สรุปสาระสำคัญ ร่างกม. “สมรสเท่าเทียม”

วันที่ 21 ธันวาคม 2566 สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการร่างกฎหมาย “สมรสเท่าเทียม” ทั้ง 4 ฉบับ ที่ถูกเสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคต่าง ๆ และภาคประชาชน โดยมีจำนวนสมาชิกที่เห็นด้วยอย่างมากถึง 369 เสียง และไม่เห็นด้วย 10 เสียง งดออกเสียง 0 เสียง และไม่ลงคะแนนเสียง 1 เสียง นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในระบบกฎหมายสมรสในประเทศไทย โดยหลังจากนี้จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายในขั้นตอนถัดไป โดยร่างกฎหมายที่มีการยื่นเสนอในสภา ได้แก่ สรุปสาระสำคัญจากร่างกฎหมาย การหมั้น: ร่างของรัฐบาลและก้าวไกล ใช้ข้อความว่า “บุคคลทั้งสองฝ่าย ผู้หมั้น ผู้รับหมั้น” ส่วนของภาคประชาชน ไม่เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเดิม เนื่องจากสามารถสมรสได้โดยไม่ต้องหมั้น คำที่ระบุในกฎหมาย: ร่างทั้ง 4 ฉบับ กำหนดให้หลังจดทะเบียนแล้ว ใช้คำว่า “คู่สมรส” เหมือนกัน ซึ่งเปลี่ยนจากกฎหมายเดิมซึ่งระบุให้ใช้คำว่า “สามี-ภริยา” หรือ “คู่สมรส” อายุ: ร่างของภาคประชาชนและพรรคก้าวไกล ระบุว่าบุคคลสามารถสมรสได้เมื่อมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ส่วนของรัฐบาลระบุว่า […]

Continue Reading