ชาวญี่ปุ่นปล่อยปลาคาร์พลงท่อน้ำ เพื่อช่วยรักษาความสะอาด จริงหรือไม่?

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์ข้อกล่าวอ้างที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสะอาดของคลองในญี่ปุ่น โดยระบุว่า ชาวญี่ปุ่นเทปลาลงไปในท่อน้ำทิ้ง เพื่อทำให้น้ำในคลองสะอาด พร้อมวิดีโอปลาคาร์พในลำคลองของเมืองในญี่ปุ่น โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม X รายหนึ่งได้แชร์ข้อความระบุว่า “”คนญี่ปุ่นเขาเทปลาลงไปแบบนี้ เพื่อไม่ให้คนอื่นๆ ทิ้งน้ำเสียลงคลอง ทำให้น้ำในคลองสะอาด แถมยังมีปลาสวยๆ งามๆ ให้ดูกันตลอดเวลา” พร้อมคลิปวิดีโอที่มีบุคคลเทปลาลงในท่อในทิ้ง และวิดีโอปลาคาร์พในคลองในประเทศญี่ปุ่น โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 1.6 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบวิดีโอพบว่า ช่วงต้นคลิปที่มีการเทปลาลงในท่อระบายน้ำนั้น ไม่ใช่ลูกปลาคาร์พ แต่เป็นปลาทอง โดยลูกปลาคาร์พเมื่อยังไม่โตเต็มวัยจะมีลักษณะแตกต่างจากในคลิปดังกล่าว ที่มา ความแตกต่างระหว่างปลาทองและปลาคาร์พ ปลาทอง: มีลำตัวสั้นและกลมกว่า โดยไม่มีหนวด (barbels) บนใบหน้า หากเป็นปลาทองที่พร้อมผสมพันธุ์ ตัวผู้จะมีตุ่มเล็กๆ (breeding tubercles) บริเวณฝาครอบเหงือก (operculum) และครีบอก (pectoral fins) ซึ่งตัวเมียจะไม่มี ปลาคาร์พ: มีหัวทรงสี่เหลี่ยมและลำตัวยาวเรียวกว่า บริเวณใต้ปากจะมีหนวดเด่นชัด (barbels) โดยทั่วไปมีสองคู่ อย่างไรก็ตาม […]

Continue Reading

นำอาหารค้างคืนมาอุ่นซ้ำเพื่อรับประทาน อันตรายเทียบเท่าสารหนู จริงหรือไม่?

ความปลอดภัยของการเก็บอาหารไว้ข้ามคืนเป็นประเด็นที่หลายคนกังวล เมื่อเร็วๆ นี้ มีคำกล่าวอ้างว่าอาหารบางประเภทอาจเป็นอันตรายเทียบเท่ากับสารหนู หากเก็บทิ้งไว้ข้ามคืนและนำมารับประทานใหม่โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook ระบุว่า มีอาหารบางประเภทที่เก็บไว้ข้ามคืนอาจมีอันตรายเทียบเท่าสารหนู ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริงเราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารแต่ละชนิดตามที่มีการกล่าวอ้าง และวิธีการจัดเก็บที่ถูกต้อง:ผักลวก: ผักลวกสามารถเก็บข้ามคืนได้อย่างปลอดภัย หากจัดเก็บอย่างเหมาะสม การลวกผักเป็นกระบวนการที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและหยุดการทำงานของเอนไซม์ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากลวกผักแล้ว ควรทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกันการเติบโตของแบคทีเรีย หากปล่อยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากแบคทีเรีย (ที่มา: University of Minnesota, Heritage Fine Foods)อาหารทะเลย่าง: อาหารทะเลย่าง ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับอาหารที่เน่าเสียได้ทั่วไป คือ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นภายใน 2 ชั่วโมงหลังปรุงสุก เพื่อลดความเสี่ยงในการเติบโตของแบคทีเรีย และหากจัดเก็บอย่างเหมาะสมก็สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย แต่หากปล่อยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากแบคทีเรียได้ (ที่มา: UNL Food)อาหารทอด: อาหารทอดสามารถเก็บข้ามคืนได้อย่างปลอดภัย หากปล่อยให้เย็นลงจนถึงอุณหภูมิห้องภายใน 2 ชั่วโมง และนำเข้าตู้เย็นทันที อย่างไรก็ตาม หากปล่อยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากแบคทีเรีย […]

Continue Reading

ข่าวและรูปภาพรถบัสโรงเรียนอนุบาลคว่ำ เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุรถบัสโรงเรียนอนุบาลประสบอุบัติตกเขา ซึ่งอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 23 ราย แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook โดยข่าวดังกล่าวได้สร้างความกังวลให้กับผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีโพสต์แพร่กระจายบน Facebook อ้างว่าเกิดอุบัติเหตุรถบัสที่บรรทุกเด็กนักเรียนอนุบาลตกเขา พร้อมแนบภาพที่แสดงให้เห็นสภาพรถที่พลิกคว่ำ โดยอ้างว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 23 ราย และอีก 13 รายยังช่วยเหลือไม่ได้ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ตรวจสอบแหล่งที่มาของภาพ: จากการตรวจสอบหาที่มาของรูปภาพโดยใช้เครื่องมือการค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) เราพบว่า รูปภาพรถบัสดังกล่าวมาจากอุบัติเหตุรถบัสพลิกคว่ำที่ประเทศเปรูเมื่อปีเดือนกรกฎาคม 2024 ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนถนนภูเขาในพื้นที่ห่างไกล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยจำนวน 25 ราย และมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 17 ราย อ่านเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้จากรายงานข่าวของ NBC ได้ที่นี่ รายงานข่าวในประเทศไทย: เราได้ตรวจสอบหารายงานข่าวจากแหล่งข่าวต่างๆ ที่เชื่อถือได้ในประเทศไทยเกี่ยวกับอุบัติเหตุรถบัสโรงเรียนอนุบาลพลิกคว่ำในช่วงเร็วๆ นี้ แต่ไม่พบรายงานว่ามีอุบัติเหตุรถบัสของนักเรียนอนุบาลพลิกคว่ำในประเทศไทยแต่อย่างใด นอกจากนี้ ยังไม่มีหลักฐานหรือรายงานที่ยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเมื่อเร็วๆ […]

Continue Reading

กรมควบคุมโรค ยืนยันข้อความ “งดเดินทางเนื่องจากไข้หวัดใหญ่ระบาด” ไม่เป็นความจริง

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อความเตือนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ โดยระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางและกิจกรรมที่ไม่จำเป็น พร้อมเสนอแนวทางป้องกัน เช่น การรักษาความชุ่มชื้นของเยื่อเมือกลำคอ การงดใช้ขนส่งสาธารณะ หลีกเลี่ยงอาหารทอดและรสจัด และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงมาตรการจำกัดการเดินทางไปยังบางประเทศและการเฝ้าระวังในบางจังหวัดของไทย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “กระทรวงสาธารณะสุขแจ้งเตือนว่า โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้มีความร้ายแรงมาก ขอให้งดการเดินทางและกิจกรรมทุกประเภทที่ไม่จำเป็น” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงข้อความที่ระบุว่า “สธ.เตือนไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้ มีความร้ายแรงมาก ขอให้งดเดินทางและกิจกรรมทุกประเภทที่ไม่จำเป็น” เป็นข้อมูลเท็จ โดยแม้ว่าการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ยังคงเกิดขึ้นในบางพื้นที่ แต่มาตรการป้องกันจากหน่วยงานสาธารณสุขไม่ได้รวมถึงข้อกำหนดห้ามเดินทาง หรือคำแนะนำเกี่ยวกับการดื่มน้ำเพื่อป้องกันการติดเชื้อแต่อย่างใด สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในไทย ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 17 กุมภาพันธ์ […]

Continue Reading

รู้ทันมิจฉาชีพ: กลโกง Sim Fruad ทำได้จริงหรือไม่?

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับกลการหลอกลวงแบบใหม่ที่เรียกว่า SIM SWAP โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสเกี่ยวกับกรณี “Sim Swap Fraud” ผ่านช่องทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา มีการแชร์ข้อความว่า มิจฉาชีพสามารถหลอกให้เหยื่อกดปุ่ม “1” บนโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้หมายเลขโทรศัพท์ถูกโอนไปยังซิมของมิจฉาชีพ ทำให้เหยื่อไม่สามารถใช้โทรศัพท์และไม่ได้รับการแจ้งเตือนธุรกรรมจากธนาคาร โดยข้อความดังกล่าวส่งต่อกันอย่างแพร่หลายผ่านช่องทาง LINE  นอกจากนี้ เรายังพบข้อความเดียวกันแพร่กระจายบน Facebook อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร  พบข้อมูลที่น่าสงสัย? ส่งให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ที่นี่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง SIM Swap Fraud คืออะไร? SIM Swap Fraud เป็นกลโกงที่มิจฉาชีพใช้เพื่อเข้าถึงบัญชีออนไลน์ของเหยื่อ โดยเฉพาะบัญชีธนาคารและโซเชียลมีเดีย วิธีการทำงานของกลโกงนี้คือ มิจฉาชีพจะย้ายหมายเลขโทรศัพท์ของเหยื่อไปยังซิมการ์ดใหม่ที่สามารถควบคุมได้ ทำให้สามารถรับข้อความยืนยันและรหัส OTP ที่ใช้สำหรับเข้าถึงบัญชีสำคัญได้ SIM Card คืออะไร และทำงานอย่างไร? SIM Card (Subscriber Identity Module) เป็นชิปที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้กับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถโทรออก ส่งข้อความ […]

Continue Reading

USAID ไม่ได้ให้เงินสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายเหตุการณ์ 9/11

เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานข่าวเกี่ยวกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เตรียมปิดองค์กร USAID (The United States Agency for International Development) ซึ่งเป็นองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ทำให้มีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับบทบาทของ USAID ในอดีต และมีข้อกล่าวอ้างต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนี้แพร่กระจายมากขึ้น รวมถึงข้อกล่าวอ้างที่ว่า USAID มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้เงินสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่ก่อเหตุโจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในเหตุการณ์ 9/11 ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบข้อกล่าวอ้างว่า องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) เป็นผู้ให้เงินสนับสนุนแก่กลุ่มอัลกออิดะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ก่อเหตุโจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในเหตุการณ์ 9/11 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ 9/11? จากรายงานของ คณะกรรมาธิการเหตุการณ์ 9/11 (The 9/11 Commission Report) ระบุว่า การโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 […]

Continue Reading

ระดับน้ำในเขื่อนลำตะคองลดลงเหลือ 19% จริงหรือไม่

สถานการณ์น้ำในเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา กำลังอยู่ในความสนใจของสาธารณชน เนื่องจากปริมาณน้ำใช้การได้ลดลงสร้างความกังวลต่อการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนี้ มีข้อความระบุว่าปัจจุบันน้ำในเขื่อนลดลงเหลือเพียง 19% ของความจุ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook โพสต์ข้อความระบุว่าชาวนาในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคองยังคงฝืนทำนาปรังกว่า 6,000 ไร่ โดยไม่สนคำเตือนของกรมชลประทาน แม้ว่าปริมาณน้ำใช้การในเขื่อนลำตะคองจะเหลือเพียง 19% ซึ่งต่ำกว่าทุกปีที่ผ่านมา ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด การตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมชลประทาน โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง สำนักงานชลประทานที่ 8 รายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ว่ามีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำประมาณ 78 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็น 25% ของความจุเก็บกัก โดยเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 55 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานได้ยืนยันว่าปริมาณน้ำดังกล่าวเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคตลอดช่วงฤดูแล้งปี 2567/68 แต่ได้ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคต (ที่มา: […]

Continue Reading

ภาพเหตุการณ์ที่อ้างว่าแรงงานเมียนมาในไทยออกมาประท้วงขอขึ้นค่าแรง ‘ชวนให้เข้าใจผิด’

เมื่อเร็วๆ นี้ มีรูปภาพแพร่กระจายพร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุการณ์ที่กลุ่มชาวเมียนมาในประเทศไทยได้ออกมาชุมนุมที่หน้าองค์การสหประชาชาติ (UN) ในกรุงเทพฯ เพื่อเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าแรงรายวัน โดยภาพและข้อความดังกล่าวได้มีการแชร์ต่ออย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook ได้โพสต์รูปการชุมนุมของกลุ่มชาวเมียนมา พร้อมข้อความระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่ “แรงงานพม่าในไทยออกมาเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลไทยขึ้นเงินค่าแรงต่อวันเป็นวันละ 700 บาท” โดยภาพและข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลาย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันบนแพลตฟอร์ม X อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการค้นหาโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ เราพบรูปภาพชุดดังกล่าวในเพจ Facebook ของ BBC Burmese โดยภายในโพสต์ได้ระบุที่มาของรูปภาพว่านำมาจากกลุ่มพันธมิตรชานม หรือ Milk Tea Alliance ซึ่งเป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่จากหลากหลายประเทศในเอเชีย อย่างไรก็ตาม ในโพสต์ของ BBC […]

Continue Reading

รูปแบบวันในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 เกิดขึ้นเพียงหนึ่งครั้งในรอบ 823 ปี จริงหรือไม่?

ในทุกๆ ปี มักจะมีโพสต์ในโซเชียลมีเดียที่แชร์ความเชื่อเกี่ยวกับจำนวนวันในปฏิทินที่ดูน่าทึ่ง และหนึ่งในโพสต์เหล่านั้นก็คือข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่ารูปแบบวันที่ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่จะเกิดขึ้นเพียงแค่หนึ่งครั้งในรอบ 823 ปี ซึ่งมีการแชร์อย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้แชร์ข้อความว่าในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2025 จะมีวันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ อย่างละ 4 ครั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงหนึ่งครั้งในรอบ 823 ปี ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในเดือนกุมภาพันธ์ ทุกวันในสัปดาห์จะเกิดขึ้น 4 ครั้งในเดือนนี้ในปี 2025 ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 วัน การอ้างว่ารูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวใน 823 ปีนั้นจึงไม่เป็นความจริง ปฏิทินเดือนกุมภาพันธ์ 2025 เนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันในทุกปี ยกเว้นปีอธิกสุรทินที่มี 29 วัน ดังนั้นในปีปกติ แต่ละวันในสัปดาห์จะเกิดขึ้น 4 […]

Continue Reading