ภาพไวรัล “โลมาสีชมพู” ไม่ใช่ภาพจริง

ภาพโลมาสีชมพู กำลังได้รับความสนใจในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ โดยมีการแชร์อย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย รวมทั้งมีผู้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับภาพโลมาดังกล่าวว่าเป็นภาพจริงหรือเป็นแค่ AI โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปโลมาสีชมพู พร้อมข้อความว่า “เป็นภาพที่หาดูได้ยากกับน้อง “โลมาสีชมพู”” โดยโพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง โดยมีการแชร์ต่อกว่าหนึ่งหมื่นครั้ง มีการกดถูกใจกว่าสองหมื่นครั้ง และการแสดงความคิดเห็นกว่าหนึ่งพันครั้ง และเรายังพบภาพชุดดังกล่าวแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook เป็นจำนวนมาก เช่น ที่นี่ และที่นี่ ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ภาพเดียวกันนังแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม X และมีผู้รับชมไปกว่าสามล้านครั้งอีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่ารูปภาพดังกล่าวไม่ใช่ภาพของโลมาสีชมพูของจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search เพื่อค้นหาที่มาของรูปภาพดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เราไม่พบแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือใดๆ ของรูปภาพนี้ และพบว่าไม่กี่วันก่อน ภาพชุดดังกล่าวมีการแชร์จากผู้ใช้ X (Twitter) ต่างชาติ พร้อมระบุว่าพบโลมาสีชมพูดังกล่าวในทะเลแถบนอร์ทแคโรไลนา เราจึงค้นหาข่าวการค้นพบโลมาสีชมพูที่แถบนอร์ทแคโรไลนา แต่ก็ไม่พบรายงานดังกล่าวจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือใดๆ นอกจากนี้ ตัวแทนของสำนักงานประมง รัฐนอร์ทแคโรไลนา ได้ยืนยันกับทางเว็บไซต์ Verify […]

Continue Reading

ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอ “เนื้อปลาปลอม”

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่กล่าวอ้างว่าให้ระวังเนื้อปลาปลอมในท้องตลาดที่ทำมาจากพลาสติก โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผ่านช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีวิดีโอที่อ้างว่าเป็นเนื้อปลาทำมาจากพลาสติก แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE โดยเราพบว่าวิดีโอดังกล่าวได้มีการแชร์อย่างกว้างขวางบน Facebook เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ส่งเบาะแสข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ คำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการตรวจสอบที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 2017 และเราได้พบลิงก์ถาวรของเว็บไซต์ Hoaxorfact.com ที่ได้ตรวจสอบวิดีโอดังกล่าว และอธิบายไว้ว่า ลักษณะเนื้อปลาแบบในวิดีโอดังกล่าว เกิดขึ้นจากอาการ Freezer Burn ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อสัตว์ถูกแช่แข็งและถูกทำให้ละลายเป็นจำนวนหลายครั้ง จึงทำให้เยื่อหุ้มเซลล์สลายและแห้งลง เนื้อสัมผัสตามธรรมชาติของเนื้อสัตว์จึงหายไป นอกจากนี้ เมื่อปลาอยู่ในห้องแช่เย็นนานเกินไป เนื้อปลาจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำดังในวิดีโอ และเมื่อเนื้อปลาแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานเกินไป จึงดูดซับน้ำไว้เหมือนกับฟองน้ำนั่นเอง ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร ได้อธิบายอาการ Freeze Burn ไว้ว่า เป็นความเสียหายของผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งเนื่องจากการสูญเสียความชื้นระหว่างการแช่เยือกแข็ง หรือระหว่างการเก็บรักษา เกิดเป็นรอยแห้งสีขาวหรือสีเหลืองอย่างชัดเจน เป็นตำหนิของผลิตภัณฑ์ (ที่มา) ศาสตราจารย์ ดร. วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

Continue Reading

ภาพไวรัล ‘Dark Zuckerberg’ เป็นภาพที่สร้างจาก AI ไม่ใช่บุคคลจริง

เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบภาพไวรัลของภาพชายผิวดำคนหนึ่งที่มีใบหน้าละม้ายคล้าย CEO ของ Facebook และเครือ Meta อย่าง Mark Zuckerberg เป็นอย่างมาก ซึ่งความเหมือนนี้ทำให้ภาพดังกล่าวการรับชมบนทวิตเตอร์ไปกว่าหลายล้านครั้ง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้ X (Twitter) รายหนึ่งได้แชร์ภาพชายผิวดำรายหนึ่งที่มีใบหน้าคล้ายกับ Mark Zuckerberg พร้อมคำบรรยายภาพว่า “Dark Zuckerberg” โดยภาพดังกล่าวมีการรับชมบนแพลตฟอร์มไปกว่า 15 ล้านครั้ง Source | Archive นอกจากนี้เรายังพบภาพดังกล่าวถูกแชร์บน Facebook ทั้งในบริบทภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราดำเนินการตรวจสอบภาพดังกล่าวโดยการใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search และเราพบว่ามีผู้ใช้ Reddit ที่ใช้ชื่อว่า “rare_gianpaolo” ได้โพสต์รูปเดียวกันลงบนเว็บไซต์ พร้อมคำบรรยายแปลได้ว่า “Mark Zuckerberg ที่มาจากไนจีเรีย” โดยกระทู้ดังกล่าวอยู่ในหมวดหมู่ ‘เนื้อหาที่สร้างโดย AI’ […]

Continue Reading

ตรวจสอบข้อเท็จจริงวัตถุคล้ายกิ่งไม้แต่ขยับได้ คืออะไรกันแน่?

เมื่อไม่นานมานี้ ผู้ใช้โซเชียลรายหนึ่งได้โพสต์วิดีโอกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ขยับได้เอง โดยผู้คนต่างมาแสดงความคิดเห็นและรับชมเป็นจำนวนมากจนเป็นกระแสไวรัล และมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับกิ่งไม้ปริศนานี้ในหลายๆ แพลตฟอร์มอีกด้วย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผู้ใช้ TikTok @smars990 ได้โพสต์วิดีโอกิ่งไม้ขนาดเล็กที่ขยับได้เอง โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสี่ล้านครั้ง และมีการกดถูกใจกว่าหนึ่งแสนห้าหมื่นครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยผู้ใช้ TikTok หลายรายได้แสดงความคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่าวัตถุในวิดีโอดังกล่าวไม่ใช่กิ่งไม้ แต่เป็นพยาธิแส้ม้า โดยวิดีโอดังกล่าวได้แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น Facebook อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยการใช้คำสำคัญต่างๆ ในการค้นหา เช่น “กิ่งไม้ขยับได้”, “พยาธิแส้ม้า” และพบบทความจากเพจ Facebook ของอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับรากไม้ในคลิปวิดีโอดังกล่าว ว่าไม่ใช่พยาธิแส้ม้า แต่เป็นพืชที่เรียกว่า “หญ้าเข็มนาฬิกา หรือ หญ้าหนวดฤๅษี (Spear Grass)” ลิงก์ถาวร หญ้าเข็มนาฬิกาคืออะไร? “หญ้าเข็มนาฬิกา” เป็นหญ้าชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นแขมและต้นอ้อ เป็นพืชท้องถิ่นที่มีชื่อเรียกหลากหลายไปตามท้องที่ ในแถบภาคเหนือเรียกหญ้าพุ่งชู้ บ้างเรียกเข็มพ่อหม้าย ขนตาช้าง หนวดฤๅษี […]

Continue Reading

ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอพื้นกระเบื้องระเบิดที่เป็นไวรัล

เมื่อไม่นานมานี้ ภาพวิดีโอจากกล้องวงจรปิดของพื้นกระเบื้องที่ระเบิดและแตกกระจายเอง ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากบนโซเชียลมีเดีย โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าหลายล้านครั้ง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้แพลตฟอร์ม X (Twitter) ได้โพสต์วิดีโอดังกล่าวพร้อมข้อความในโพสต์ว่า ”เกิดอะไรขึ้น ใครอธิบายได้บ้าง” ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่า 6 ล้านครั้ง นอกจากนี้เรายังพบว่าวิดีโอเดียวกันนี้แพร่กระจายในผู้ใช้ X ในต่างประเทศ (ลิงก์ถาวร) รวมถึงบนแพลตฟอร์ม TikTok ด้วยเช่นเดียวกัน (ลิงก์ถาวร) ตรวจสอบที่มาของวิดีโอ เราได้ดำเนินการตรวจสอบโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่าวิดีโอดังกล่าวมีที่มาจากกลุ่ม Facebook “Singapore Home DIY” โดยโพสต์ในวันที่ 8 ตุลาคม 2023 ซึ่งเป็นวันเดียวกับเวลาที่ระบุภายในฟุตเทจกล้องวงจรปิดดังกล่าว เจ้าของวิดีโอได้โพสต์คลิปพร้อมสอบถามสมาชิกในกลุ่มว่า “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ห้องนั่งเล่นบ้านผมเมื่อบ่ายวันนี้ คงจะซ่อมเองไม่ไหวใช่ไหมครับ? ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยสมาชิกในกลุ่มได้เข้ามาให้ความรู้และคำแนะนำมากมาย เช่น “แฟลตเมื่อ 30 ปีก่อนไม่มีปัญหาเรื่องพื้นระเบิดแบบนี้นัก แฟลตสมัยใหม่ใช้วัสดุคุณภาพลดลงมาก”, “คุณควรแจ้งไปทางหน่วยการเคหะแห่งชาติ (HDB) นะ”, […]

Continue Reading

ไขข้อสงสัย คลิปไวรัลติ๊กต็อก “เติมไก่ที่ KFC ฟรี” ทำได้จริงหรือไม่?

ติ๊กต็อกถือเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และเนื่องจากมีผู้ใช้จำนวนมหาศาล จึงสามารถพบเห็นข้อมูลเท็จแพร่กระจายอยู่เป็นระยะ เช่นในกรณีล่าสุดที่มีผู้ใช้ติ๊กต็อกอ้างว่า KFC มีนโยบายที่ลูกค้าสามารถสั่งไก่ทอดเพิ่มได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีวิดีโอติ๊กต็อกที่กำลังเป็นไวรัลจากผู้ใช้ติ๊กต็อกที่ใช้ชื่อว่า “itsallenferrell” ที่ได้แชร์ประสบการณ์ลองสั่งไก่ทอด 8 ชิ้นที่ KFC และขอเติมไก่ทอดเพิ่มฟรี ตามนโยบาย “Free Refill” ที่มีการอ้างถึงในช่วงต้นคลิป และพนักงานก็เติมไก่ให้เขาโดยไม่คิดเงินเพิ่มจริงๆ โดยเขาได้ระบุในวิดีโอดังกล่าวว่านโยบายนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อใช้ภายใน 60 นาทีหลังจากชำระเงิน และต้องนำใบเสร็จไปยืนยันก่อนสั่งเพิ่ม และใช้ได้เมื่อลูกค้ารับประทานอาหารในร้านเท่านั้น หากออกจากร้านไปแล้ว จะไม่สามารถใช้นโยบายนี้ได้ และวิดีโอนี้ก็ได้กลายเป็นไวรัลอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดมียอดรับชมไปกว่า 22 ล้านครั้งแล้ว Source | Archive เพราะข้อเสนอที่ดูคุ้มค่าน่าลอง จึงทำให้ทั้งคำค้นหา รวมถึงเทรนด์ “KFC Refill Policy” ก็ได้รับความสนใจในติ๊กต็อกอย่างรวดเร็ว และคำค้นหาว่า “KFC Refill Policy Thailand” ก็กลายเป็นคำค้นหาแนะนำในวิดีโอไวรัลดังกล่าวอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจอันล้มหลามของผู้ใช้งานชาวไทยต่อเทรนด์นี้ Archive แม้ว่าวิดีโอดังกล่าวจะดูเหมือนเป็นเรื่องจริง และทำให้หลายๆ คนอยากออกไปลองสั่งที่ KFC แต่อันที่จริงแล้ว KFC ไม่มีนโยบายเติมไก่ทอดให้ฟรีตามที่กล่าวอ้างในวิดีโอ ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการตรวจสอบวิดีโออื่นๆ […]

Continue Reading

วิดีโอ “ฝนหนอน” ที่กำลังเป็นไวรัล แท้จริงคืออะไรกันแน่?

วิดีโอหนึ่งจากประเทศจีนกำลังได้รับความสนใจอย่างมากในโซเชียลมีเดีย โดยในวิดีโอปรากฏภาพวัตถุลักษณะคล้ายหนอนตกลงมาทั่วพื้นและรถยนต์ที่จอดอยู่ในเมือง Liaoning ในประเทศจีน โดยถูกเรียกว่าปรากฏการณ์ “ฝนหนอน” และสร้างความประหลาดใจและชวนขนลุกให้กับชาวโซเชียลเป็นอย่างมาก ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 13 มีนาที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก “ข่าวชาวบ้าน – Thai TV Social” ได้แชร์ภาพวัตถุรูปร่างคล้านหนอนตกลงใส่รถยนต์และรอบๆ พื้นที่ใกล้เคียง พร้อมคำบรรยายภาพว่า “ขนลุก!! “ฝนหนอน” ตกลงมากระจายเกลื่อนหลังคารถ รู้ที่มาสยองหนัก..!!” Source | Archive เมื่อเราทำการค้นหาก็พบวิดีโอของปรากฏการณ์ดังกล่าวที่เป็นไวรัลทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยทวิตเดอร์ Insider Post ได้ลงวิดีโอดังกล่าวพร้อมบรรยายว่า “ชาวจีนต้องหาที่หลบภัย เพราะมีฝนตกลงมาเป็นหนอน (China citizens told to find shelter after it looked like it started to rain worms)” และมีการรับชมไปแล้วกว่า 12 ล้านครั้ง Source | Archive […]

Continue Reading