิจิทัล พบว่ามีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกาศราชกิจจานุเบกษาข้างต้น โดยทางกรมการปกครอง (สำนักทะเบียนกลาง) ได้ชี้แจงว่า กฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบดิจิทัล พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีเจตนารมณ์ในการนำเทคโนโลยีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการงานทะเบียนราษฎร และเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน กฎกระทรวงดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ 14 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป (ข้อมูลจาก TNN Thailand) ส่วนแอปพลิเคชัน D.DOPA ที่เปิดให้ประชาชนได้ลงทะเบียนนั้นเป็นระบบที่ให้บริการด้านทะเบียนราษฎร ที่ประชาชนสามารถดาวน์โหลดและติดต่อขอรับบริการที่สำนักทะเบียนเพื่อทำการกำหนดรหัสผ่านในการใช้งาน และลงทะเบียนในแอป โดยเมื่อลงทะเบียนแล้วจะสามารถตรวจสอบข้อมูลของตนเอง เช่น […]

Continue Reading

อย่าหลงเชื่อ เพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อกรมการขนส่ง รับทำใบขับขี่ออนไลน์

จากที่มีการแชร์โพสต์เรื่องการรับทำใบขับขี่ออนไลน์บนโซเชียล โดยมีเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อกรมการขนส่งทางบก และอ้างว่ารับทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยมีเนื้อความในโพสต์ว่า “รับทำใบขับขี่ จริง ต่อใบขับขี่ปีละครั้ง ผู้ติดตามเรา 6,700 กว่าคน รับประกัน เรารับทำออนไลน์ ราคาไม่แพง บัตรออกโดยขนส่ง มีในระบบ ถูกฎหมายแน่นอน ทำงานไม่ต้องออกจากบ้าน ส่งเอกสารเช็ก ทราบผลทันที รอรับบัตรไม่เกิน 2-3 วัน อยากทำใบขับขี่ ทางเราทำให้ไม่ยุ่งยาก รู้ผลทันที สนใจอยากทำใบขับขี่ สนใจสอบทางไลน์ได้เลย” (Source | Archive) ทาง Fact Crescendo ได้ตรวจสอบและพบว่าเพจดังกล่าวไม่ใช่เพจจริงของกรมการขนส่งทางบก และทางกรมการขนส่งทางบกก็ไม่ได้เปิดรับทำใบขับขี่ออนไลน์ในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด มีเพียงการเปิดอบรมใบขับขี่ออนไลน์สำหรับต่ออายุใบขับขี่เท่านั้น และไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรมแต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้าง เพจเฟซบุ๊กดังกล่าวที่ใช้ชื่อกรมการขนส่งทางบกอ้างว่ารับทำใบขับขี่ออนไลน์ โดยมีอัตราค่าบริการแตกต่างกันไปสำหรับรถแต่ละประเภท และทำได้โดยไม่ต้องออกจากบ้าน เพียงส่งเอกสารเช็กและรอรับบัตรได้เลย ตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลของเพจเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า “กรมการขนส่งทางบก รับทำใบขับขี่” ซึ่งใช้โลโก้และภาพหน้าปกของกรมการขนส่งทางบก พบว่าเพจดังกล่าวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับกรมการขนส่งทางบกแต่อย่างใด โดยทางกรมขนส่งทางบอกได้ชี้แจงผ่านเว็บไซต์ของทางองค์กร แนะประชาชนอย่างหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพที่อาสาดำเนินการด้านทะเบียนและใบขับขี่ (ที่มา: กลุ่มประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ […]

Continue Reading

ข่าวเดลต้าสายพันธุ์ใหม่ตรวจไม่พบเชื้อ  ไม่เป็นความจริง

จากที่มีข้อความแชร์อย่างแพร่หลายในโซเชียล โดยเฉพาะการแชร์ผ่านแพลตฟอร์มไลน์ เกี่ยวกับอันตรายของเดลต้าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ โดยภายในข้อความดังกล่าวได้ระบุว่า “อ่านด่วน งานเข้าแล้ว ประเทศไทย ทุกคนอ่าน คำเตือนฉุกเฉินสวมแมสก์ 2 ชั้น เพราะว่า เดลต้าสายพันธุ์ใหม่ มีความแตกต่างของการเสียชีวิต โดยตรวจไม่พบเชื้อ มาด้วยอาการดังนี้ ไม่ไอ ไม่มีไข้ แต่ส่วนใหญ่ปวดข้อ ปวดหัว ปวดคอ ปวดหลังบริเวณเหนือเอวขึ้นมา ปอดบวม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีอัตราเสียชีวิตสูงมาก การดำเนินโรคจนเข้าสู่อาการรุนแรงใช้ระยะเวลาสั้นๆ บางครั้งไม่มีอาการนำใดๆ สิ่งที่ต้องระวัง เชื้อจะไม่พักตัวที่บริเวณโพรงจมูก มันจะเข้าสู่ปอดโดยตรง ระยะฟักตัวสั้นลง ผู้เขียนพบบางครั้งผู้ป่วยไม่มีอาการไข้หรือปวดเลย แต่ภาพถ่ายรังสีมีปอดบวม ผล swab จมูก ให้ผลลบบ่อยครั้ง แม้ในโพรงจมูกก็ให้ผลลบปลอมเป็นส่วนใหญ่ หมายความว่า เชื้อนี้แพร่กระจายโดยตรงไปที่ปอด เกิดอาการปอดบวมแบบฉับพลัน เป็นคำตอบว่า ทำไมจึงเกิดอาการและเสียชีวิตในเวลาอันสั้น โปรดระมัดระวังให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด โดยเฉพาะห้องแอร์ เว้นระยะอย่างน้อย 1.5 เมตร อยู่ในที่อาการถ่ายเทได้ดี สวมแมสก์ 2 […]

Continue Reading

เตือนภัย โพสต์/ SMS แจ้งข่าวธนาคารออมสินปล่อยกู้สินเชื่อ เป็นข้อมูลเท็จ

ธนาคารออมสินออกมาเตือน อย่าหลงเชื่อโพสต์ที่แอบอ้างว่าทางธนาคารปล่อยเงินกู้ที่กำลังระบาดทั้งบนเฟซบุ๊กและ SMS โดยใช้ชื่อและโลโก้ของทางธนาคารเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ Source | Archive โพสต์ดังกล่าวได้ใช้ชื่อของธนาคารออมสิน รวมถึงโลโก้ของธนาคาร และแชร์ข้อมูลการปล่อยกู้ โดยมีเนื้อหาว่า “สินเชื่อปล่อยกู้โดยตรง วงเงินสูงสุด 300,000 บาทต่อคน ทางสินเชื่อเปิดให้กู้ 24 ชั่วโมงค่ะ สามารถกู้ได้ทุกธนาคารแล้วนะคะ กู้ได้จริงไม่ยุ่งยาก ทางเราเป็นออมสินปล่อยกู้ถูกกฎหมาย สนใจแอดไลน์ไอดี @****** หรือคลิก ******” ทาง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวก็พบว่าเป็นข้อมูลเท็จ ไม่ใช่ข้อมูลจากธนาคารออมสินแต่อย่างใด คำกล่าวอ้าง โพสต์เฟซบุ๊กจากผู้ใช้งานที่ใช้ชื่อและโลโก้ของทางธนาคารออมสิน ได้โพสต์ข้อมูลคล้ายข้อความประชาสัมพันธ์จากธนาคารว่าธนาคารเปิดให้ปล่อยกู้ โดยให้วงเงินสูงสุด 300,000 บาทต่อราย ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทางทีมงานได้ทำการตรวจสอบโพสต์ดังกล่าวของผู้ใช้เฟซบุ๊กช้ที่ใช้ชื่อบัญชีว่า “ธนาคาร ออมสิน” ที่โพสต์ในกลุ่มเฟซบุ๊กชื่อ “ธนาคาร ออมสิน” พบว่าบัญชีดังกล่าว รวมถึงกลุ่มเฟซบุ๊กดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับธนาคารออมสิน โดยทางธนาคารออมสินได้เผยแพร่บทความแจ้งให้ผู้ใช้ระวังภัยมิจฉาชีพที่ปลอมเป็นธนาคาร โดยให้สังเกตเครื่องหมายยืนยันตัวตนสีฟ้าข้างชื่อเพจเฟซบุ๊ก (ที่มา: ธนาคารออมสิน) โดยทางธนาคารยังระบุอีกว่า “ถ้าใช้ชื่ออื่นที่สะกดผิด หรือใช้คำภาษาไทย เช่น ธนาคารออมสิน, […]

Continue Reading

เรื่องราวที่แท้จริงของชายผู้มีสองใบหน้า เอ็ดเวิร์ด มอร์เดรก

เอ็ดเวิร์ด มอร์เดรก ถือเป็นอีกหนึ่งตำนานพิศวงอันโด่งดัง เขามีฉายา “บุรุษสองหน้า” หรือแม้แต่ “ชายผู้มีใบหน้าปีศาจ” มีการแชร์เรื่องราวของเขาหลายต่อหลายครั้งบนโลกโซเชียล (Source | Archive) ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้โพสต์เรื่องราวของเอ็ดเวิร์ด มอร์เดรก โดยมีเนื้อความในทวีตว่า “เอ็ดเวิร์ด มอร์เดรก ชายผู้เกิดมาพร้อมกับใบหน้า 2 หน้า ที่มันสามารถหัวเราะและร้องไห้ได้เหมือนใบหน้าปกติ แต่แค่ไม่มีเสียง ตกดึกมันชอบกระซิบถึงเรื่องนรกตลอดเวลา เอ็ดเวิร์ดเรียกมันว่าหน้าปีศาจ จนสุดท้ายเขาต้องฆ่าตัวตายด้วยวัย 23 ปีเพราะทนใบหน้านี้ไม่ไหว จริงๆ แล้วเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม” โดยทวีตนี้มีการรีทวีตต่อถึง 39,000 ครั้ง เรื่องราวของมอร์เดรกยังถูกพูดถึงในแง่เรื่องราวลึกลับหรือเรื่องเหนือธรรมชาติอยู่หลายครั้ง นอกจากทวีตข้างต้นแล้ว เรื่องราวของเอ็ดเวิร์ด มอร์เดรก ยังถูกพูดถึงอีกหลายครั้งบนโซเชียลมีเดีย (Source | Archive) เรื่องราวและรูปภาพที่อ้างว่าเป็นรูปภาพของเอ็ดเวิร์ด มอร์เดรกบนเพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่ง ซึ่งมีการแชร์ต่อและแสดงความคิดเห็นบนโพสต์จำนวนมาก และยังมีเพจเฟซบุ๊กชื่อ “มิติที่ 6” ที่ได้นำเรื่องราวของเขามาเล่าในวิดีโอนี้ โดยทางเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวตั้งข้อสันนิษฐานทางวิทยาศาสตร์ถึงอาการป่วยของมอร์เดรก ซึ่งก็คือ แฝดกาฝาก หรือแฝดปรสิต ซึ่งก็คือแฝดที่ยังไม่ได้ถูกแบ่งตัวโดยสมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นกรณีที่หาได้ยากมาก และทางเพจยังได้อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ Anomalies and […]

Continue Reading

เมล็ดฟักทองไม่ได้ช่วยขับพยาธิหรือปรสิต

จากคลิปวิดีโอบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อกที่มีการแชร์ข้อมูลว่า การต้มเมล็ดฟักทองผสมกับเกลือและกระเทียม จะช่วยขับพยาธิที่ตกค้างออกจากร่างกายได้ โดยวิดีโอดังกล่าวมีผู้ชมไปแล้วถึง 10 ล้านครั้ง มีการแชร์กว่า 14,000 ครั้ง และได้รับการกดถูกใจกว่าสี่แสนครั้ง Source | Archive ทางทีมงาน Fact Crescendo จึงได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยทางทีมงานไม่พบความเกี่ยวข้องในการรักษาโรคหรือกำจัดพยาธิโดยการใช้เมล็ดฟักทอง เกลือ และกระเทียมร่วมกัน และพบว่ามีบทความจากสถาบันและแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่ออกมายืนยันแล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ และเมล็ดฟักทองไม่สามารถใช้เพื่อกำจัดพยาธิได้ (อ่านข้อมูลยืนยันเพิ่มเติมจากอย. ได้ที่นี่) (ที่มา: สำนักคณะกรรมการอาหารและยา) ข้อกล่าวอ้าง คลิปวิดีโอหนึ่งบนติ๊กต็อกกล่าวว่าเมื่อต้มเมล็ดฟักทองผสมกับเกลือและกระเทียม จะมีฤทธิ์ช่วยขับพยาธิที่ตกค้างออกจากร่างกายได้ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงานได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการหาแหล่งอ้างอิงของข้อมูลดังกล่าว พบว่ามีเว็บไซต์ต่างประเทศหลายแห่งที่โพสต์ข้อมูลที่คล้ายคลึงกันนี้ โดยอ้างว่าสารในเมล็ดฟักทองจะช่วยกำจัดพยาธิและเชื้อโรคต่างๆ ออกจากร่างกาย อย่างไรก็ตาม ทางทีมงานยังไม่พบงานวิจัยหรือการศึกษาใดๆ ที่ยืนยันได้ว่าการกินเมล็ดฟักทองจะช่วยขับพยาธิได้จริง ตัวอย่างโพสต์จากเฟซบุ๊กที่กล่าวอ้างถึงสรรพคุณของเมล็ดฟักทอง แต่ทางเฟซบุ๊กได้ขึ้นข้อความเตือนในโพสต์ดังกล่าวแล้วว่าเป็นข้อมูลเท็จ Source | Archive นอกจากนี้ USAToday ก็ได้เผยแพร่บทความชี้แจงเช่นกันว่าเมล็ดฟักทองไม่สามารถขจัดพยาธิหรือปรสิตออกจากร่างกายได้ โดย Dr. Amita Gupta แพทย์เฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อได้อธิบายว่า “เมล็ดฟักทองมีสารประกอบที่ชื่อว่า ‘คิวเคอร์บิติน’ และ ‘คิวเคอร์บิตาซิน’ […]

Continue Reading