น้ำท่วมครั้งใหญ่ในดูไบ ไม่ได้มีสาเหตุมาจากฝนเทียม

เมื่อช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูไบประสบเหตุการณ์ฝนตกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 75 ปีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทำให้เกิดน้ำท่วมเมืองและเหตุขัดข้องในหลายๆ ภาคส่วน รวมถึงและการระงับเที่ยวบินจำนวนมาก และท่ามกลางภัยพิบัติครั้งนี้ มีข้อความบนโซเชียลมีเดียจำนวนมากระบุว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้คือการเพาะเมฆ (Cloud Seeding) หรือการทำฝนเทียม อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง: คลิปวิดีโอในอดีต ถูกนำมาแชร์ใหม่ว่าเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในซาอุฯ ครั้งล่าสุด ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้หลายรายบน Facebook ที่โพสต์ข้อความระบุว่าสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเมืองดูไบนั้นมีสาเหตุมาจากการทำฝนเทียมในเมือง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ (National Center of Meteorology: NCM) ซึ่งรับผิดชอบโครงการ Cloud Seeding ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระบุกับสำนักข่าว CNBC ว่า ทางศูนย์ฯ ไม่ได้ดำเนินการเพาะเมฆในช่วงก่อนหน้าหรือระหว่างช่วงที่มีเหตุการณ์สภาพอากาศแปรปรวนครั้งนี้แต่อย่างใด Maarten Ambaum ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และพลศาสตร์ของชั้นบรรยากาศ University of Reading กล่าวว่าเขาได้พูดคุยกับนักอุตุนิยมวิทยาที่ NCM ที่ได้ปฏิเสธว่าไม่ได้ทำการเพาะเมฆในช่วงระยะเวลาดังกล่าว โดยอธิบายเพิ่มเติมว่าการเพาะเมฆในเอมิเรตส์นั้นใช้กับเมฆที่ไม่ก่อให้เกิดฝน […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลของเครื่องบินสองลำเกือบชนกันบนรันเวย์ที่ดูไบ ไม่ใช่วิดีโอจริง

วิดีโอของเครื่องบินสองลำของสายการบิน Qantas และ Emirates บินเข้าใกล้กันอย่างฉิวเฉียด พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นที่สนามบินดูไบ กลายเป็นไวรัลและถูกแชร์ในวงกว้างบนแพลตฟอร์มต่างๆ เมื่อไม่นานมานี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ X (Twitter) รายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอของเครื่องบินของสายการบิน Emirates กำลังรุกล้ำเข้าสู่รันเวย์ระหว่างที่เครื่องบินของ สายการบิน Qantas กำลังลงจอด พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า “ภาพที่ชวนแทบหยุดหายใจ เมื่อเครื่องบินของสายการบินแควนตัสจากออสเตรเลียเกือบเฉี่ยวชนกับเครื่องบินของสายการบินเอมิเรตส์ ที่สนามบินดูไบ” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 1.6 ล้านครั้ง นอกจากนี้เรายังพบว่าวิดีโอเดียวกันยังถูกแชร์บนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น TikTok และ Instagram ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยได้ใช้ฟีเจอร์การค้นหาวิดีโอและค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ เพื่อหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว เละเราพบว่าวิดีโอดังกล่าวมาจากช่อง YouTube ที่ใช้ชื่อว่า “Aviation for Everyone” โดยโพสต์วิดีโอไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2023 และในส่วน […]

Continue Reading