กระทรวงสาธารณสุขชี้แจง งานวิจัยว่าเข็มกระตุ้นเพิ่มความเสี่ยงติดโควิด ยังขาดความน่าเชื่อถือและใช้ในไทยไม่ได้

จากที่เพจ Center for Medical Genomics ได้แชร์งานวิจัยของ Dr. Nabin K Shrestha และทีมวิจัยแผนกโรคติดเชื้อจากคลีฟแลนด์คลินิก ที่แสดงผลวิจัยว่า ความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 กลับมีการแปรผันตรงตามจำนวนครั้งหรือโดสของการฉีดวัคซีน (mRNA) กล่าวคือ หากได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอจำนวนมากก่อนหน้านี้ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ก็จะยิ่งสูงขึ้น ผู้ที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ 3 โดสขึ้นไปจะมี “ความเสี่ยง” ในการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 6 เท่าเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยโพสต์ดังกล่าวก็ได้รับการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง รวมถึงมีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ต่างๆ อีกด้วย Source | Archive Fact Crescendo ได้ตรวจสอบบทความดังกล่าวและพบว่างานวิจัยที่มีการอ้างอิงในบทความนั้นเป็นงานวิจัยที่ยังไม่ได้รับตีพิมพ์และยังไม่ผ่านการตรวจสอบ และในงานวิจัยดังกล่าวยังระบุไว้ว่างานวิจัยชิ้นดังกล่าวเป็นผลการวิจัยที่ทำขึ้นใหม่ และยังไม่ได้มีการประเมินอย่างเป็นทางการ จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการรักษา แถลงการณ์จากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับบทความข้างต้นว่า ข้อมูลวิจัยจากสหรัฐฯ เรื่องรับวัคซีน mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโควิด-19 ยังขาดความน่าเชื่อถือ ยังไม่ถูกยอมรับให้เผยแพร่ ขาดการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านระบาดวิทยา พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันโรคที่มีผลต่อการติดเชื้อ ที่สำคัญไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการต่างกัน ย้ำฉีดวัคซีนอย่างน้อย 4 […]

Continue Reading

ข่าวอย. สหรัฐฯ และไฟเซอร์แพ้คดีไม่เป็นความจริง

จากที่มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนไฟเซอร์ โดยข้อความดังกล่าวอ้างว่า อย. สหรัฐฯ และบริษัทไฟเซอร์แพ้คดี และไฟเซอร์ถูกบังคับให้เปิดเผยผลข้างเคียงของวัคซีน โดยข้อความดังกล่าวถูกแชร์ออกไปอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเฟซบุ๊กและไลน์  Facebook Post | Archive  มีการแชร์ต่อข้อความดังกล่าวออกไปอย่างแพร่หลายบนเฟซบุ๊ก ทาง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และพบว่าข้อมูลดังกล่าวชวนให้เข้าใจผิด โดยทางกรมควบคุมโรค กรมสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศเตือนไม่ให้หลงเชื่อข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ของทางองค์กรด้วยเช่นกัน (ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) คำกล่าวอ้าง ข้อความดังกล่าวได้ระบุว่าคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ รวมถึงบริษัทไฟเซอร์แพ้คดี ศาลจึงสั่งให้ออกมาเปิดเผยเอกสารที่แสดงข้อมูลผลข้างเคียงจากวัคซีน ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อทาง Fact Crescendo พบเห็นข้อความดังกล่าวที่มีการแชร์อย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ จึงทำการตรวจสอบข้อมูลโดยการค้นหาข้อมูลยืนยันจากคีย์เวิร์ดภายในข้อความ และได้พบว่าข้อความดังกล่าวมีการแชร์อย่างแพร่หลายมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 และได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริงโดยกรมควบคุมโรคตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวยังมีการแชร์อยู่บ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา ทาง Fact Crescendo จึงต้องดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่อาจพบเห็นและกังวลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยกรมควบคุมโรคได้ระบุว่า “รายงานเฝ้าระวังดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการปิดบังหรือถูกศาลสั่งให้เปิดเผยแต่อย่างใด เพราะมีการเผยแพร่ให้สาธารณะทราบเป็นระยะอยู่แล้ว โดยทาง US FDA จะมีการตรวจสอบว่าอาการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน” นอกจากนี้ ยังมีการยืนยันจาก […]

Continue Reading