ข้อกล่าวอ้างว่าวัคซีน mRNA ทำให้เกิดแท่งสีขาวในร่างกาย “เป็นข้อมูลผิด”

ในปัจจุบัน ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียและสร้างความกังวลและความสับสนให้ผู้คนได้ โดยล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่าพบแท่งย้วยสีขาวในผู้รับวัคซีนโควิดชนิด mRNA โดยประเด็นดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ระบุว่า มีงานวิจัยค้นพบแท่งย้วยสีขาว (White clot) คล้ายหนวดปลาหมึก ทั้งจากคนที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตจากวัคซีนโควิด ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อมูลดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีการเผยแพร่จากสำนักข่าวต่างๆ (เช่น ที่นี่ และที่นี่) รวมถึงมีการแชร์ต่อบนแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร แถลงการณ์จากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงในกรณีลิ่มเลือดสีขาวและวัคซีนโควิดชนิด mRNA ระบุว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และระบุว่าสามารถพบสิ่งแปลกปลอมนี้ได้ในผู้ที่ยังมีชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในวงกว้าง สถาบันวัคซีนแห่งชาติและภาคีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญไม่ได้นิ่งนอนใจกับประเด็นกังวลดังกล่าว จึงได้ประสานไปยังแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ […]

Continue Reading

กระทรวงสาธารณสุขชี้แจง งานวิจัยว่าเข็มกระตุ้นเพิ่มความเสี่ยงติดโควิด ยังขาดความน่าเชื่อถือและใช้ในไทยไม่ได้

จากที่เพจ Center for Medical Genomics ได้แชร์งานวิจัยของ Dr. Nabin K Shrestha และทีมวิจัยแผนกโรคติดเชื้อจากคลีฟแลนด์คลินิก ที่แสดงผลวิจัยว่า ความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 กลับมีการแปรผันตรงตามจำนวนครั้งหรือโดสของการฉีดวัคซีน (mRNA) กล่าวคือ หากได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอจำนวนมากก่อนหน้านี้ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ก็จะยิ่งสูงขึ้น ผู้ที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ 3 โดสขึ้นไปจะมี “ความเสี่ยง” ในการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 6 เท่าเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยโพสต์ดังกล่าวก็ได้รับการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง รวมถึงมีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ต่างๆ อีกด้วย Source | Archive Fact Crescendo ได้ตรวจสอบบทความดังกล่าวและพบว่างานวิจัยที่มีการอ้างอิงในบทความนั้นเป็นงานวิจัยที่ยังไม่ได้รับตีพิมพ์และยังไม่ผ่านการตรวจสอบ และในงานวิจัยดังกล่าวยังระบุไว้ว่างานวิจัยชิ้นดังกล่าวเป็นผลการวิจัยที่ทำขึ้นใหม่ และยังไม่ได้มีการประเมินอย่างเป็นทางการ จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการรักษา แถลงการณ์จากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับบทความข้างต้นว่า ข้อมูลวิจัยจากสหรัฐฯ เรื่องรับวัคซีน mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโควิด-19 ยังขาดความน่าเชื่อถือ ยังไม่ถูกยอมรับให้เผยแพร่ ขาดการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านระบาดวิทยา พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันโรคที่มีผลต่อการติดเชื้อ ที่สำคัญไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการต่างกัน ย้ำฉีดวัคซีนอย่างน้อย 4 […]

Continue Reading