วิดีโอพร้อมข้อกล่าวอ้างว่า ในหลวง ร.9 ทรงรำวง ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เราได้รับเบาะแสจากผู้ใช้ผ่าน LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยได้พบวิดีโอแพร่กระจายอยู่บนแพลตฟอร์ม LINE พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าวิดีโอดังกล่าวเป็นวิดีโอของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงรำวง ส่งเบาะแสข่าวที่คุณสงสัยให้เราตรวจสอบได้ที่นี่ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย นอกจากวิดีโอดังกล่าวจะมีการแพร่กระจายผ่านช่องทาง LINE แล้ว เรายังพบว่าวิดีโอดังกล่าวยังมีการโพสต์ลงบนแพลตฟอร์ม TikTok หลายครั้งพร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกัน Source | Archive อย่างไรก็ตาม เราพบว่าบุคคลในวิดีโอดังกล่าว ไม่ใช่ในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากผลลัพธ์การค้นหาโดยใช้คำสำคัญต่างๆ เช่น ร.9, รำวง เราพบคลิปวิดีโอเดียวกันจำนวนหนึ่งบน TikTok และมีคลิปวิดีโอหนึ่งที่ระบุไว้ว่า เป็นภาพครั้งที่ในหลวงและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จไปประเทศเมียนมาร์ (หรือชื่อเดิมในขณะนั้นคือสหภาพพม่า) ในปี พ.ศ. 2503 เราได้ทำการค้นหาเพิ่มเติมจากข้อมูลดังกล่าว และพบวิดีโอภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ที่เสด็จเยือนสหภาพพม่า ในปี พ.ศ. 2503 ตามคลิปวิดีโอด้านล่างนี้ โดยในวิดีโอมีการบรรยายว่า สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ ท่านผู้หญิงมณีรัตน บุญนาค นางสนองพระโอษฐ์ และพลตำรวจเอกชุมพล โลหะชาละ นายตำรวจราชสำนัก ออกไปแสดงการรำวงไทยให้พม่าชม […]

Continue Reading

สี จิ้นผิง สั่งให้นำคำสอนในหลวง ร.9 บรรจุลงหลักสูตรที่จีน จริงหรือไม่?

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราพบว่ามีการนำภาพคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมคำสอนในภาษาไทย และเวอร์ชันแปลเป็นภาษาจีน เผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย พร้อมข้อกล่าวอ้างว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของประเทศจีน ได้สั่งให้นำคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 ลงในหนังสือเรียนสำหรับนักเรียนจีน ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย จากที่เราได้รับเบาะแสผ่านทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา ระบุว่า “สี จิ้น ผิง กำหนดให้ ” คำสอนของพ่อ ” บรรจุในหนังสือเรียน สำหรับสอน เด็กนักเรียนจีน ทั้งประเทศ“ Archive และเมื่อดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้แพร่กระจายบนเฟซบุ๊กเช่นเดียวกัน Source | Archive โดยโพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่าหกพันครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากดำเนินการตรวจสอบ เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ทำการตรวจสอบใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว และพบว่าเริ่มมีการแชร์รูปภาพดังกล่าวบนโซเชียลตั้งแต่ปี 2017 ในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงครบรอบหนึ่งปีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โดย Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังศูนย์การศึกษานักศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เพื่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับที่มาของภาพ […]

Continue Reading