โบท็อกซ์ช่วยรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมได้จริงหรือไม่

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การฉีดโบท็อกซ์เพื่อบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมได้รับความสนใจอย่างมาก  โดยมีผู้ใช้ออนไลน์แชร์ประสบการณ์การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นจำนวนมาก แม้ว่าการฉีดโบท็อกซ์จะเป็นที่รู้จักในด้านความงามมาอย่างยาวนาน แต่การนำมาประยุกต์ใช้เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยจากการทำงานนั้นเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ต้องเผชิญกับปัญหาปวดเมื่อยเรื้อรัง บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้โบท็อกซ์ในการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจให้แก่ผู้ที่สนใจในวิธีการรักษานี้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โบท็อกซ์เพื่อรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม โดยมีทั้งการแนะนำ รวมถึงการเตือนถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร? ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มของความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน มักพบในผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ภาวะนี้ส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง อาการตึง และเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณคอ ไหล่ และหลัง สาเหตุหลักมาจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และการจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ออฟฟิศซินโดรมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในหมู่พนักงานออฟฟิศ โบท็อกซ์ช่วยบรรเทาออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไร? โบท็อกซ์ หรือสารโบทูลินัมท็อกซิน เอ (Botulinum Toxin A) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยทำหน้าที่ยับยั้งสัญญาณประสาทที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัวชั่วคราว เมื่อฉีดโบท็อกซ์ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากออฟฟิศซินโดรม จะช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ บรรเทาความตึงเครียด และช่วยลดอาการปวดได้ นอกจากนี้ โบท็อกซ์ยังช่วยป้องกันการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบสามารถฟื้นตัวได้ ลดการอักเสบ […]

Continue Reading

ผู้ถือสิทธิ์ประกันสังคมสามารถรับการตรวจมะเร็งฟรีโดยใช้เพียงบัตรประชาชน จริงหรือไม่?

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีข้อมูลเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ระบุว่า ผู้ถือสิทธิ์ประกันสังคมสามารถเข้ารับการตรวจมะเร็งได้ฟรีที่โรงพยาบาลทุกแห่ง โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว โดยข้อมูลดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่า ข้อมูลดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนบางส่วน ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากข้อมูลของสำนักงานประสังคม กระทรวงแรงงาน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม โดยเฉพาะมาตรา 33 และ 39 สามารถรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจริง อย่างไรก็ตาม การเข้ารับบริการจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข และเข้ารับการตรวจในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการของสำนักงานประกันสังคม เท่านั้น เกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจคัดกรองมะเร็ง: สิทธิ์ตรวจสุขภาพฟรี 14 รายการ สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39: นอกจากการตรวจคัดกรองมะเร็งแล้ว ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ยังมีสิทธิ์ตรวจสุขภาพฟรี 14 รายการ จากสำนักงานประกันสังคม โดยไม่ต้องรอเฉพาะวันที่ 14 ของเดือน สามารถเข้ารับการตรวจได้ตลอดปี ตามสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 14 รายการตรวจสุขภาพฟรี: โดยมีผู้สิทธิ์สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่สถานพยาบาลรัฐบาลและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลที่เข้าร่วมได้ที่นี่ และควรโทรสอบถามสถานพยาบาลล่วงหน้า […]

Continue Reading

เตือนภัย: เพจปลอมแอบอ้างว่าแจกต้นไม้ฟรี เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัว

ในยุคที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การหลอกลวงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ก็พัฒนาและซับซ้อนมากขึ้น และเมื่อเร็วๆ นี้ เราพบว่ามิจฉาชีพในรูปแบบใหม่ ใช้วิธีการสร้างเพจปลอมที่อ้างว่าแจกต้นไม้ฟรี เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อหลงเชื่อและแอดไลน์เพื่อดึงข้อมูลส่วนตัว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผู้ใช้ผ่านทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา เกี่ยวกับเพจที่กล่าวอ้างว่าแจกต้นไม้ฟรีให้กับผู้ที่สนใจ โดยเมื่อเราตรวจสอบเพิ่มเติม ก็พบว่ามีผู้ใช้หลายรายที่ออกมาเตือนภัยเกี่ยวกับเพจดังกล่าวเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมของเพจดังกล่าว โดยเมื่อดูในส่วน “ความโปร่งใสของเพจ” จะเห็นว่าเพจดังกล่าวผู้ดูแลเพจส่วนใหญ่จะอยู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกสัญญาณเตือนที่ชัดเจนว่าอาจเป็นเพจหลอกลวง นอกจากนี้ เราพบว่าเพจดังกล่าวใช้ที่อยู่ปลอมในส่วนข้อมูลบนเพจ โดยเมื่อเราค้นหาที่อยู่ตามที่ระบุในเพจแล้วพบว่า เป็นที่อยู่ของ สำนักนิติการ กรมวิชาการเกษตร เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เราใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพย้อนกลับ (Reverse Image Search) เพื่อหาที่มาของรูปภาพต้นไม้ในเพจดังกล่าว และพบว่าที่มาของรูปภาพมาจากเพจร้านต้นไม้ “เบี้ยไม้ พันธุ์ไม้ราคาถูก” โดยมีการโพสต์รูปนี้ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม ปี 2567 (ลิงก์ถาวร) ทีม Fact Crescendo ได้ติดต่อเพื่อสอบถามร้านต้นไม้ดังกล่าว และทางร้านยืนยันว่าเป็นผู้ถ่ายภาพดังกล่าวเอง แต่เพจที่แอบอ้างนั้นไม่ใช่เพจของทางร้านแต่อย่างใด รูปแบบของการหลอกลวงของเพจปลอม สร้างเพจปลอมที่ดูน่าเชื่อถือ: ใช้ชื่อและโลโก้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติหรือการปลูกต้นไม้ […]

Continue Reading

จีนจะขาย TikTok ให้กับสหรัฐฯ หรือไม่? รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ TikTok ในสหรัฐฯ

TikTok เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ที่ใช้แอปนี้เพื่อสร้างสรรค์และแชร์คลิปวิดีโอสั้นๆ ในรูปแบบใหม่ๆ มากมาย TikTok มีผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกานับสิบล้านคน และได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับผู้สร้างคอนเทนต์ในการหารายได้ หาฐานผู้ติดตาม และสร้างอิทธิพลทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ความนิยมของ TikTok ในสหรัฐฯ กลับมาพร้อมกับความขัดแย้ง เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ มีความกังวลด้านความมั่นคงของประเทศ เพราะแอปนี้เป็นของบริษัท ByteDance ที่มีฐานอยู่ในจีน โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายเกี่ยวกับคำสั่งปิด TikTok ของรัฐบาลสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้หลายรายที่ระบุว่าจีนพิจารณาขายกิจการ TikTok ในสหรัฐฯ ให้กับ Elon Musk อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง  ประวัติความเป็นมาของ TikTok และบริษัท ByteDance TikTok เปิดตัวในปี 2016 โดยบริษัท ByteDance ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดย Zhang Yiming ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน TikTok […]

Continue Reading

Fact Crescendo Thailand 2024 Recap: รวบรวมบทความตรวจสอบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจตลอดปี 2024

ในโลกยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับข้อมูลที่บิดเบือนยังคงเป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นทำมาตลอดปี 2024 โดยบทความนี้ เราได้รวบรวมประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ทีม Fact Crescendo Thailand ได้ตรวจสอบในปี 2024 ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ กลโกงออนไลน์ และข่าวต่างประเทศที่เป็นไวรัลบนโซเชียลมีเดีย หมวดสุขภาพ ในปี 2024 ทีม Fact Crescendo Thailand ได้ตรวจสอบข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพหลายประเด็น ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดและอาจส่งผลต่อการตัดสินใจด้านสุขภาพของประชาชน หนึ่งในหัวข้อสำคัญในช่วงต้นปีที่ผ่านมาคือเรื่องโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่อย่าง JN.1 โดยเราได้เผยแพร่บทความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรง อาการ และวิธีป้องกัน เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าใจและเตรียมตัวรับมือโรคระบาดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบข้อกล่าวอ้างที่เชื่อมโยงวัคซีน mRNA กับ การเกิดลิ่มเลือดสีขาว ซึ่งข้อเท็จจริงชี้ว่าไม่มีหลักฐานยืนยันความเชื่อมโยงดังกล่าว อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจคือความเชื่อด้านสุขภาพที่มีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนโซเชียล เช่น การอ้างว่า การถือของหนักหรือสะพายกระเป๋าหนัก อาจนำไปสู่การเป็นโรคกระดูกสันหลังคด และข้อกล่าวอ้างที่ว่า การสระผมก่อนอาบน้ำอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตก หรือข้อความที่อ้างว่า การรับประทานเมล็ดมะละกอสามารถรักษามะเร็งได้ ล้วนเป็นข้อมูลที่ขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ในด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ยังมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าสามารถป้องกันรังสี EMF ได้ ซึ่งพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพจริง เช่นเดียวกับข่าวลือเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนโควิด-19 กับ การระบาดของโรคฝีดาษลิง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง […]

Continue Reading

การกินเบคอนอันตรายเทียบเท่าการสูบบุหรี่จริงหรือ?

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อกล่าวอ้างว่า “การกินแซนด์วิชเบคอนหนึ่งชิ้น = สูบบุหรี่สี่มวน” แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งการเปรียบเทียบนี้ดึงดูดความสนใจผู้คนได้เป็นอย่างมาก โดยเน้นย้ำถึงความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจากเนื้อสัตว์แปรรูป โดยเฉพาะจากเบคอน โดยข้อกล่าวอ้างนี้มีที่มาจากประกาศขององค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer: IARC) ในปี 2015 ซึ่งระบุว่าเนื้อสัตว์แปรรูปถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 หรือ Group 1 carcinogens ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับบุหรี่ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้โพสต์ข้อความที่กล่าวว่า “กินแซนด์วิชเบคอนหนึ่งชิ้น = สูบบุหรี่ 4 มวน เบคอนเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มที่ 1 และเรายังเสิร์ฟเบคอนในโรงพยาบาล… ถึงเวลาแล้วที่เบคอนควรมีคำเตือนสุขภาพบนถุง” ข้อความนี้ได้รับความสนใจอย่างมากทั้งบนแพลตฟอร์ม X (ชื่อเดิม Twitter) และ Facebook Source | Archive Source | Archive เนื่องจากคำกล่าวนี้อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความกังวลในหมู่ผู้อ่าน เราจึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ตรวจสอบข้อเท็จจริง “สารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1” […]

Continue Reading

ใช้ไฟฉายมือถือส่องเบรกเกอร์ อาจทำให้เกิดระเบิดได้จริงหรือ?

มีข้อความที่แพร่กระจาย เตือนว่าไม่ควรใช้ไฟฉายจากโทรศัพท์มือถือส่องในบริเวณที่มีแผงวงจรไฟฟ้า เบรกเกอร์ อุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง ถังเชื้อเพลิง หรือถังแก๊สเพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดได้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราพบข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE และ Facebook ที่กล่าวว่า “ห้ามใช้ไฟฉายจากโทรศัพท์มือถือส่องเบรกเกอร์ไฟ หรือคัตเอาต์ไฟที่มีไฟฟ้าแรงสูง ตลอดจนถังเชื้อเพลิงและถังแก๊ส เพราะ จะทำให้เกิดการระเบิดได้” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และสร้างความตื่นตระหนกได้ จริงตัดสินใจดำเนินการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว ไฟฉายบนโทรศัพท์มือถือทำงานอย่างไร? ไฟฉายในมือถือสมัยใหม่ใช้เทคโนโลยี LED ซึ่งให้แสงสว่างโดยไม่ปล่อยความร้อนสูงหรือประกายไฟ การทำงานของ LED ผ่านกระบวนการที่ใช้กระแสไฟฟ้าต่ำเพื่อให้เกิดแสง ทำให้ไฟฉายมือถือมีความปลอดภัยมากกว่าหลอดไฟแบบเก่า เช่น หลอดไส้ ที่สามารถปล่อยความร้อนสูงได้ ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการระเบิด การระเบิดต้องมีสองปัจจัยสำคัญ: ไฟฉาย LED บนโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างแหล่งจุดระเบิดได้ อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนอื่น ๆ ของโทรศัพท์ เช่น แบตเตอรี่ อาจมีความเสี่ยงในกรณีที่เกิดความเสียหายหรือทำงานผิดพลาด ซึ่งอาจทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟได้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นได้ยากมากในสภาพการใช้งานปกติ นอกจากนี้ ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร […]

Continue Reading

เตือนภัย! อีเมลปลอมแอบอ้าง Netflix หลอกให้อัปเดตข้อมูลการชำระเงิน

เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้รับอีเมลที่อ้างว่ามาจาก Netflix ให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัว พร้อมเตือนว่าเป็นอีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร หากได้รับอีเมลลักษณะดังกล่าวที่แจ้งว่า Netflix ต้องการให้อัปเดตข้อมูลการชำระเงินอย่างเร่งด่วน อย่าเพิ่งรีบคลิกหรือลงข้อมูลใดๆ เพราะนี่อาจเป็นกลโกงฟิชชิง (Phishing) ที่ออกแบบมาให้เหมือนกับอีเมลจาก Netflix เพื่อหลอกให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว บทความนี้จะช่วยให้คุณสังเกตเห็นจุดน่าสงสัย วิธีรับมือ และป้องกันตัวเองจากกลโกงนี้ อีเมล “Netflix Update Your Payment Details” คืออะไร? อีเมลฟิชชิงนี้เป็นการหลอกลวงที่ปลอมแปลงให้ดูเหมือนข้อความจาก Netflix โดยมักใช้คำที่กระตุ้นให้รีบทำ เช่น “อัปเดตข้อมูลการชำระเงินทันที มิฉะนั้นบัญชีจะถูกระงับ” เป้าหมายคือการทำให้เหยื่อรู้สึกกังวลแล้วคลิกเข้าไปกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ปลอม ซึ่งเว็บเหล่านี้ออกแบบให้คล้าย Netflix เพื่อขโมยข้อมูลบัญชี Netflix ข้อมูลบัตรเครดิต หรือแม้กระทั่งข้อมูลธนาคาร จุดสังเกตที่บอกว่าเป็นอีเมลปลอม ตัวอย่างอีเมลแอบอ้าง สังเกตได้ว่าลักษณะการสะกดคำจะไม่ถูกต้อง ที่มา ตัวอย่างลิงก์ปลอมที่มาในอีเมลแอบอ้าง ที่มา ถ้าเจออีเมลที่น่าสงสัย ต้องทำอย่างไร? ทำไมมิจฉาชีพถึงเลือกเป้าหมายเป็นผู้ใช้ Netflix? ด้วยจำนวนผู้ใช้ […]

Continue Reading

แพทองธาร ยืนยัน ไม่ได้มีการสั่งยกเลิกดิจิทัลวอลเล็ต

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายเศรษฐา ทวีสิน พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และถัดมาในวันที่ 16 มีการเสนอชื่อและโหวตเห็นชอบให้นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของประเทศไทย โดยท่ามกลางกระแสข่าวนายกฯ คนใหม่ และการจับตามองถึงการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ก็มีข่าวแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับการยกเลิกนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งเป็นนโยบายในรัฐบาลของนายเศรษฐา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่ระบุว่า นายทักษิณ ชินวัตร สั่งยกเลิกโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ยังมีข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า นางสาวแพทองธาร ชินวัตร จะยกเลิกโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และจะเปลี่ยนมาแจกเงินสดแทน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนหลังจากเข้ารับพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ตอบคำถามกรณีว่า นายทักษิณ สั่งให้ยุติโครงการดิจิทัล วอลเล็ต […]

Continue Reading

ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องหลังวิดีโอ “เนื้อปลาปลอม”

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่กล่าวอ้างว่าให้ระวังเนื้อปลาปลอมในท้องตลาดที่ทำมาจากพลาสติก โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผ่านช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีวิดีโอที่อ้างว่าเป็นเนื้อปลาทำมาจากพลาสติก แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE โดยเราพบว่าวิดีโอดังกล่าวได้มีการแชร์อย่างกว้างขวางบน Facebook เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ส่งเบาะแสข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่ คำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยการตรวจสอบที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 2017 และเราได้พบลิงก์ถาวรของเว็บไซต์ Hoaxorfact.com ที่ได้ตรวจสอบวิดีโอดังกล่าว และอธิบายไว้ว่า ลักษณะเนื้อปลาแบบในวิดีโอดังกล่าว เกิดขึ้นจากอาการ Freezer Burn ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อสัตว์ถูกแช่แข็งและถูกทำให้ละลายเป็นจำนวนหลายครั้ง จึงทำให้เยื่อหุ้มเซลล์สลายและแห้งลง เนื้อสัมผัสตามธรรมชาติของเนื้อสัตว์จึงหายไป นอกจากนี้ เมื่อปลาอยู่ในห้องแช่เย็นนานเกินไป เนื้อปลาจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำดังในวิดีโอ และเมื่อเนื้อปลาแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานานเกินไป จึงดูดซับน้ำไว้เหมือนกับฟองน้ำนั่นเอง ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร ได้อธิบายอาการ Freeze Burn ไว้ว่า เป็นความเสียหายของผลิตภัณฑ์อาหารแช่เยือกแข็งเนื่องจากการสูญเสียความชื้นระหว่างการแช่เยือกแข็ง หรือระหว่างการเก็บรักษา เกิดเป็นรอยแห้งสีขาวหรือสีเหลืองอย่างชัดเจน เป็นตำหนิของผลิตภัณฑ์ (ที่มา) ศาสตราจารย์ ดร. วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ […]

Continue Reading