การถอนข้อสงวนอนุสัญญาสิทธิเด็ก “ไม่ใช่การให้สัญชาติไทย” โดยอัตโนมัติ

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ว่ากฎหมายใหม่ จะทำให้เด็กพม่าที่เกิดในไทย ได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “จากนี้เด็กพม่าที่เกิดในประเทศไทยจะได้รับสัญชาติไทยโดยอัตโนมัติ แถมยังได้รับการศึกษาฟรี ได้รับการรักษาพยาบาลฟรี มีสิทธิ์ทุกอย่างเหมือนเด็กไทยคนหนึ่ง รวมถึงเด็กพม่าที่ลี้ภัยสงครามด้วยถ้าเข้ามาอยู่ในไทยจะได้รับสัญชาติไทยทันที” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างที่คล้ายคลึงกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X และ TikTok เช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออกมาชี้แจงกรณีการให้สัญชาติ จากมาตรา 22 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ว่า ไม่มีให้สัญชาติแก่เด็กผู้ใดโดยเด็ดขาด โดยมาตราที่ 22 จะกล่าวถึงเรื่องการให้สิทธิเพื่อดูแลเด็ก ทั้งในทางร่างกาย จิตใจ การศึกษา และในแง่มุมต่างๆ โดยประเทศไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ให้การรับรองมาตราดังกล่าว (ที่มา) @topvarawut ขอทําความเข้าใจครับ #topvarawut♬ original […]

Continue Reading

คณะกรรมการโอลิมปิกสากล ยืนยัน Imane Khelif เป็นเพศหญิงโดยกำเนิด และมีสิทธิ์ลงแข่งมวยสากลหญิงที่ปารีส

ในการแข่งขันมวยสากลหญิงในโอลิมปิกเกมส์ ที่กรุงปารีส เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันในวงกว้างหลังจาก Imane Khelif นักชกทีมชาติแอลจีเรีย ชนะคู่ต่อสู้จากอิตาลี Angela Carini ผู้ที่ประกาศยอมแพ้หลังจากขึ้นชกกับ Khelif ได้เพียง 46 วินาที โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ X รายหนึ่งได้แชร์ข้อความระบุว่า “ผู้ชายไม่ควรอยู่ในกีฬาผู้หญิง แองเจลา คารินี ต้องขอถอนตัว หลังชกกับ อิมาเน เคลิฟ ไปแค่ 46 วินาที เผยทั้งน้ำตา เธอไม่เคยถูกต่อยหนักขนาดนี้ อิมาเน เคลิฟ เคยถูกสั่งห้ามลงแข่งชิงแชมป์โลกหญิง 2023 เพราะตรวจฮอร์โมนไม่ผ่าน แต่ปารีสให้แข่ง” โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรีโพสต์กว่า 5 พันครั้ง และมีการรับชมไปกว่า 4.4 ล้านครั้ง Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เหตุการณ์การถูกตัดสิทธิ์ในอดีตของ Imane Khelif Imane Khelif […]

Continue Reading

ภาพแปรอักษร ‘BRING THEM HOME NOW’ ไม่ได้มาจากงานโอลิมปิกครั้งล่าสุดที่ปารีส

เมื่อไม่นานมานี้ มีภาพของนักกีฬาว่ายน้ำแปรอักษรในสระว่ายน้ำเป็นข้อความว่า “BRING THEM HOME NOW!” แพร่กระจายเป็นวงกว้างบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อความที่ระบุว่าเป็นภาพเหตุการณ์จากงานโอลิมปิกที่กรุงปารีสครั้งล่าสุด พร้อมอ้างว่าเป็นภาพของนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติอิสราเอล โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้โพสต์ภาพนักกีฬาว่ายน้ำแปรอักษรเป็นคำว่า “BRING THEM HOME NOW!” พร้อมข้อความบรรยายภาพว่า “ทีมว่ายน้ำทีมชาติอิสราเอลที่ไปเข้าแข่งโอลิมปิกนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ติดเข็มกลัด Bring Them Home เข้าไปในงานโอลิมปิก ทำให้พวกเขาได้ทำการแปรอักษรในสระว่ายน้ำแทน” ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างพร้อมภาพเดียวกันแพร่กระจายในบริบทภาษาอังกฤษด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบรูปภาพดังกล่าวบนเพจ Facebook ของกระทรวงการต่างประเทศอิสราเอล ที่โพสต์ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2023 พร้อมคำบรรยายที่ระบุว่า “ภาพนักกีฬาระบำใต้น้ำทีมชาติของอิสราเอล ได้แปรอักษรอย่างสวยงามเพื่อแสดงความเคารพแก่ตัวประกันทั้ง 240 คนที่ถูกกลุ่มก่อการร้ายฮามาสจับตัวไว้ในฉนวนกาซา” ลิงก์ถาวร โดยในโพสต์ดังกล่าวได้มีการให้เครดิตภาพแก่ Adam Spiegel และ […]

Continue Reading

ถือแบตเตอรี่เข้าลิฟต์ ทำให้แบตเตอรี่ระเบิด จริงหรือไม่?

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และแบตเตอรี่ต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายและอุบัติเหตุได้ในบางครั้ง จึงควรดูแลรักษาอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม มีโพสต์ที่ชวนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจสร้างความตื่นตระหนกและความกังวลแก่ผู้คนได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย วิดีโอฟุตเทจของกล้องวงจรปิดในลิฟต์แห่งหนึ่ง โดยแสดงเหตุการณ์ที่ชายคนหนึ่งถือแบตเตอรี่เข้าไปในลิฟต์ จากนั้นแบตเตอรี่ก็ลุกไหม้และระเบิดในลิฟต์ แพร่กระจายพร้อมข้อความที่กล่าวอ้างว่า “มีคนนำแบตเตอรี่อีไบค์เข้าไปในลิฟต์ เมื่อลิฟต์ปิด การประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่จะเปลี่ยนเป็นสนามแม่เหล็ก” Source | Archive โดยวิดีโอพร้อมข้อความดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์ม Facebook ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบว่ามีการรายงานเหตุการณ์ดังกล่าวครั้งแรกในประเทศจีนเมื่อปี 2021 โดยเราพบรายงานจากแหล่งข่าวหลายแห่งในประเทศจีนในปี 2021 ที่รายงานถึงวิดีโอนี้ สามารถอ่านรายงานดังกล่าวได้ ที่นี่, ที่นี่ และ ที่นี่ อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวไม่ได้ระบุถึงสถานที่หรือสาเหตุของการระเบิด และจากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า รายงานข่าวล่าสุดเกี่ยวกับวิดีโอดังกล่าว ได้ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2021 ในเขตไห่จู เมืองกว่างโจว ประเทศจีน สามารถอ่านรายงานดังกล่าวได้ ที่นี่, ที่นี่ และ ที่นี่ อย่างไรก็ตาม รายงานเหล่านี้ไม่ได้กล่าวถึงการระเบิดที่เกิดจากสนามแม่เหล็กของแบตเตอรี่ โดยส่วนใหญ่ได้เน้นย้ำถึงการจัดการและกำจัดแบตเตอรี่ลิเธียมให้ถูกวิธี นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังระบุอีกด้วยว่าวิดีโอดังกล่าวถูกนำมาเผยแพร่อีกครั้งเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการแบตเตอรี่ หลังจากที่ทางการเซี่ยงไฮ้ได้แก้ไขกฎที่ห้ามนำจักรยานไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่เข้าไปภายในอาคารหรือในลิฟต์ โดยก่อนหน้านี้ ทางการเซี่ยงไฮ้ห้ามนำแบตเตอรี่ของจักรยานไฟฟ้าเข้าไปในอาคาร และห้ามกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ […]

Continue Reading

บุคคลที่ก่อเหตุและทำลายสินค้าในห้างไต้หวัน เป็นชาวไทย ไม่ใช่ชาวกัมพูชา

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคลิปวิดีโอไวรัลบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยเป็นวิดีโอผู้หญิงคนหนึ่งอาละวาดและทำลายสินค้าภายในห้างสรรพสินค้าในไต้หวัน โดยคลิปวิดีโอดังกล่าวกลายเป็นข่าวทั้งในประเทศไต้หวันและประเทศไทย ท่ามกลางข้อสงสัยของผู้ใช้โซเชียลมีเดียว่าบุคคลในภาพเป็นคนไทยจริงหรือไม่ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน มีผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ชาวไต้หวันได้โพสต์คลิปวิดีโอของผู้หญิงคนหนึ่งที่ตะโกนเป็นภาษาไทยและทำลายสินค้าภายในร้าน Charles& Keith ในตึกไทเป 101 โดยล่าสุดคลิปวิดีโอดังกล่าวบนแพลตฟอร์ม X มีผู้รับชมไปแล้วกว่า 18 ล้านครั้ง ลิงก์ถาวร โดยเมื่อคลิปวิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายออกไป ก็มีหลายฝ่ายแชร์คลิปพร้อมระบุว่าบุคคลในคลิปดังกล่าวไม่ใช่ชาวไทย แต่เป็นชาวกัมพูชาที่พูดภาษาไทยได้ นอกจากนี้ ยังมีสื่อหลายแห่งรายงานข่าวพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันนี้อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบรายงานข่าวจากเว็บไซต์ข่าว SETN ของไต้หวันที่รายงานเหตุการณ์ในครั้งนี้ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 โดยรายงานข่าวได้ระบุว่า มีหญิงไทยก่อความวุ่นวายภายในร้าน CHARLES & KEITH ในตึกไทเป 101 โดยได้จงใจปัดสินค้าบนชั้นวางจนตกกระจายและได้รับความเสียหาย และในเวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจก็พาตัวออกไปและนำส่งโรงพยาบาลในลำดับถัดไป (ที่มา) […]

Continue Reading

โพสต์แอบอ้างเป็นหน่วย IDF ยอมรับว่าเป็นฝ่ายโจมตีโรงพยาบาลในฉนวนกาซา “เป็นเท็จ”

ความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ยังคงครองพื้นที่สื่อ และเป็นประเด็นที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดในขณะนี้ และเช่นเดียวกับเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งที่ผ่านมา มีเนื้อหาไวรัลเกี่ยวกับความขัดแย้งจำนวนมากที่เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิดหรือเป็นเท็จ ประเด็นความขัดแย้งของอิราเอลและปาเลสไตน์ถือเป็นข้อพิพาทที่ซับซ้อนและมีความละเอียดอ่อน ดังนั้นผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูลต่างๆ ที่พบเห็นออนไลน์ และตรวจสอบความถูกต้องก่อนแชร์ออกไป พบข่าวที่น่าสงสัยว่าเป็นข่าวปลอม/ข้อมูลเท็จ ส่งให้เราตรวจสอบได้ที่นี่ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์โพสต์จากเพจ Facebook ที่ระบุว่าเป็นเพจของกองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล (Israel Defense Forces: IDF) ที่โพสต์ยอมรับว่า IDF เป็นผู้โจมตีโรงพยาบาลในฉนวนกาซาและขอรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว โดยแปลได้ว่า “เนื่องจากภาวะขาดแคลนอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ จึงมีการตัดสินใจที่จะทิ้งระเบิดในโรงพยาบาลในกาซาเพื่อให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลพ้นจากทุกข์ทรมาน” Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง บัญชีที่ไม่ใช้งาน: เพจ Facebook ที่กล่าวอ้างว่าเป็น “กองกำลังป้องกันประเทศอิสราเอล” ในภาษาอาหรับ ไม่ใช่บัญชีที่มีการใช้งานอยู่ โดยปกติแล้ว ข้อความแถลงการณ์และการสื่อสารอย่างเป็นทางการจาก IDF จะดำเนินการผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและเว็บไซต์อย่างเป็นทางการที่ได้รับการตรวจสอบยืนยันแล้ว ดังนั้นบัญชีที่ไม่มีการใช้งานและไม่ได้รับการยืนยันดังกล่าวจึงมีแนวโน้มสูงกว่าไม่ใช่บัญชีอย่างเป็นทางการขององค์กร รายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ: เราไม่พบรายงานข่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือที่ยืนยันว่าโพสต์ดังกล่าวมาจาก IDF นอกจากนี้ สภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐประเมินว่า อิสราเอลไม่ได้เป็นฝ่ายทำให้โรงพยาบาลในกาซาถูกถล่มจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม (ที่มา) แถลงการณ์อย่างเป็นทางการจาก IDF: IDF […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลถูกเข้าใจผิดว่าเป็นห้องสมุดที่ถูกเผาจากเหตุจลาจลที่ฝรั่งเศส

เหตุประท้วงในฝรั่งเศสยังคงรุนแรงและลุกลามไปในหลายเมือง โดยนับว่าเป็นหนึ่งในการประท้วงที่รุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส นอกจากนี้ภาพและวิดีโอต่างๆ เกี่ยวกับเหตุจลาจลครั้งนี้ก็ได้รับความสนใจและแพร่กระจายบนโลกโซเชียลอย่างรวดเร็ว ซึ่งบางโพสต์ก็มีข้อมูลที่อาจชวนให้เข้าใจผิดได้ เราจึงทำการตรวจสอบในกรณีดังกล่าว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย วันพุธที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ติ๊กต็อกได้โพสต์วิดีโอหนึ่ง พร้อมคำบรรยายว่า “วิกฤตฝรั่งเศส ผู้ก่อจลาจลเผาห้องสมุดและเผาทุกอย่าง” Source | Archive นอกจากนี้วิดีโอดังกล่าวยังแพร่กระจายในแพลตฟอร์มอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอีกด้วย ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอเดียวกัน พร้อมข้อความที่ระบุว่าเป็นห้องสมุดที่เมืองมาร์เซย ฝรั่งเศส Archive นอกจากนี้วิดีโอดังกล่าวยังแพร่กระจายบนเฟซบุ๊กเช่นเดียวกัน Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มดำเนินการตรวจสอบกรณีดังกล่าวโดยการค้นหาข่าวเกี่ยวกับผู้ก่อจลาจลเผาห้องสมุดในเมืองมาร์กเซย ตามที่โพสต์ข้างต้นระบุ และพบว่ามีรายงานการเผาห้องสมุดในมาร์กเซยจริง (อ่านข่าวได้ ที่นี่ และที่นี่) อย่างไรก็ตาม เราไม่พบวิดีโอที่เป็นไวรัลในรายงานข่าวจากสื่อและแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้แต่อย่างใด เราจึงค้นหาที่มาของวิดีโอโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Video Search และพบวิดีโอที่ตรงกันจากสำนักข่าว Al Jazeera โดย Al Jazeera ได้รายงานว่าเป็นเหตุการณ์ “ไฟไหม้อาคารสำนักงานที่ทำการไปรษณีย์กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์” และเมื่อทำการค้นหาเกี่ยวกับข่าวดังกล่าวเพิ่มเติม ก็พบว่ามีแหล่งข่าวต่างๆ รายงานเหตุการณ์ครั้งดังกล่าวมากมาย โดยสามารถรับชมข่าวเหตุการณ์ไฟไฟม้ครั้งนี้ได้ ที่นี่ ที่นี่ […]

Continue Reading

ภาพเก่าและภาพจาก AI ถูกนำมาแชร์ว่าเป็นภาพชิ้นส่วนของเรือดำน้ำ ‘ไททัน’

เรือดำน้ำ ‘ไททัน’ ที่หายไปจากเรดาร์ขณะดำดิ่งเพื่อไปสำรวจซากเรือ ‘ไททานิค’ ที่ก้นมหาสมุทร กลายเป็นประเด็นข่าวทั่วโลก แม้ผู้คนทั่วโลกต่างภาวนาให้พบเรือดำน้ำและให้ผู้โดยสารในเรือปลอดภัยในเร็ววัน แต่สุดท้ายผู้บัญชาการหน่วยรักษาชายฝั่งเขตที่ 1 ของสหรัฐฯ ก็ออกมาแถลงว่าเรือดำน้ำไททันได้เกิดระเบิดจากภายใน (Implosion) เนื่องจากแรงดันภายนอกที่สูงมาก ซึ่งทำให้ผู้โดยสารทั้งหมด 5 รายเสียชีวิต (อ่านข่าวที่นี่) โซเชียลมีเดียต่างประหลาดใจและแสดงปฏิกิริยาไปในหลากหลายทิศทางกับข่าวดังกล่าว และเราพบว่ามีรูปภาพต่างๆ ที่กล่าวอ้างว่าเป็นชิ้นส่วนของเรือดำน้ำไททันกลายเป็นไวรัล และมีการแชร์อย่างแพร่หลาย โดนทีมงาน Factcrescendo พบว่ารูปภาพเหล่านี้มีทั้งรูปภาพเก่าและรูปภาพที่สร้างโดย AI ไม่ใช่ชิ้นส่วนจากเรือดำน้ำไททันแต่อย่างใด โพสต์โซเชียลมีเดีย ผู้ใช้เฟซบุ๊กได้แชร์ภาพชิ้นส่วนเครื่องยนต์ในก้นมหาสมุทร พร้อมคำบรรยายภาพว่า “ซากเรือดำน้ำ TITAN” Source | Archive นอกจากนี้ยังมีทวีตที่มีการรับชมกว่าหนึ่งล้านครั้ง ระบุว่า “US Coast Guard ยืนยัน เศษซากที่พบเป็นยานดำน้ำ #Titan ที่หายไป โดยซาก Titan จมอยู่ใต้น้ำห่างจากหัวเรือ #Titanic ประมาณ 1,600 ฟุต สันนิษฐานว่านักท่องเที่ยว #ไททานิค ทั้ง 5 คนเสียชีวิตแล้ว […]

Continue Reading

สวีเดนไม่ได้ประกาศให้ ”เซ็กซ์เป็นกีฬา”

การแสดงออกเรื่องเพศยังคงถือเป็นเรื่องต้องห้ามในบางพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะประเทศในเอเชีย ในกรณีนี้ สำนักข่าวและเพจข่าวหลายแห่งได้รายงานว่าสวีเดนมีวางแผนที่จะผลักดันเซ็กซ์ให้เป็นกีฬา และเตรียมจัดแข่งขันในรูปแบบเดียวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ข่าวดังกล่าวจึงมีแชร์อย่างแพร่หลายบนโซเชียลอย่างรวดเร็ว ข้อความบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊ก “Thairath Sport – ไทยรัฐสปอร์ต” ได้โพสต์ข่าวดังกล่าวพร้อมข้อความว่า “ “สมาพันธ์เซ็กซ์สวีเดน” เตรียมจัดแข่งรูปแบบโอลิมปิก หวังผลักดันเป็นกีฬา มีเกณฑ์ตัดสิน เปิดให้สาธารณะโหวตจากถ่ายทอดสด” Source | Archive และสำนักข่าวผู้จัดการ ก็ได้เผยแพร่ข่าวดังกล่าว พร้อมพาดหัว “สวีเดน บรรจุ “เซ็กซ์” เป็นกีฬามีจัดเเข่งขัน รวมถึงชิงเเชมป์ยุโรป” Source | Archive ผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางส่วนก็ได้แสดงความไม่พอใจต่อกรณีดังกล่าว และเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสม Source | Archive นอกจากนี้สื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศอินเดียหลายๆ แห่ง เช่น Times of India, Hindustan Times, News18, และ India Today, ก็ได้รายงานข่าวนี้เช่นเดียวกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบว่ามีการรายงานการแข่งขันดังกล่าวในสวีเดนจากสื่อต่างประเทศหรือไม่ แม้ว่าสื่อไทยและสื่ออินเดียจะรายงานข่าวนี้ […]

Continue Reading

ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน กินกุ้งพร้อมกับวิตามินซี ไม่เป็นอันตราย

การแชร์ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับสุขภาพมีให้เห็นได้ทั่วไปในโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดในวงกว้างได้ ยิ่งในยุคที่การใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้นสูง ผู้คนก็สามารถแชร์ความคิดเห็นและความเชื่อของตนได้ง่ายดายยิ่งขึ้น แม้ว่าข้อมูลนั้นจะไม่ถูกต้องก็ตาม และการแชร์ข้อมูลผิดๆ นี้ก็นำไปสู่ข้อกล่าวอ้างที่ผิดพลาดมากมายซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่เชื่อข้อกล่าวอ้างเหล่านั้น อีกตัวอย่างหนึ่งของข้อมูลผิดๆ ที่เราพบล่าสุดคือ ข้อกล่าวอ้างที่มีการแชร์อย่างเป็นวงกว้างว่ามีคนเสียชีวิตจากการรับประทานกุ้งพร้อมกับวิตามินซี ข้อกล่าวอ้างนี้แพร่กระจายในโซเชียลมีเดียมานานหลายปี และอาจสร้างเกิดความกลัวโดยไม่จำเป็น ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่โพสต์ข้อความเตือนถึงอันตรายของการรับประทานกุ้งพร้อมวิตามินซี พร้อมขอให้ผู้คนแชร์ข้อความต่อไปเพื่อเตือนบุคคลอื่น โดยข้อความระบุว่า: “เสียเวลาอ่านนิดหนึ่งนะ…อันตรายทีไม่เคยรู้มาก่อน ..ที่ไต้หวัน หญิงคนหนึ่งเลือดออกทางทวารทั้ง 7 โดยไม่รู้สาเหตุ เสียชีวิตในข้ามคืนเดียว จากการชันสูตรศพเบื้องต้น ลงความเห็นว่าตายเพราะพิษสารหนู แล้วสารหนูมาจากไหนล่ะ ตำรวจเริ่มสืบสวนในวงกว้าง และเชิญศาสตราจารย์นิติเวชมาร่วมคลี่คลายคดี ศาสตราจารย์ตรวจวิเคราะห์สิ่งตกค้างในกระเพาะ ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็เปิดโปงสาเหตุการตายฉับพลัน “ผู้ตายไม่ได้ฆ่าตัวตาย ไม่ได้ถูกลอบสังหาร แต่ตายเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ถูกมันฆ่า”ศาสตราจารย์ฟันธงผู้คนงงเป็นไก่ตาแตก อะไรคือ”มันฆ่า” แล้วสารหนูมาจากไหน ศาสตราจารย์กล่าวว่า สารหนูเกิดในกระเพาะผู้ตาย ผู้ตายกินวิตามินซีทุกวัน นี่ไม่ใช่ปัญหา ปัญหาอยู่ที่ เธอกินกุ้งจำนวนมากในมื้อเย็น กินกุ้งโดยลำพังก็ไม่มีปัญหา คนในบ้านกินกันก็ไม่เห็นเป็นไร แต่ผู้ตาย กินวิตามินซีพร้อมกันด้วย ปัญหาจึงเกิดตรงนี้แหละ นักวิจัยมหาวิทยาลัยชิคาโกเคยทำการทดลอง พบว่าสัตว์เปลือกอ่อนเช่นกุ้งมีสารประกอบอาเซนิกเข้มข้นในปริมาณสูง สารประกอบชนิดนี้เข้าไปอยู่ในร่างกายก็ไม่มีพิษภัยอะไร แต่เมื่อรับประทานวิตามินซีพร้อมกัน จะเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้สารประกอบเดิมที่มีสูตรเคมี As2O5หรืออาเซนิกออกไซด์ซึ่งไม่มีพิษ กลายเป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมี As2O […]

Continue Reading