ภาพฟุตเทจเจ้าหน้าที่ กกต. กาบัตรเลือกตั้งเอง จริงหรือไม่?

ในช่วงก่อนเลือกตั้งและช่วงนับคะแนน ประชาชนต่างจับตากกต. หรือสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นพิเศษ โซเชียลต่างตั้งข้อสงสัยและแสดงความไม่พอใจกับวิธีการดำเนินการของกกต. ในช่วงที่ผ่านมา และล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลที่ระบุว่าเจ้าหน้าที่ของ กกต. กาบัตรเลือกตั้งจำนวนมากกันเอง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียโพสต์วิดีโอที่ระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของ กกต. กำลังกาบัตรเลือกตั้ง พร้อมคำบรรยายในโพสต์ว่า: “เจ้าหน้าที่กกต . โกงสนั่น กาแบบดุดันไม่เกรงใจใครเลยจร้าาา ช่วยด้วย ช่วยเผยแพร่คลิปนี้ ให้ถึงฝ่ายประชาธิปไตย ทุกคน รับคำสั่งใครมา ประชาชนเห็นนะ จากกล้องวงจรปิด เห็นหน้าชัดมากนะ ผมไปสืบประวัติ โดยใช้ AI ตรวจเจอหมดทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ กกต จริง” Source | Archive โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่าสองพันครั้ง รวมถึงมีการแชร์ต่อทั้งบนเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และติ๊กต็อก อย่างไรก็ตาม กกต. ได้ออกมาแถลงแล้วว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด กกต. ชี้แจง ในคลิปไม่ใช่บัตรเลือกตั้ง แต่เป็น “หน้าปกเล่มบัตรเลือกตั้ง” ในวันที่ 11 พฤษภาคม สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ชี้แจงบนเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของหน่วยงาน โดยระบุว่า […]

Continue Reading

กกต. ชี้แจง กรณีปากกาหมึกจาง “เป็นความเท็จทั้งสิ้น”

สุดสัปดาห์นี้ถือเป็นโค้งสุดท้ายสำหรับการเลือกตั้งครั้งใหญ่ ประชาชนต่างจับตาและตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความโปร่งใสของการเลือกตั้งครั้งนี้ และจากกระแสความไม่ไว้วางใจที่ประชาชนมีต่อ กกต. จึงมีการเชิญชวนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนำมาปากกามาเลือกตั้งเอง พร้อมข้อกล่าวอ้างว่า กกต. จะเตรียมปากกาแบบหมึกจางได้ไว้ให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใช้ในคูหา Archive นอกจากนี้ยังมีผู้โพสต์คลิปปากกาหมึกล่องหน ที่หมึกจะหายไปเองเมื่อใช้ความร้อน ทำให้ผู้ใช้โซเชียลหลายรายเกิดความคลางแคลงใจ และกล่าวว่าจะนำปากกาไปใช้เลือกตั้งเอง Archive Archive อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่า ไม่มีการใช้ปากกาลักษณะดังกล่าวในการเลือกตั้งแต่อย่างใด กกต. ยืนยัน ปากกาที่ใช้ในคูหาเลือกตั้งเป็นปากกาธรรมดา เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ชี้แจงบนเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการของหน่วยงาน ถึงกรณีดังกล่าวว่า ปากกาที่ใช้ในคูหาเลือกตั้งทุกหน่วยเลือกตั้ง เป็นปากกาลูกลื่นทั้งหมด โดยปากกาดังกล่าวไม่สามารถลบเลือนหรือจางหายไปได้เอง ดังนั้นปากกาที่ปรากฎเป็นข่าวจึงเป็นความเท็จทั้งสิ้น และยังเตือนว่าไม่ควรแชร์ต่อ เนื่องจากมีผู้แชร์หรือกดถูกใจข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ อย่างไรก็ตาม หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องการใช้ปากกาที่นำมาเอง ก็สามารถทำได้ อ่านข้อควรรู้และข้อห้ามก่อนและในวันเลือกตั้งที่นี่: #เลือกตั้ง66: รวมข้อควรรู้และข้อห้ามก่อนวันเลือกตั้ง  สรุป จากที่มีผู้ใช้โซเชียลเชิญชวนให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งนำปากกามาเลือกตั้งเอง พร้อมข้อกล่าวอ้างว่า กกต. จะเตรียมปากกาแบบหมึกจางได้เองไว้ให้ใช้ในคูหา ทาง กกต. ได้ออกมาแถลงยืนยันแล้วเป็นความเท็จทั้งสิ้น Title:กกต. ชี้แจง กรณีปากกาหมึกจาง […]

Continue Reading

#เลือกตั้ง66: “ห้าม” ถ่ายทอดสดตอนนับคะแนน จริงหรือไม่?

อีกเพียง 7 วัน ก็จะถึงวันเลือกตั้งใหญ่ปี 2566 แล้ว ในขณะที่ประชาชนเฝ้าจับตากระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งตั้งข้อกังขาในกระบวนการทำงานของ กกต. หลังพบเหตุการณ์ผิดพลาดต่างๆ (อ่านข่าวที่นี่) นอกจากนี้ เราพบข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่สร้างความเข้าใจผิดในวงกว้างแพร่กระจายตามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ใช้โซเชียลทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ต่างแชร์ข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า “กกต. ไม่อนุมัติให้มีการถ่ายทอดสดนับคะแนนแบบเรียลไทม์” Source | Archive โพสต์ดังกล่าวมีการแชร์ต่อกว่าสองพันครั้ง โดยผู้ใช้โซเชียลต่างมาแสดงความคิดเห็นประหลากใจและไม่พอใจเป็นจำนวนมาก โดยข้อความดังกล่าวเผยแพร่อย่างกว้างขวางทั้งบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ล่าสุดทวีตดังกล่าวมีการรับชมไปแล้วกว่าสองล้านครั้ง กกต. สั่งห้ามถ่ายทอดสดการนับคะแนนจริงหรือไม่ นายแสวง บุญมี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ชี้แจงว่า สามารถถ่ายภาพและวิดีโอบรรยากาศในคูหาเลือกตั้งขณะลงคะแนน (ภายนอกคูหา) และการนับคะแนนที่ใบขีดคะแนนได้ ตราบใดที่ไม่ไปรบกวนการทำงานของ กปน. รวมถึงสามารถทักท้วงการขีดคะแนน การขานคะแนน และการอ่านคะแนนได้ ที่มา: iLaw ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า กกต. ห้ามไม่ให้ถ่ายทอดสดการนับคะแนนแบบเรียลไทม์นั้น จึงไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ประชาชนได้ตั้งข้อสงสัยและแสดงความไม่พอใจในการทำงานของ กกต. หลังจากมีการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา จนเกิดแฮชแท็ก #กกตมีไว้ทำไม […]

Continue Reading

โซเชียลตั้งข้อสงสัย เลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ทำไมรหัสไปรษณีย์ไม่ตรงกับที่อยู่?

การเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ถือเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญ โดยจะเป็นเหตุการณ์ที่กำหนดทิศทางของประเทศไทยในอนาคต ดังนั้นการศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครในพื้นที่ รวมถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ก่อนวันเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากนี้ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือการตีความข้อมูลแบบผิดๆ บนโซเชียลมีเดียก็อาจสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล และล่าสุด เราพบข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการลงทะเบียนเลือกนอกราชอาณาจักรของคนไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา มีผู้ใช้เฟซบุ๊กได้โพสต์ภาพซองไปรษณีย์สำหรับส่งบัตรเลือกตั้งกลับประเทศไทย โพสต์ข้อความระบุว่ารหัสไปรษณีย์ที่อยู่ของตน ไม่ตรงกับรหัสที่หน้าซองไปรษณีย์ พร้อมตั้งคำถามถึงความโปร่งใสของ กกต. และระบบการเลือกตั้งครั้งนี้ โดยได้โพสต์ภาพซองไปรษณีย์ใส่บัตรเลือกตั้ง พร้อมโพสต์ข้อความว่า: “เป็นคนที่อยู่ต่างประเทศที่ได้สิทธิ์เลือกตั้งและอยากใช้สิทธิ์นะ แต่รู้สึกไม่อยากเลือกผู้แทนเขตตัวเองยังไงไม่รู้ ตะหงิดตั้งแต่รหัสไปรษณีย์แล้ว บ้านฉัน 57250 มาแต่ไหนแต่ไร เพิ่งมาเปลี่ยนตอนจะเลือกตั้งเรอะ ตอนแรกก็เฉยๆคิดว่าไม่มีอะไร แต่พอเห็นคลิปในติ๊กต้อก ถึงได้รีบมาเปิดดูของตัวเอง ถึงได้รู้ว่ารหัสไปรษณีย์ไม่ตรงกับเขตตัวเองและจังหวัดตัวเองเลย 57003 มายังไงก่อน เลขนี้ไม่แม้แต่จะมีในจังหวัดตัวเองเลยด้วยซ้ำ ไหงมาโผล่ที่บัตรเลือกตั้งฉันล่ะ เราคนนึงที่ยอมไม่เลือกผู้แทนเขตตัวเองเพราะกลัวการโกง แค่รหัสไปรษณีย์คุณยังให้เรามาผิด เราจะกล้าเชื่ออะไรคุณได้อะ ปล. ใครที่อยู่ต่างประเทศแล้วอยากใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ให้ดูดีๆนะว่าตรงตามเขตเราไหม แล้วคิดให้ดีๆนะว่าควรทำยังไง รบกวน กกต ช่วยตรวจสอบด้วยนะคะ #เลือกตั้ง2566” Source | Archive นอกจากนี้ ยังมีผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ออกมาทวีตแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับกรณีรหัสที่หน้าซองบัตรเลือกตั้งไม่ตรงกับรหัสไปรษณีย์ในที่อยู่ของตนเช่นเดียวกัน […]

Continue Reading