ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน กินลูกพลับ พร้อมกับกล้วย และโยเกิร์ต “ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย”

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกินอาหารหลากหลายชนิดพร้อมๆ กัน มักแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้ง สร้างความกังวลและความสับสนแก่ผู้อ่านโดยไม่จำเป็น และหนึ่งในข้อกล่าวอ้างที่เราพบเมื่อเร็วๆ นี้คือ การรับประทานลูกพลับร่วมกับกล้วยและนมเปรี้ยวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า “ช่วยบอกทุกคนที่บ้าน ฤดูลูกพลับออกตลาด กินลูกพลับห้ามต่อด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย มีข่าวออกมาแล้ว เด็กคนหนึ่งไปยังไม่ถึง รพ .ก็เสียชีวิต ใครมีกลุ่มไลน์เพื่อนฝูงเยอะ ๆ ช่วยกันส่งต่อด้วย เสียเวลาแค่ 2-3 นาที สามารถช่วยคนได้ เป็นบุญกุศลไม่รู้จบ จำให้แม่นห้ามลืม” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นข้อความเท็จที่แพร่กระจายมาหลายปี โดยมาจากข้อความลูกโซ่ภาษาอังกฤษ ซึ่งเว็บไซต์ Wonderwell ของสิงคโปร์ก็เคยรายงานว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จในปี 2019 โดย Heng Mei Shan นักโภชนาการจากโรงพยาบาล Alexandra ก็ได้อธิบายว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าการรับประทานลูกพลับ ตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วย […]

Continue Reading

การกินเบคอนอันตรายเทียบเท่าการสูบบุหรี่จริงหรือ?

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อกล่าวอ้างว่า “การกินแซนด์วิชเบคอนหนึ่งชิ้น = สูบบุหรี่สี่มวน” แพร่กระจายบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งการเปรียบเทียบนี้ดึงดูดความสนใจผู้คนได้เป็นอย่างมาก โดยเน้นย้ำถึงความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งจากเนื้อสัตว์แปรรูป โดยเฉพาะจากเบคอน โดยข้อกล่าวอ้างนี้มีที่มาจากประกาศขององค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer: IARC) ในปี 2015 ซึ่งระบุว่าเนื้อสัตว์แปรรูปถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1 หรือ Group 1 carcinogens ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับบุหรี่ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้โพสต์ข้อความที่กล่าวว่า “กินแซนด์วิชเบคอนหนึ่งชิ้น = สูบบุหรี่ 4 มวน เบคอนเป็นสารก่อมะเร็งในกลุ่มที่ 1 และเรายังเสิร์ฟเบคอนในโรงพยาบาล… ถึงเวลาแล้วที่เบคอนควรมีคำเตือนสุขภาพบนถุง” ข้อความนี้ได้รับความสนใจอย่างมากทั้งบนแพลตฟอร์ม X (ชื่อเดิม Twitter) และ Facebook Source | Archive Source | Archive เนื่องจากคำกล่าวนี้อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและความกังวลในหมู่ผู้อ่าน เราจึงตัดสินใจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ตรวจสอบข้อเท็จจริง “สารก่อมะเร็งกลุ่มที่ 1” […]

Continue Reading

ข้อกล่าวอ้างให้หลีกเลี่ยงยาแก้หวัดบางยี่ห้อ เนื่องจากมีตัวยา PPA ชวนให้เข้าใจผิด

เราพบข้อความที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า มีการประกาศเพิกถอนยาที่มีส่วนผสมของ PPA และระบุชื่อยาแก้หวัดยี่ห้อต่างๆ ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องตลาด โดยข้อความนี้ได้สร้างความกังวลในหมู่ประชาชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของยาที่ใช้รักษาอาการหวัดและไข้หวัดใหญ่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับข้อความที่มีการแชร์ต่อกันอย่างแพร่หลายบนแพลตฟอร์ม LINE ที่ระบุว่า: “อนุกรรมการควบคุมอันตรายจากการใช้ยา ได้มีมติในรอบแรกว่าให้เพิกถอนยาที่มีส่วนผสมของพี.พี.เอ. (PPA) เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง” โดยยาที่ถูกกล่าวอ้างว่ามี PPA ได้แก่ ทิฟฟี่ ดีคอลเจน นูต้า นูต้าโคล ฟาโคเจน และโคลัยซาล” ส่งเบาะแสข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบได้ที่นี่ โดยจากการตรวจสอบเพิ่มเติม เราพบว่าข้อกล่าวอ้างเดียวกันนี้ได้แพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีการแพร่กระจายมาตั้งแต่ปี 2558 โดยสไนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ชี้แจงว่าปัจจุบัน ไม่มียาฟีนิลโปรปาโนลามีน (PPA) อีกแล้ว เพราะ อย.แจ้งประกาศเพิกถอนทะเบียนยาทุกตำรับที่มีส่วนผสมของ PPA ไปแล้วตั้งแต่ ปี 2544 และในปัจจุบันผู้ผลิตยาหรือผู้นำเข้ายาได้แก้ไขและปรับสูตรยาในท้องตลาดให้ไร้สาร PPA ทั้งหมดแล้ว (ที่มา) ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ […]

Continue Reading

โพรไบโอติกรักษามะเร็งได้จริงหรือไม่?

โพรไบโอติก (Probiotic) เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่พบได้ในอาหารเสริมหรืออาหารหมักดอง กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใส่ใจสุขภาพ เนื่องจากมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความที่อ้างว่าโพรไบโอติกสามารถช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์ม Facebook ระบุว่ามีผู้เชี่ยวชาญที่ทำวิจัยและได้คิดค้นวิธีรักษามะเร็งโดยใช้โพรไบโอติก ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า ดร.บรรยง ค้นพบวิธีรักษามะเร็งนั้น เราพบข่าวเกี่ยวกับบุคคลดังกล่าว โดยมีรายงานข่าวว่า นายบรรยง นัยเดช เคยมีประวัติถูกจับกุมในข้อหาลักลอบผลิตยาและอาหารเสริมโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมเปิดคลินิกรักษาโรคผิดกฎหมาย โดยนายบรรยงเคยเป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหารและบริษัททัวร์ชื่อดังในจังหวัด ก่อนหันมาทำธุรกิจยาและอาหารเสริม (ที่มา) ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างข้างต้นจึงเป็นข้อมูลเท็จและหลอกลวง นอกจากนี้ องค์การอาหารและยา ยังเผยแพร่บทความชี้แจงเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างดังกล่าว โดย เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เตือนว่ามีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษามะเร็งด้วยโพรไบโอติกทางออนไลน์ ข้อกล่าวอ้างเหล่านี้ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ โพรไบโอติกเป็นเพียงจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ไม่สามารถรักษาโรคมะเร็งได้ การเชื่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยละเลยการรักษาที่เหมาะสมและเสี่ยงอันตราย นอกจากนี้ ยังมีข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษามะเร็งด้วยน้ำต้มสมุนไพรจีน ซึ่งก็ไม่เป็นความจริง ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้วิธีการรักษาเสริมใดๆ (ที่มา) อย่างไรก็ตาม โพรไบโอติกถือเป็นสารอาหารที่เป็นที่ยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายจริง แต่แม้ว่าโพรไบโอติกจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ โดยเฉพาะกับการรักษาสมดุลในลำไส้ แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าโพรไบโอติกสามารถรักษามะเร็งได้จริง มะเร็งเป็นกลุ่มโรคที่ซับซ้อนซึ่งเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ […]

Continue Reading

โรงงานเภสัชกรรมทหารผลิตยาอันตรายที่ทั่วโลกเลิกผลิต จริงหรือไม่?

เมื่อวันที่ 3 กันยายน นางสาวกัลยพัชร รจิตโรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ จากพรรคประชาชน ได้อภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า โรงงานเภสัชกรรมทหารผลิตยาอันตราย 2 ชนิด คือ อัลปราโซแลม (ยาเสียตัว) และซูโดอีเฟดรีน (สารตั้งต้นยาเสพติด) ซึ่งน่าสงสัยและไม่โปร่งใส นอกจากนี้ ยังได้อภิปรายถึงกรณีที่มีแผนสร้างโรงงานใหม่ที่ราชบุรี งบ 938 ล้านบาท เพิ่มกำลังผลิตเป็น 600 ล้านเม็ดต่อปี คาดกำไร 50 ล้านบาทต่อปี น.ส.กัลยพัชรเสนอตัดงบประมาณ เนื่องจากไม่จำเป็น และไม่ใช่ภารกิจหลักของกองทัพ (ที่มา) โดยการอภิปรายดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีผู้ใช้แพลตฟอร์ม X ได้แชร์การอภิปรายดังกล่าวพร้อมข้อความว่า “ความรู้ใหม่เลย ว่าบริษัทยาของทหารผลิตยาตัวนี้ ซึ่งอาจใช้เป็นสารตั้งต้นยาเสพติดได้ ซึ่งทั่วโลกเขาเลิกผลิตไปแล้ว แต่..…” และโพสต์ดังกล่าวมีการรับชมบนแพลตฟอร์มไปกว่า 3.3 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ จากการอภิปรายครั้งนี้ ทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายเข้าใจผิดว่าโรงงานผลิตยาของทหารนี้ผลิตสารตั้งต้นยาเสพติด เพื่อเป็นแหล่งผลิตยาเสพติด รวมถึงเข้าใจว่ากองทัพต้องการยึดอำนาจในการผลิตยาไว้ ที่มา | […]

Continue Reading

ข้อความไวรัลว่าอาหาร GMO มีสารพิษอันตราย “เป็นข้อมูลเท็จ”

มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับความปลอดภัยในการกินอาหารที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) โดยกล่าวว่าจะส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง โดยข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสผ่านช่องทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีข้อความที่แพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม LINE ที่ระบุว่า อาหารดัดแปลงพันธุกรรมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่ควรกินโดยเด็ดขาด โดนเราพบข้อความดังกล่าวแพร่กระจายบน Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร พบข้อมูลน่าสงสัย? ส่งให้เราตรวจสอบได้ที่นี่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้อธิบายประเด็นดังกล่าวกับศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย โดยระบุว่าตัวเลขในบาร์โค้ด หรือรหัส PLU (Proce Lookup Code) เป็นรหัสสำหรับเช็กสต๊อกและกำหนดราคาสินค้า ไม่ใช่รหัสที่บ่งบอกว่าเป็นสินค้า GMO แต่อย่างใด  นอกจากนี้ยังได้อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อกังวลเกี่ยวกับสินค้า GMO ไม่ใช่เรื่องความปลอดภัยในการบริโภค แต่เป็นประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมมากกว่า เนื่องจากผักหรือผลไม้ที่มีการดัดแปลงพันธุกรรมอาจมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วกว่าแบบธรรมชาติ และอาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมได้ นอกจากนี้ ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์และอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับประเด็นที่มีการระบุว่าอาหาร […]

Continue Reading

การระบาดของเอ็มพ็อกซ์ “ไม่มีความเกี่ยวข้อง” กับงูสวัดหรือวัคซีนโควิด-19

Mpox (เอ็มพ็อกซ์) หรือชื่อเดิมคือ ฝีดาษลิง (Monkeypox) ได้กลายมาเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ควรให้ความสำคัญ โดยเมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้การระบาดของเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องมาจากการระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ที่มา) และท่ามกลางสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้ เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ระบุว่าเชื้อไวรัสเอ็มพ็อกซ์ที่ระบาดในระลอกล่าสุดนี้ แท้จริงแล้วคืออาการงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัตซีนป้องกันโควิด-19 โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้โพสต์ข้อความที่อ้างว่าไวรัสเอ็มพ็อกซ์ หรือชื่อเดิมคือฝีดาษลิง นั้นคือโรคงูสวัดที่เป็นผลข้างเคียงมาจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั้งบนแพลตฟอร์ม Facebook และ X Source | Archive Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงาน Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังสำนักงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยสำนักงานของ WHO ได้ชี้แจงว่า: “การระบาดของไวรัสเอ็มพ็อกซ์ในระลอกล่าสุดไม่ได้เกิดจากโรคงูสวัดหรือผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 เอ็มพ็อกซ์เป็นโรคที่เกิดจากไวรัส Monkeypox virus ซึ่งเป็นสปีชีส์หนึ่งในสกุล Orthopoxvirus […]

Continue Reading

WHO ไม่ได้แนะนำให้มีการล็อกดาวน์เพื่อป้องกัน Mpox

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเนื่องจากการระบาดของไวรัส Mpox โดยการแพร่ระบาดครั้งล่าสุดมาจากสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าสายพันธุ์ Clade I โดยการประกาศภาวะฉุกเฉินของ WHO ในครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการสร้างการตระหนักรู้และกระตุ้นให้นานาชาติดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ (ที่มา) และในขณะเดียวกัน เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า WHO ได้ขอให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ เตรียมตัวสำหรับ “การล็อกดาวน์ครั้งใหญ่” เนื่องจากการระบาดของไวรัส Mpox โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานนี้ ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความที่อ้างว่า WHO ประกาศว่ารัฐบาลควรเตรียมพร้อมรับมือกับ “การล็อกดาวน์ครั้งใหญ่” เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส Mpox โดยข้อความดังกล่าวถูกแชร์ในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook และ X Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบว่า WHO ยังไม่ได้ออกประกาศใดๆ เกี่ยวกับการเตรียมการล็อกดาวน์ในปัจจุบัน แม้ว่า WHO จะประกาศให้ Mpox เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีความน่ากังวลในระดับนานาชาติ […]

Continue Reading

ข้อความว่าไทยเป็นมีผู้ป่วยมะเร็งอันดับ 1 ของเอเชียเป็นข้อมูลเท็จ

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า องค์การอนามัยโลกประกาศว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโรคมะเร็งอันดับ 1 ของเอเชีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook หลายรายได้แชร์ข้อความว่า “ช็อก!!! ไทยได้เป็นอันดับที่ 1 แล้ว องค์การอนามัยโลกรายงานตอนนี้ไทยเป็นมะเร็งเบอร์ 1 ของเอเชียแล้ว อัตราส่วน1 คนจาก 8 คน สาเหตุเกิดจาก 1. กินเนื้อสัตว์ย่าง 2. กินอาหารกะทิค้างคืน 3. กินกล้วยแขกปาท่องโก๋ขนมครก 4. กินผัดผักค้างคืน 5. ใช้กล่องโฟมใส่อาหาร สัมผัสสารก่อมะเร็งจากกล่องโฟม” ที่มา | ลิงก์ถาวร  ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง อันดับประเทศที่มีผู้ป่วยมะเร็งมากที่สุดในเอเชีย: ข้อมูลจากเว็บไซต์ World Cancer Reserch Fund International ได้ระบุว่า ประเทศที่มีอัตราผู้ป่วยโรคมะเร็งมากที่สุดในเอเชียได้แก่ จีน […]

Continue Reading

ตรวจสอบข้อเท็จจริง: เครื่องดื่ม Celsius และ Monster มีสารพิษอันตราย จริงหรือไม่?

เมื่อเร็วๆ นี้ มีวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียโดยอ้างว่าเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อ Celsius และ Monster มีไซยาไนด์ในระดับที่เป็นอันตราย และวิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามิน) ที่ใช้ในเครื่องดื่มเหล่านี้ได้มาจากไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่มาจากโรงบำบัดของเสียของมนุษย์ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย มีวิดีโอแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ โดยกล่าวว่าเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อ Celsius และ Monster มีปริมาณไซยาไนด์มากกว่าขีดจำกัดสูงสุดต่อวันของมนุษย์ถึงสี่เท่า นอกจากนี้ ไซยาโนโคบาลามินที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถูกสังเคราะห์จากไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่ได้มาจากของเสียจากโรงบำบัดน้ำเสียจากมนุษย์ จากนั้นก็แปรรูปเป็นผงผสมกับโลหะ และผสมเข้าไปในเครื่องดื่มวิตามิน Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ระดับไซยาไนด์ในเครื่องดื่มชูกำลัง: ไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่ยืนยันว่าเครื่องดื่มชูกำลังลักษณะแบบ Celsius มีปริมาณไซยาไนด์ที่เป็นอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) รายงานว่า ไม่พบข้อมูลที่บ่งชี้ว่ามีไฮโดรเจนไซยาไนด์ในเครื่องดื่มชูกำลัง นอกจากนี้ สำนักงาน อย. สหรัฐฯ ยังได้อนุมัติไซยาโนโคบาลามินสำหรับใช้ในอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากมีความคงตัวและสามารถในการป้องกันการขาดไซยาโนโคบาลามิน (บี 12) ได้ ‘ไซยาโนโคบาลามิน’ กับ ‘เมทิลโคบาลามิน’: สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่า ไซยาไนด์ในปริมาณที่เล็กน้อยนั้นไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์  Dr. Walter […]

Continue Reading