อย่าแชร์ต่อ! SCB ยืนยัน ข้อความ “ที่ชาร์จ SCB ดูดเงิน” ไม่เป็นความจริง

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ระบุว่า ได้รับซองพัสดุจากธนาคารที่บรรจุที่ชาร์จโทรศัพท์แบบพกพา หรือพาวเวอร์แบงก์ และได้รับคำเตือนว่าห้ามนำมาชาร์จโทรศัพท์เด็ดขาด เพราะอาจถูกดูดเงินได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้เผยแพร่ข้อความที่ระบุว่า “ได้รับซองเป็นเครื่องชาร์จแบตอย่างดีจากธนาคาร SCB แต่ยังไม่ได้ชาร์จ พอดีสงสัยก็เลยไปถามญาติที่ทำงานแบงค์ เขาบอกห้ามเสียบ ห้ามทำอะไรเด็ดขาดเลยนะ มันเป็น call center ซึ่งส่งมาให้ถ้าเราเสียบ ชาร์จปั๊บหรือ power bank ที่มันส่งมาให้มันจะดูดเงินทันที โชคดีที่มีญาติอยู่แบงค์และเขาบอกโทรไปเช็คกับแบงค์ SCB เขาบอกไม่มีการส่งอะไรไปให้ลูกค้าของแบงค์เลย ฝากไว้ด้วยนะจ๊ะใกล้ตัวเข้ามาทุกที” โดยข้อความดังกล่าวแพร่กระจายทั้งบนแพลตฟอร์ม Facebook, X และ LINE ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ลิงก์ถาวร SCB ชี้แจง ข้อความพาวเวอร์แบงก์จาก SCB ดูดเงิน ไม่เป็นความจริง ในวันที่ 3 มีนาคม ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ได้โพสต์ข้อความชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวบนเพจ […]

Continue Reading

ภาพหลักหมุด “กรุงสยาม” ที่เป็นไวรัล ไม่ได้อยู่ที่พระตะบองตามข้อกล่าวอ้าง

เมื่อไม่นานมานี้ มีรูปภาพหนึ่งแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพของ “หลักหมุดกรุงสยาม” ที่อยู่ในเมืองพระตะบอง กัมพูชา โดยภาพดังกล่าวมีการแชร์อย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งได้แชร์ภาพหลักหมุดที่มีข้อความว่า “กรุงสยาม – SIAM” พร้อมข้อความกำกับว่า “หลักหมุดSIAM กรุงสยาม “ที่เมืองพระตะบอง” อดีตพื้นแผ่นดินของไทย ที่เศษฝรั่งทำป่นปี้” โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่า 800 ครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้เรายังพบรูปภาพนี้พร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันบนแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้เนินการค้นหาที่มาของภาพโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหาแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่ารูปภาพดังกล่าวมาจากเว็บไซต์ข่าวคมชัดลึก ตั้งแต่เมื่อปี 2554 ในรายงานข่าวกรณีปะทะระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชา ที่บริเวณ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ (อ่านข่าวที่นี่ | ลิงก์ถาวร) นอกจากนี้เรายังพบภาพหลักหมุดเดียวกันจากรายงานข่าวของเว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์เมื่อปี 2551 โดยในรายงานข่าวระบุว่าหลักหมุดดังกล่าวคือหลักเขตที่ […]

Continue Reading

Scam Alert! มิจฉาชีพส่ง SMS แอบอ้างเป็นธนาคารว่ามีผู้เข้าสู่ระบบจากอุปกรณ์อื่น

เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลหลายรายแชร์ว่าได้รับข้อความที่ระบุว่ามาจากธนาคารกสิกรไทย โดยแจ้งว่ามีผู้เข้าสู่ระบบธนาคารจากอุปกรณ์อื่น พร้อมแนบลิงก์ให้ผู้รับ SMS เข้าไปติดต่อธนาคาร Source | Archive โดยเมื่อเราได้ตรวจสอบเพิ่มเติม ก็พบว่ามีผู้ใช้หลายรายได้รับข้อความในลักษณะเดียวกัน Source | Archive Source | Archive นอกจากนี้ ยังมีการรายงานข่าวในกรณีนี้ด้วยเช่นเดียวกัน มิจฉาชีพล่อลวงเหยื่อจากวิธีนี้อย่างไร? ส่ง SMS เข้ากล่องข้อความเดียวกับธนาคาร โดยการปลอมแปลงชื่อผู้ส่ง: การส่งข้อความในลักษณะดังกล่าวเป็นการส่งโดยไม่ผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ หรือที่เรียกว่า False Base Station (FBS) Attack ซึ่งมิจฉาชีพสามารถปลอมแปลงชื่อผู้ส่งเป็นชื่อหน่วยงานใดก็ได้ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือประกอบกับเหยื่อหลอกลวงในรูปแบบดังกล่าว สร้างบัญชี LINE ปลอม จากลิงก์ที่ส่ง: เมื่อผู้ใช้คลิกลิงก์ที่แนบมากับ SMS ก็จะปรากฏเป็นบัญชี LINE ที่ใช้ชื่อว่า “K Bank Connect” และส่งข้อความแอบอ้างเป็นหนักงานของทางธนาคาร หลอกล่อให้ผู้ใช้คลิกเข้าลิงก์ปลอมเพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หลอกล่อให้กดดาวน์โหลดแอปในลิงก์ปลอม: ลิงก์ที่มิจฉาชีพอ้างว่าเป็นลิงก์ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของทางธนาคาร อาจจะเป็นซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ของเหยื่อได้ หรือมีการหลอกให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก จำนวนหลายๆ […]

Continue Reading