วิดีโอไวรัล ไม่ใช่ “เหลนของสมาชิกวง Bee Gees” ตามข้อกล่าวอ้าง

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอหนึ่งที่อ้างว่าเป็น “เหลนของวง Bee Gees” ร้องเพลง How Deep Is Your Love? ของวง Bee Gees ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีความคิดเห็นหลากหลายตั้งแต่การชื่นชมไปจนถึงการตั้งข้อสงสัย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “แฝดสี่รุ่นเหลน ร้องเพลง Bee Gees” โดยมีการรับชมบนแพลตฟอร์ม TikTok ไปกว่าหนึ่งล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มต้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าผู้ที่แสดงในวิดีโอนี้คือ Ky Baldwin นักร้องและนักแสดงชาวออสเตรเลีย ซึ่งเขาเป็นผู้สร้างวิดีโอนี้ขึ้นมาเอง โดยใช้เทคนิคพิเศษ (Special Effects) ทำให้ดูเหมือนมีตัวเขาหลายคนร่วมแสดงพร้อมกัน Ky Baldwin เป็นที่รู้จักในเรื่องการสร้างวิดีโอในลักษณะนี้มาก่อน ตัวอย่างเช่น ในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 เขาเคยทำวิดีโอคัฟเวอร์เพลง I Want It That Way ของวง Backstreet Boys […]

Continue Reading

จดหมายไวรัลที่อ้างว่าเป็นข้อความจาก ปธน. เม็กซิโก ถึงทรัมป์และมัสก์ เป็นของปลอม

เมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่าเป็นจดหมายจากประธานาธิบดีเม็กซิโก คลอเดีย เซนบาม (Claudia Sheinbaum) ที่ส่งถึงโดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ เกี่ยวกับนโยบายสร้างกำแพงชายแดน จดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเสียดสีเกี่ยวกับภูมิประเทศของสหรัฐฯ และยังขู่ถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในระดับโลก จนกลายเป็นกระแสไวรัลบนแพลตฟอร์มต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จดหมายไวรัลฉบับนี้เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ช่วงต้นปี 2025 โดยอ้างว่าเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีเซนบาม เพื่อตอบโต้นโยบายใหม่เรื่องชายแดนของทรัมป์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 จดหมายดังกล่าวกล่าวถึงโครงการสร้างกำแพงกั้นพรมแดน พร้อมอ้างว่าอีลอน มัสก์ มีส่วนร่วมในโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลของทรัมป์ พร้อมทั้งอธิบายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา และลงท้ายด้วยชื่อของประธานาธิบดีเม็กซิโกที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2024 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเรา พบว่าไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการใด ๆ ที่แสดงว่า คลอเดีย เซนบาม เขียนหรือส่งจดหมายฉบับนี้ถึงทรัมป์และมัสก์ในปี 2025 แต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของเซนบาม เว็บไซต์รัฐบาลเม็กซิโก รวมถึงบันทึกคำแถลงข่าวรายวันระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 ก็ไม่ปรากฏข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจดหมายฉบับดังกล่าวเลย ที่มาของข้อความ […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวที่เมียนมา แท้จริงแล้วที่สร้างด้วย AI

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอที่อ้างว่าแสดงถึงภาพเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศเมียนมาร์ได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยวิดีโอดังกล่าวแสดงภาพที่ถ่ายจากมุมสูง เผยให้เห็นเจดีย์สององค์ที่อยู่ท่ามกลางซากปรักหักพัง รายล้อมด้วยอาคารที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนสองสาย โดยวิดีโอดังกล่าวได้รับความสนใจและถูกแชร์ออกไปพร้อมข้อความแสดงความเสียใจและความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้แชร์วิดีโอที่อ้างว่าแสดงให้เห็นความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมียนมาร์ คลิปวิดีโอพร้อมภาพจากวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดีย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบหลายประเด็นที่บ่งชี้ว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ได้มาจากเหตุการณ์จริง ดังนี้ ความไม่สอดคล้องทางภูมิศาสตร์ วิดีโอมีภาพเจดีย์สององค์ที่มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมยุคพุกาม แต่เมืองที่ได้รับผลกระทบหลักจากแผ่นดินไหวอย่างสะกายและมัณฑะเลย์ ไม่มีเจดีย์ลักษณะนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองแบบที่ปรากฏในวิดีโอ ส่วนเมืองพุกามซึ่งมีชื่อเสียงด้านเจดีย์โบราณจำนวนมากนั้น ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนัก นอกจากนี้ ฉากหลังในวิดีโอก็ไม่ตรงกับภูมิทัศน์ของพุกาม วิดีโอเหตุการณ์เปรียบเทียบจาก INQUIRER.net ของเจดีย์ในมัณฑะเลย์หลังแผ่นดินไหว ไม่มีการรายงานจากสื่อท้องถิ่น จากการตรวจสอบ เราไม่พบวสำนักข่าวที่เชื่อถือได้ในภาษาพม่าที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ใช้วิดีโอนี้ในการรายงานแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นอีกเบาะแสว่าต้องมีการตรวจสอบที่มาของวิดีโอนี้เพิ่มเติม สัญญาณของการใช้ AI การวิเคราะห์ภาพ: เราใช้เครื่องมือวิเคราะห์และตรวจจับภาพที่สร้างโดยใช้ AI ตรวจสอบคีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และได้ผลลัพธ์ว่าวิดีโอนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกสร้างขึ้นด้วย AI ที่มา: Was it AI? ความยาวของวิดีโอ: วิดีโอยาวเพียง 6 วินาที […]

Continue Reading

ชาวญี่ปุ่นปล่อยปลาคาร์พลงท่อน้ำ เพื่อช่วยรักษาความสะอาด จริงหรือไม่?

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์ข้อกล่าวอ้างที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสะอาดของคลองในญี่ปุ่น โดยระบุว่า ชาวญี่ปุ่นเทปลาลงไปในท่อน้ำทิ้ง เพื่อทำให้น้ำในคลองสะอาด พร้อมวิดีโอปลาคาร์พในลำคลองของเมืองในญี่ปุ่น โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้บนแพลตฟอร์ม X รายหนึ่งได้แชร์ข้อความระบุว่า “”คนญี่ปุ่นเขาเทปลาลงไปแบบนี้ เพื่อไม่ให้คนอื่นๆ ทิ้งน้ำเสียลงคลอง ทำให้น้ำในคลองสะอาด แถมยังมีปลาสวยๆ งามๆ ให้ดูกันตลอดเวลา” พร้อมคลิปวิดีโอที่มีบุคคลเทปลาลงในท่อในทิ้ง และวิดีโอปลาคาร์พในคลองในประเทศญี่ปุ่น โดยล่าสุดวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 1.6 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบวิดีโอพบว่า ช่วงต้นคลิปที่มีการเทปลาลงในท่อระบายน้ำนั้น ไม่ใช่ลูกปลาคาร์พ แต่เป็นปลาทอง โดยลูกปลาคาร์พเมื่อยังไม่โตเต็มวัยจะมีลักษณะแตกต่างจากในคลิปดังกล่าว ที่มา ความแตกต่างระหว่างปลาทองและปลาคาร์พ ปลาทอง: มีลำตัวสั้นและกลมกว่า โดยไม่มีหนวด (barbels) บนใบหน้า หากเป็นปลาทองที่พร้อมผสมพันธุ์ ตัวผู้จะมีตุ่มเล็กๆ (breeding tubercles) บริเวณฝาครอบเหงือก (operculum) และครีบอก (pectoral fins) ซึ่งตัวเมียจะไม่มี ปลาคาร์พ: มีหัวทรงสี่เหลี่ยมและลำตัวยาวเรียวกว่า บริเวณใต้ปากจะมีหนวดเด่นชัด (barbels) โดยทั่วไปมีสองคู่ อย่างไรก็ตาม […]

Continue Reading

SCAM ALERT: โพสต์ปลอมแอบอ้างเครื่องสำอางแบรนด์เนมลดราคา เนื่องจากประเด็นของคิมซูฮยอน

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่อ้างว่าแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกอย่าง SK-II และ YSL (Yves Saint Laurent) ลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ถึง 70-80% โดยให้เหตุผลว่าเป็นการขอโทษลูกค้าและฟื้นฟูภาพลักษณ์ หลังจากยกเลิกสัญญากับนักแสดงชื่อดังชาวเกาหลีใต้ คิมซูฮยอน (Kim Soo Hyun) อันเนื่องมาจากประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอดีต ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีโพสต์ Facebook ต่างๆ ที่ระบุว่าแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังต่างๆ ทั้ง SK-II, YSL และ Dior ได้ออกมาประกาศยกเลิกสัญญากับนักแสดงชายชาวเกาหลีใต้ คิมซูฮยอน พร้อมแสดงความรับผิดชอบโดยการลดราคาสินค้ากว่า 70-80% ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ประเด็นอื้อฉาวของคิมซูฮยอนและการยกเลิกสัญญากับแบรนด์ จากข้อมูลที่เผยแพร่ในสื่อและโพสต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ระบุว่า คิมซูฮยอนเผชิญข้อกล่าวหาจากครอบครัวของคิมแซรนว่านักแสดงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่เธอยังเป็นผู้เยาว์ รวมถึงข้อพิพาทเรื่องเงินและการทำงาน ซึ่งส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ เช่น Prada ออกแถลงการณ์ยุติความสัมพันธ์กับนักแสดงรายดังกล่าวในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2025 (ที่มา) จากการตรวจสอบข้อมูล ปัจจุบันคิมซูฮยอนไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์หรือพรีเซนเตอร์ให้กับ SK-II หรือ Yves Saint […]

Continue Reading

USAID ไม่ได้ให้เงินสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายเหตุการณ์ 9/11

เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานข่าวเกี่ยวกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เตรียมปิดองค์กร USAID (The United States Agency for International Development) ซึ่งเป็นองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ทำให้มีการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับบทบาทของ USAID ในอดีต และมีข้อกล่าวอ้างต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนี้แพร่กระจายมากขึ้น รวมถึงข้อกล่าวอ้างที่ว่า USAID มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้เงินสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่ก่อเหตุโจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในเหตุการณ์ 9/11 ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ เราพบข้อกล่าวอ้างว่า องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) เป็นผู้ให้เงินสนับสนุนแก่กลุ่มอัลกออิดะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ก่อเหตุโจมตีตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในเหตุการณ์ 9/11 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ใครเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ 9/11? จากรายงานของ คณะกรรมาธิการเหตุการณ์ 9/11 (The 9/11 Commission Report) ระบุว่า การโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 […]

Continue Reading

ภาพบ้านที่รอดจากไฟไหม้ในแอลเอ แท้จริงเป็นภาพจาก AI

ท่ามกลางเหตุการณ์ไฟป่าลุกลามในลอสแองเจสิส เมื่อเร็วๆ นี้ มีรูปภาพบ้านหลังหนึ่งที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบ้านหลังอื่นๆ ในบริเวณโดยรอบที่ถูกไฟไหม้ ที่เป็นไวรัลและได้รับการแชร์ต่ออย่างรวดเร็ว พร้อมข้อความว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ไฟป่าในลอสแองเจลิสที่ผ่านมา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์รูปภาพบ้านหลังดังกล่าว พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นรูปภาพหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ในแอลเอ โดยบางส่วนก็ตั้งคำถามถึงวัสดุที่บ้านหลังกล่าวใช้ แต่ก็มีบางส่วนที่ตั้งข้อสงสัยว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพจากเหตุการณ์จริงหรือไม่ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวยังมีการแชร์ต่อบนแพลตฟอร์ม X โดยมีผู้รับชมไปแล้วกว่าสองล้านครั้ง (ดูโพสต์ที่นี่ | ลิงก์ถาวร) ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ตรวจสอบหาที่มาของรูปภาพดังกล่าวโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่ารูปดังกล่าวเป็นรูปภาพที่สร้างขึ้นโดยใช้ Google AI โดยภาพที่สร้างขึ้นโดยใช้ Google AI นั้น จะมีลายน้ำดิจิทัลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจจับได้ด้วยระบบ SynthID ของ Google SynthID เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มลายน้ำดิจิทัลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าลงในพิกเซลของภาพหรือในแต่ละเฟรมของวิดีโอที่สร้างโดย AI ลายน้ำนี้ช่วยระบุว่าภาพหรือวิดีโอดังกล่าวสร้างขึ้นโดยเครื่องมือ AI ของ Google นอกจากนี้ SynthID ยังสามารถสแกนภาพหรือเฟรมในวิดีโอเพื่อตรวจจับลายน้ำดิจิทัลดังกล่าวได้ และผู้ใช้งานสามารถใช้ฟีเจอร์ “About this […]

Continue Reading

จีนจะขาย TikTok ให้กับสหรัฐฯ หรือไม่? รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ TikTok ในสหรัฐฯ

TikTok เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ที่ใช้แอปนี้เพื่อสร้างสรรค์และแชร์คลิปวิดีโอสั้นๆ ในรูปแบบใหม่ๆ มากมาย TikTok มีผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกานับสิบล้านคน และได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับผู้สร้างคอนเทนต์ในการหารายได้ หาฐานผู้ติดตาม และสร้างอิทธิพลทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ความนิยมของ TikTok ในสหรัฐฯ กลับมาพร้อมกับความขัดแย้ง เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ มีความกังวลด้านความมั่นคงของประเทศ เพราะแอปนี้เป็นของบริษัท ByteDance ที่มีฐานอยู่ในจีน โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายเกี่ยวกับคำสั่งปิด TikTok ของรัฐบาลสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้หลายรายที่ระบุว่าจีนพิจารณาขายกิจการ TikTok ในสหรัฐฯ ให้กับ Elon Musk อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง  ประวัติความเป็นมาของ TikTok และบริษัท ByteDance TikTok เปิดตัวในปี 2016 โดยบริษัท ByteDance ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดย Zhang Yiming ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน TikTok […]

Continue Reading

ซีรีส์ “Squid Game” ไม่ได้สร้างจากเหตุการณ์จริงตามข้อความไวรัลบนโซเชียล

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา Netflix ได้ปล่อยภาคต่อของซีรีส์เกาหลียอดนิยมที่กลายเป็นไวรัลทั่วโลกเมื่อปี 2021 อย่าง Squid Game ออกมา โดยหลังจากซีซั่นที่ 2 เปิดให้รับชม ก็มีข้อความไวรัลบนโซเชียลมีเดียอ้างว่า Squid Game นั้นสร้างมาจากเหตุการณ์จริง โดยอ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ในปี 1986 ที่มีผู้คนถูกจับเป็นตัวประกันและถูกบังคับให้เล่นเกมที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า ซีรีส์ Squid Game สร้างจากเหตุการณ์จริงในปี 1986 เหตุการณ์จริงเกิดขึ้นในบังเกอร์แห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ โดยผู้คนถูกจับเป็นตัวประกันและต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อให้อยู่รอด พร้อมอ้างว่าซีรีส์ดังเรื่องนี้มีแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์นี้ พร้อมภาพสถานที่ที่อ้างว่าเป็นภาพสถานที่จริงของเหตุการณ์ดังกล่าว ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่มาของซีรีส์ Squid Game: Hwang Dong-hyuk ผู้กำกับซีรีส์ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าแรงบันดาลใจในการสร้าง Squid Game มาจากความยากลำบากในชีวิตส่วนตัวของเขาและการสังเกตเห็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ นอกจากนี้ เขายังได้รับอิทธิพลจากผลงานแนวดิสโทเปียของญี่ปุ่น เช่น Battle […]

Continue Reading

ป้าย Hollywood ในแอลเอ ไม่ได้ถูกไฟไหม้ตามภาพไวรัล

เมื่อไม่นานมานี้ ไฟป่าได้ลุกลามไปทั่วบริเวณกว้างของนคร ลอส แองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยท่ามกลางเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ มีข่าวลือแพร่สะพัดว่าป้ายฮอลลีวูด สัญลักษณ์ของเมืองแอลเอถูกไฟไหม้ สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั่วโลก ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ภาพป้ายฮอลลีวูดอันถูกเปลวไฟปกคลุมได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอย่างกล้างขวาง หลังจากไฟป่าครั้งใหญ่ได้ทำลายบ้านเรือนและย่านที่อยู่อาศัยหลายแห่งในลอสแองเจลิส พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าป้ายนี้ถูกไฟไหม้ระหว่างเหตุการณ์ไฟป่าในลอสแองเจลิส ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้เริ่มต้นตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการใช้การฟีเจอร์การค้นหาภาพย้อนกลับ ซึ่งนำไปสู่ข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนี้ โพสต์บน X จากบัญชี raw_reporting เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา ระบุว่าข่าวลือที่ว่าป้ายฮอลลีวูดถูกไฟไหม้นั้นเป็นเท็จ โดยเผยว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นอยู่ห่างจากป้ายสัญลักษณ์นี้ถึง 2.3 ไมล์ ลิงก์ถาวร และเมื่อตรวจสอบเพิ่มเติมโดยการใช้โปรแกรมตรวจจับรูปภาพ AI ก็พบว่ารูปภาพดังกล่าวมีแนวโน้มจะสร้างด้วย AI Source: HiveModeration และเราพบว่าภาพป้ายฮอลลีวูดไฟไหม้อีกภาพที่เป็นไวรัล เป็นภาพที่สร้างโดย Grok ซึ่งเป็น AI บนแพลตฟอร์ม X โดยพบลายน้ำที่มุมด้านล่างของภาพ นอกจากนี้ บัญชี @rawsalerts บน X ก็ได้ยืนยันว่า […]

Continue Reading