วิดีโอรอยแยกจากแผ่นดินไหวที่กำลังเป็นไวรัลนั้นไม่ได้มาจากตุรกี

แผ่นดินไหวรุนแรงบริเวณชายแดนระหว่างตุรกีและซีเรียเมื่อช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเสียหายและการสูญเสียครั้งใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดขึ้น ก็มีข้อมูลเท็จและข่าวลือแพร่กระจายในโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดความสับสนและวิตกกังวลในหมู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ตั้งแต่การรายงานอาฟเตอร์ช็อกที่ผิดพลาด ไปจนถึงภาพความเสียหายที่ชวนให้เข้าใจผิด ซึ่งการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดอาจส่งผลเชิงลบในช่วงเวลาวิกฤตได้ และเมื่อเร็วๆ นี้ เราพบวิดีโอที่กำลังเป็นไวรัลบนโซเชียลมีเดียที่กล่าวอ้างว่าเป็นรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นในจังหวัด Hatay ประเทศตุรกี หลังจากเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ผ่านมา ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งกล่าวอ้างว่าวิดีโอดังกล่าวเป็นรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นในจังหวัด Hatay ประเทศตุรกี หลังแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด ทวีตดังกล่าวมีคำบรรยายว่า “ข่าวล่าสุด! วิดีโอใหม่ เปลือกโลกแตกเป็นแนวยาว ในจังหวัด Hatay ประเทศตุรกี หลังเกิดแผ่นดินไหว!!??” ทวีตดังกล่าวมาพร้อมกับวิดีโอคลิปความยาว 8 วินาทีที่แสดงรอยแตกขนาดใหญ่บนพื้นดิน Source | Archive โดยทวีตดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วถึงสามแสนครั้ง รวมถึงมีการรีทวีตไปกว่าหนึ่งหมื่นครั้ง และการกดถูกใจเกือบสามพันครั้ง อย่างไรก็ตาม ทีมงานพบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ได้มาจากตุรกีแต่อย่างใด แต่เป็นสถานที่จากประเทศจีน ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราทำการตรวจสอบโดยนำคีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าวไปค้นหาในฟีเจอร์ Reverse Image Search และพบวิดีโอนี้ในหลายแพลตฟอร์ม พร้อมคำอธิบายที่แตกต่างกันไป เราพบบทความที่มีคลิปวิดีโอเดียวกัน โดยระบุว่าสถานที่ดังกล่าวคือรอยเลื่อน San Andreas ในรรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯอย่างไรก็ตาม เมื่อเราตรวจสอบโดยทำการเปรียบเทียบลักษณะทางภูมิศาสตร์ของวิดีโอดังกล่าวกับรอยเลื่อน San […]

Continue Reading

ภาพสุนัขกู้ภัยในรัฐวอชิงตันแพร่กระจายบนโซเชียลหลังแผ่นดินไหวในตุรกี-ซีเรีย

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกีและซีเรียเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 41,000 คน และบาดเจ็บหลายหมื่นคน เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง และทำให้ผู้คนหลายหมื่นคนไร้ที่อยู่อาศัย หลังจากเกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลายประเทศได้ส่งทีมกู้ภัยและสุนัขกู้ภัยไปยังตุรกีเพื่อช่วยปฏิบัติการกู้ภัย อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางเหตุการณ์โศกนาฎกรรมครั้งนี้ ข้อมูลเท็จได้แพร่กระจายในสื่อโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้โซเชียลมีเดียบางรายแชร์ภาพสัตว์ช่วยเหลือที่ในอดีตที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ โดยกล่าวอ้างว่าเป็นภาพเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหว เราจึงได้ดำเนินการตรวจสอบภาพที่มีการกล่าวอ้างที่ได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊กได้แชร์ภาพของสุนัขพันธ์ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ในสายจูง ที่มีดินและโคลนเปื้อนตัวอยู่ โดยอ้างว่าเป็นสุนัขกู้ภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกีและซีเรีย พร้อมคำบรรยายภาพว่า: “”นี่เป็นสภาพของสุนัขที่หลังจากทำงานไปหนึ่งกะในการค้นหาผู้รอดชีวิตในซากปรักหักพัง ในตุรกี น้องได้ช่วยคนได้ 10 คน และช่วยชีวิต (น้องหมา) เพื่อนๆ ของพวกเขาด้วย  ***เทคโนโลยีกำลังก้าวหน้า แต่เครื่องตรวจจับกลิ่นที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีอยู่ยังไม่ได้ถูกคิดค้นโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่***”  “เคารพและโค้งคำนับสุนัขทุกตัวในโลก!” – แบรงโก มิกิช “This is how a dog that after one shift of work searching through the […]

Continue Reading

วิดีโอฝูงนกถูกนำมาแชร์ว่าเป็นสัญญาณเตือนก่อนแผ่นดินไหวในตุรกี

เหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ตุรกีและซีเรียเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาถือเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่ทั้งโลกต่างให้ความสนใจ ในขณะที่ภารกิจค้นหาและให้ความช่วยเหลือยังคงดำเนินไป การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้ก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ล่าสุดเราพบว่ามีคลิปวิดีโอจากเหตุการณ์อื่นในอดีตที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดนี้ เราจึงได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงข้อมูลดังกล่าว คำกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่งได้โพสต์วิดีโอของฝูงนกขนาดใหญ่ที่กำลังบินผ่านท้องถนน ซึ่งอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดแผ่นดินไหวในตุรกีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Source | Archive โดยเพจเฟซบุ๊กดังกล่าวได้ระบุในคำบรรยายวิดีโอว่า “ฝูงนกจำนวนมาก | ก่อนจะเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง #ตุรกี #อย่าลืมพี่น้องมุสลิมในตุรกี #prayforturkey” โดยนอกเหนือจากเพจข้างต้นแล้ว เรายังพบวิดีโอนี้พร้อมข้อกล่าวอ้างเดียวกันเผยแพร่ในแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น ติ๊กต็อก ด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive เมื่อเราทำการตรวจสอบวิดีโอดังกล่าวก็พบว่า วิดีโอนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในตุรกีครั้งล่าสุด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search จากคีย์เฟรมในวิดีโอ เพื่อค้นหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และได้พบวิดีโอฝูงนกที่คล้ายคลึงกันที่เผยแพร่ครั้งแรกตั้งแต่เมื่อปี 2017 โดย Dailymail ได้รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ในเดือนมกราคม 2017 โดยอธิบายว่ามีผู้บันทึกภาพเหตุการณ์ที่ฝูงนกหลายพันตัวบินอยู่เหนือถนนในเมือง Houston ในสหรัฐอเมริกา  Source | Archive สรุป ข้อกล่าวอ้างว่าวิดีโอฝูงนกขนาดใหญ่บินทั่วท้องฟ้าข้างต้นเป็นเหตุการณ์ก่อนเกิดแผ่นดินไหวในตุรกีนั้นเป็นข้อมูลเท็จ โดยวิดีโอนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในตุรกีเมื่อสัปดาห์ก่อน และวิดีโอนั้นมาจากเหตุการณ์ในเมือง Houston […]

Continue Reading

รูปภาพสุนัขจากเว็บไซต์ภาพ ถูกนำมาแชร์ว่าเป็นสุนัขกู้ภัยจากไทย

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกี-ซีเรีย ถือเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ที่ทั้งโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากในสัปดาห์นี้ การค้นหาและกู้ภัยยังคงดำเนินไป โดยนอกจากทีมกู้ภัยในประเทศแล้ว ตุรกีและซีเรียยังได้รับความช่วยเหลือจากทีมกู้ภัยจากนานาประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยไทยได้ส่งทีม USAR Thailand รวมถึงสุนัขกู้ภัย Sierra และ Sahara เข้าร่วมปฏิบัติการค้นหา โดยเรื่องราวของสุนัขกู้ภัยทั้งสองตัวก็กลายเป็นไวรัลบนโซเชียล อย่างไรก็ตาม เราพบข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้คนได้ และได้ทำการตรวจสอบเรื่องราวดังกล่าวนี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่งได้โพสต์รูปสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ อยู่บนซากปรักหักพังหลังตึกถล่ม พร้อมข้อความบรรยายว่า “สุนัขจากไทย 2 ตัวนี้ ไปถึงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น สามารถช่วยชีวิตคนได้ 10 คนแล้ว #แผ่นดินไหวตุรกี” Source | Archive โดยผู้คนต่างเข้ามาให้กำลังใจและชื่นชมในโพสต์ดังกล่าว Archive อย่างไรก็ตาม ทางทีมงานพบว่าข้อกล่าวอ้างในโพสต์ดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเท็จ และสุนัขในภาพก็ไม่ใช่ K9 Sahara หรือ Sierra แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงานได้ตรวจสอบรูปภาพดังกล่าวโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และพบรูปภาพนี้ปรากฏในเว็บไซต์หลายแห่ง รวมถึงเว็บไซต์รูปภาพต่างๆ เช่น Stock Photo, Alarmy […]

Continue Reading

ฟุตเทจเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีตถูกนำมาแชร์ว่าเป็นภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกี-ซีเรียครั้งล่าสุด

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกี-ซีเรีย ถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ที่สุดในปีนี้ และยังเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในรอบศตวรรษ โดยล่าสุดมีรายงานยอดผู้เสียชีวิตจำนวนกว่า 15,000 คนแล้ว ทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับเหตุการณ์นี้เป็นอย่างมากและติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด และเราพบว่ามีคลิปวิดีโอหลายคลิปที่แพร่กระจายอยู่บนโซเชียลมีเดีย โดยระบุว่าเป็นภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกี-ซีเรียเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และนี่คือผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงจาก Fact Crescendo ฟุตเทจบนโซเชียล เพจเฟซบุ๊ก “ThaiTribune” ได้เผยแพร่คลิปดังกล่าวพร้อมคำบรรยาย: “ยอดตาย 1.2 หมื่นศพ!! 9 กุมภาพันธ์ 2566 ยอดผู้เสียชีวิต #แผ่นดินไหว มีการยืนยันยอดผู้เสียชีวิตในตุรกี 8,574 ราย บาดเจ็บเกือบ 50,000 คน และผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวในซีเรีย 2,662 ราย บาดเจ็บราว 5,000 คน รวมผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวใน 2 ประเทศ 11,236 ราย ถือว่าเป็น #ภัยพิบัติครั้งใหญ่มากๆ คนเสียชีวิตจำนวนมาก เนื่องจากเหตุเกิดเวลาตี 4 คนส่วนใหญ่กำลังหลับสนิท เมื่ออาคารถล่มลงมา ทำให้หนีไม่ทัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตุรเคีย และซีเรีย ทำงานกันใกล้ถึงขีดจำกัดแล้ว แม้จะมีทีมกู้ภัยจากนานาประเทศเข้าช่วยเหลือ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และทันต่อการค้นหาเพื่อช่วยชีวิตผู้คน ขณะที่ยังมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นระลอกๆ ประธานาธิบดีตุรเคียนายเรเซป เทย์ยิป […]

Continue Reading

คลิปสึนามิจากเมือง Durban ถูกแชร์ว่าเป็นสึนามิหลังแผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงขึ้นที่พื้นที่ตอนใต้ของประเทศตุรกี โดยแรงแผ่นดินไหวครั้งนี้นับว่าเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี โดยปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตในประเทศตุรกีและซีเรียไปแล้วมากกว่า 7,000 คน โดยทีมช่วยเหลือยังคงระดมหาผู้เสียหายเพิ่มเติมอยู่ และท่ามกลางข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่นี้ ก็มีข้อมูลผิดๆ ที่เผยแพร่บนโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้คนได้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอหนึ่ง พร้อมคำบรรยายวิดีโอว่า “แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย แถมสึนามิด้วย คลิปนี้เหมือนภูเก็ตเมื่อ 20 ปีเลย” Source | Archive โดยผู้ใช้ได้โพสต์วิดีโอเมื่อคืนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ตุรกี-ซีเรีย แต่เมื่อทีมงานตรวจสอบก็พบว่าวิดีโอดังกล่าวไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้แต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าตรงกับวิดีโอเหตุการณ์สึนามิที่เมือง Durban ประเทศแอฟริกาใต้เมื่อปี 2017 และเมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบว่าสถานที่ในวิดีโอตรงกับภาพของหาดในเมือง Durban จาก Google Maps Source | Archive นอกจากนี้ จากรายงานล่าสุดเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในตุรกี-ซีเรียครั้งนี้ แม้จะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันยังไม่มีรายงานถึงสึนามิในพื้นที่แถบใกล้เคียง นอกเหนือจากการเตือนภัยว่าอาจเกิดสึนามิในประเทศอื่นๆ เช่น อียิปต์และอิตาลี สรุป […]

Continue Reading