เข้าใจการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเนื่องในวันสตรีสากล

เนื่องในวันสตรีสากลเราต้องการเน้นย้ำความสำคัญของการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและการบิดเบือนข้อมูลซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอย่างไม่เท่าเทียม การเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จในรูปแบบนี้ทำให้เกิดทัศนคติแบบเหมารวมซึ่งส่งผลเสียต่อหลายฝ่ายและเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความเท่าเทียมทางเพศที่ควรจะมี การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศคืออะไร? การบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ (Gendered disinformation) หมายถึง การจงใจเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือสร้างความเข้าใจผิดโดยมุ่งเป้าไปที่บุคคลหรือกลุ่มตามอัตลักษณ์ทางเพศ โดยคำนี้ยังใช้อธิบายถึงการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จ หรือทำให้เข้าใจผิดซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง โดยเฉพาะผู้นำทางการเมือง นักข่าว และบุคคลสาธารณะ โดยพิจารณาจากอัตลักษณ์ทางเพศของพวกเธอ ตัวอย่างของการบิดเบือนข้อมูลทางเพศอาจรวมถึงข่าวปลอมเกี่ยวกับผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นตัวละครหญิง มีมที่ไม่เหมาะสม หรือรูปภาพหรือวิดีโอที่นำเสนอผู้หญิงในแง่ลบ ตัวอย่างข่าวปลอมที่เกิดจากอคติทางเพศ: ภาพนางแบบถูกนำมาใช้แอบอ้างว่าเป็นภาพของ ไอซ์ รักชนก มีการเผยแพร่ภาพของผู้หญิงในชุดชั้นในพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพของรักชนก ส.ส. จากพรรคก้าวไกลบนโซเชียลมีเดีย โดยรักชนกได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวอ้างดังกล่าว พร้อมแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้ปล่อยข่าวเท็จ และนางแบบในภาพได้ออกมายืนยันว่าตนไม่มีความเกี่ยวข้องกับรักชนกแต่อย่างใด ตัวอย่างมีมที่มาจากอคติทางเพศ: Taylor Swift ออกมาต่อว่า Netflix และซีรีส์ Ginny & Georgia ที่มีการเล่นมุกเกี่ยวกับเธอที่เหยียดเพศหญิง ที่มา: The Standard POP การจัดการกับการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศทางออนไลน์ UNESCO ได้จัดการเสวนาระดับโลก เกี่ยวกับการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศทางออนไลน์ โดยมีเป้าหมายคือการพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อต่อต้านข้อมูลผิดๆ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้หญิง เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มขึ้นโซเชียลมีเดียทำให้การเข้าถึงการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศเพิ่มมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมสถานการณ์และทัศนคติการเหมารวมที่เป็นอันตราย ผลกระทบของการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วาทกรรมทางการเมืองมักจะมีความเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดและการบิดเบือนข้อมูลเนื่องจากอคติทางเพศบนโลกออนไลน์ […]

Continue Reading