จริงหรือไม่: ดื่มชาเขียวพร้อมกับนมวัวทำให้ดูดซึมแคลเซียมไม่ได้และทำลายสารต้านอนุมูลอิสระ?

ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การผสมผสานเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างชาเขียวก็กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่มีข้อถกเถียงในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับผลกระทบต่อคุณค่าทางโภชนาการในการดื่มชาเขียวใส่นมวัว ว่าจะทำลายคุณประโยชน์ในชาเขียวและทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไม่ได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในสื่อออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลว่าการดื่มชาเขียวพร้อมกับนมวัวจะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากนมไม่ได้ และทำลายคุณค่าของสารต้านอนุมูลอิสระ (catechins) ในชาเขียว Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลการวิจัยเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระ (Catechins) งานวิจัยพบว่า ชาเขียวมีสารกลุ่ม catechins ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ ส่วนนมวัวมีโปรตีนหลักคือ เคซีน (casein) ที่อาจไปจับกับสาร polyphenols ในชาได้ โดยการจับตัวกันนี้สามารถเปลี่ยนคุณสมบัติของสารและโปรตีนได้ วารสารงานวิจัยของ EFSA ชี้ให้เห็นว่า catechins ในชาเขียวสามารถจับกับโปรตีนในนม (เคซีน) ซึ่งอาจทำให้สาร catechin ที่อยู่ในรูป “อิสระ” ลดลงได้ นอกจากนี้ งานวิจัยใน Food Research International (2020) ชี้ว่า เมื่อเติมนมลงในชาเขียว ปริมาณ catechins ที่เข้าสู่ระบบและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวมอาจลดลงบ้าง เมื่อมีการจับกับโปรตีน โดยระบุว่า การทำฏิกิริยาระหว่าง catechins กับโปรตีนในนมทำให้ปริมาณ catechins ที่พร้อมดูดซึมได้และการต้านอนุมูลอิสระของ “เครื่องดื่มชานม” ลดลง เมื่อจำลองการย่อยในกระเพาะและลำไส้ อย่างไรก็ตาม […]

Continue Reading

นำอาหารค้างคืนมาอุ่นซ้ำเพื่อรับประทาน อันตรายเทียบเท่าสารหนู จริงหรือไม่?

ความปลอดภัยของการเก็บอาหารไว้ข้ามคืนเป็นประเด็นที่หลายคนกังวล เมื่อเร็วๆ นี้ มีคำกล่าวอ้างว่าอาหารบางประเภทอาจเป็นอันตรายเทียบเท่ากับสารหนู หากเก็บทิ้งไว้ข้ามคืนและนำมารับประทานใหม่โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีข้อความแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook ระบุว่า มีอาหารบางประเภทที่เก็บไว้ข้ามคืนอาจมีอันตรายเทียบเท่าสารหนู ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริงเราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารแต่ละชนิดตามที่มีการกล่าวอ้าง และวิธีการจัดเก็บที่ถูกต้อง:ผักลวก: ผักลวกสามารถเก็บข้ามคืนได้อย่างปลอดภัย หากจัดเก็บอย่างเหมาะสม การลวกผักเป็นกระบวนการที่ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและหยุดการทำงานของเอนไซม์ที่อาจส่งผลต่อคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากลวกผักแล้ว ควรทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง เพื่อป้องกันการเติบโตของแบคทีเรีย หากปล่อยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากแบคทีเรีย (ที่มา: University of Minnesota, Heritage Fine Foods)อาหารทะเลย่าง: อาหารทะเลย่าง ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับอาหารที่เน่าเสียได้ทั่วไป คือ ควรเก็บไว้ในตู้เย็นภายใน 2 ชั่วโมงหลังปรุงสุก เพื่อลดความเสี่ยงในการเติบโตของแบคทีเรีย และหากจัดเก็บอย่างเหมาะสมก็สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัย แต่หากปล่อยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากแบคทีเรียได้ (ที่มา: UNL Food)อาหารทอด: อาหารทอดสามารถเก็บข้ามคืนได้อย่างปลอดภัย หากปล่อยให้เย็นลงจนถึงอุณหภูมิห้องภายใน 2 ชั่วโมง และนำเข้าตู้เย็นทันที อย่างไรก็ตาม หากปล่อยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากแบคทีเรีย […]

Continue Reading

โบท็อกซ์ช่วยรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมได้จริงหรือไม่

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การฉีดโบท็อกซ์เพื่อบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมได้รับความสนใจอย่างมาก  โดยมีผู้ใช้ออนไลน์แชร์ประสบการณ์การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นจำนวนมาก แม้ว่าการฉีดโบท็อกซ์จะเป็นที่รู้จักในด้านความงามมาอย่างยาวนาน แต่การนำมาประยุกต์ใช้เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยจากการทำงานนั้นเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศที่ต้องเผชิญกับปัญหาปวดเมื่อยเรื้อรัง บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้โบท็อกซ์ในการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลทางการแพทย์และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการตัดสินใจให้แก่ผู้ที่สนใจในวิธีการรักษานี้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โบท็อกซ์เพื่อรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม โดยมีทั้งการแนะนำ รวมถึงการเตือนถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร? ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มของความผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่เกิดจากการทำงานในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน มักพบในผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ภาวะนี้ส่งผลให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง อาการตึง และเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณคอ ไหล่ และหลัง สาเหตุหลักมาจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และการจ้องจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ออฟฟิศซินโดรมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในหมู่พนักงานออฟฟิศ โบท็อกซ์ช่วยบรรเทาออฟฟิศซินโดรมได้อย่างไร? โบท็อกซ์ หรือสารโบทูลินัมท็อกซิน เอ (Botulinum Toxin A) เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยทำหน้าที่ยับยั้งสัญญาณประสาทที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดตัว ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัวชั่วคราว เมื่อฉีดโบท็อกซ์ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากออฟฟิศซินโดรม จะช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ บรรเทาความตึงเครียด และช่วยลดอาการปวดได้ นอกจากนี้ โบท็อกซ์ยังช่วยป้องกันการหดเกร็งของกล้ามเนื้อมากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบสามารถฟื้นตัวได้ ลดการอักเสบ […]

Continue Reading

อาจารย์เจ้าของรางวัลโนเบล แนะนำให้ให้การอดอาหารเพื่อรักษามะเร็ง จริงหรือ?

มีข้อกล่าวอ้างที่แพร่หลายในโลกออนไลน์ว่า นักวิทยาศาสตร์เจ้าของรางวัลโนเบล โยชิโนริ โอซูมิ (Yoshinori Ohsumi) ได้แนะนำให้ใช้การอดอาหารเป็นวิธีรักษามะเร็ง ซึ่งมักเชื่อมโยงกับงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับกระบวนการ “ออโตฟาจี” (Autophagy) หรือการรีไซเคิลเซลล์ของร่างกาย ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของการอดอาหารเพื่อสุขภาพ และปัญหามะเร็งที่ยังคงเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพระดับโลก ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจึงได้รับความสนใจอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “งานวิจัยระดับโนเบลบอกว่าการอดอาหารช่วยทำลายเซลล์มะเร็งและเยียวยาโรคร้ายได้ มาอดอาหารกันเถอะ!” โดยโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ต่อกว่าสองหมื่นครั้งบน Facebook ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง งานวิจัยของอาจารย์โยชิโนริ โอซูมิ อาจารย์โอซูมิได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 2016 จากการค้นพบกลไกของออโตฟาจี (Autophagy) ซึ่งเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของร่างกายในการสลายและรีไซเคิลองค์ประกอบเซลล์ โดยทำการวิจัยโดยใช้ยีสต์ขนมปังเป็นแบบจำลอง ซึ่งพบว่า การจัดการความเครียดของเซลล์ เช่น ภาวะอดอาหาร สามารถกระตุ้นกระบวนการสลายเซลล์ที่เสียหายเพื่อใช้เป็นพลังงานและฟื้นฟูเซลล์ ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญต่อสุขภาพของเซลล์ (ที่มา: NobelPrize.org) กระบวนการออโตฟาจีจะถูกกระตุ้นระหว่างการอดอาหาร เนื่องจากการขาดสารอาหาร ทำให้เซลล์ต้องรีไซเคิลองค์ประกอบที่เสียหายเพื่อความอยู่รอด ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวาง ความเชื่อมโยงดังกล่าวระหว่างการอดอาหารและกระบวนการออโตฟาจี้จึงเป็นที่มาของข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับประโยชน์ของการอดอาหารต่อสุขภาพ รวมถึงการรักษามะเร็ง อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลของอาจารย์โอซูมิไม่ได้เกี่ยวข้องกับการอดอาหารโดยตรง แต่เป็นการค้นพบกลไกระดับโมเลกุลของออโตฟาจี แม้ว่าการอดอาหารสามารถกระตุ้นออโตฟาจีได้ แต่การวิจัยของของโอซูมิมุ่งเน้นไปที่การศึกษากระบวนการดังกล่าวมากกว่าการเสนอให้เป็นแนวทางการรักษาโรค (ที่มา: […]

Continue Reading

ส้มสามารถช่วยลดอาการปวดท้องจากประจำเดือนได้จริงหรือไม่?

อาการปวดประจำเดือน (Period Cramps) หรือที่เรียกกันทางการแพทย์ว่า Dysmenorrhea เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อหลายๆ คน เนื่องจากทำให้เกิดความไม่สบายตัวและรบกวนกิจวัตรประจำวัน ล่าสุดเราพบข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า การรับประทานส้มสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีข้อความที่แชร์บนโซเชียนลมีเดียที่อ้างว่า การรับประทานส้มสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้องในช่วงมีประจำเดือนได้ โดยเราพบข้อความดังกล่าวแพร่กระจายทั้งบน Facebbok, Instagram และ X  Source | Archive Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ถึงแม้ส้มเป็นแหล่งของวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าส้มสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้โดยตรง อาการปวดประจำเดือนมีสาเหตุมาจากการหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ซึ่งกระตุ้นให้มดลูกเกิดการหดตัว แม้ว่าการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะมีผลต่อสุขภาพของระบบสืบพันธุ์ แต่ยังไม่มีอาหารชนิดใดที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถลดอาการปวดได้โดยตรง หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ คุณค่าทางโภชนาการของส้ม: ส้มอุดมไปด้วยวิตามินซี สารต้านอนุมูลอิสระ และสารอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพโดยรวม วิตามินซีมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ซึ่งอาจมีส่วนช่วยทางอ้อมต่อสุขภาพในช่วงมีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม ประโยชน์เหล่านี้เป็นเพียงผลดีโดยรวมของการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ได้มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่าส้มสามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้โดยตรง ระดับน้ำในร่างกายที่เพียงพอและสารอาหารที่จำเป็น: การรักษาระดับน้ำในร่างกายให้เหมาะสมในช่วงมีประจำเดือนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยลดอาการท้องอืดและสนับสนุนการทำงานของร่างกายโดยรวม และในส้มมีปริมาณน้ำสูง ซึ่งช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำเพียงพอไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อการลดอาการปวดประจำเดือน เนื่องจากสาเหตุหลักของอาการปวดมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและการหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน บทบาทของอาหารต่อสุขภาพประจำเดือน: […]

Continue Reading

กรมควบคุมโรค ยืนยันข้อความ “งดเดินทางเนื่องจากไข้หวัดใหญ่ระบาด” ไม่เป็นความจริง

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อความเตือนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ โดยระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางและกิจกรรมที่ไม่จำเป็น พร้อมเสนอแนวทางป้องกัน เช่น การรักษาความชุ่มชื้นของเยื่อเมือกลำคอ การงดใช้ขนส่งสาธารณะ หลีกเลี่ยงอาหารทอดและรสจัด และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังมีการกล่าวถึงมาตรการจำกัดการเดินทางไปยังบางประเทศและการเฝ้าระวังในบางจังหวัดของไทย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า “กระทรวงสาธารณะสุขแจ้งเตือนว่า โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้มีความร้ายแรงมาก ขอให้งดการเดินทางและกิจกรรมทุกประเภทที่ไม่จำเป็น” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงถึงข้อความที่ระบุว่า “สธ.เตือนไข้หวัดใหญ่ครั้งนี้ มีความร้ายแรงมาก ขอให้งดเดินทางและกิจกรรมทุกประเภทที่ไม่จำเป็น” เป็นข้อมูลเท็จ โดยแม้ว่าการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่และโควิด-19 ยังคงเกิดขึ้นในบางพื้นที่ แต่มาตรการป้องกันจากหน่วยงานสาธารณสุขไม่ได้รวมถึงข้อกำหนดห้ามเดินทาง หรือคำแนะนำเกี่ยวกับการดื่มน้ำเพื่อป้องกันการติดเชื้อแต่อย่างใด สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในไทย ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 17 กุมภาพันธ์ […]

Continue Reading

ผู้ถือสิทธิ์ประกันสังคมสามารถรับการตรวจมะเร็งฟรีโดยใช้เพียงบัตรประชาชน จริงหรือไม่?

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีข้อมูลเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย ระบุว่า ผู้ถือสิทธิ์ประกันสังคมสามารถเข้ารับการตรวจมะเร็งได้ฟรีที่โรงพยาบาลทุกแห่ง โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว โดยข้อมูลดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมากและมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่า ข้อมูลดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนบางส่วน ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากข้อมูลของสำนักงานประสังคม กระทรวงแรงงาน ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม โดยเฉพาะมาตรา 33 และ 39 สามารถรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจริง อย่างไรก็ตาม การเข้ารับบริการจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข และเข้ารับการตรวจในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการของสำนักงานประกันสังคม เท่านั้น เกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจคัดกรองมะเร็ง: สิทธิ์ตรวจสุขภาพฟรี 14 รายการ สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39: นอกจากการตรวจคัดกรองมะเร็งแล้ว ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ยังมีสิทธิ์ตรวจสุขภาพฟรี 14 รายการ จากสำนักงานประกันสังคม โดยไม่ต้องรอเฉพาะวันที่ 14 ของเดือน สามารถเข้ารับการตรวจได้ตลอดปี ตามสถานพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ 14 รายการตรวจสุขภาพฟรี: โดยมีผู้สิทธิ์สามารถเข้ารับการตรวจได้ที่สถานพยาบาลรัฐบาลและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลที่เข้าร่วมได้ที่นี่ และควรโทรสอบถามสถานพยาบาลล่วงหน้า […]

Continue Reading

สปสช. ไม่ได้ตัดงบรักษามะเร็งมาเป็นงบยาฮอร์โมนกลุ่มคนข้ามเพศ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีข้อกล่าวอ้างที่แพร่หลายในสังคมออนไลน์ว่า รัฐบาลได้ตัดงบประมาณสำหรับการรักษามะเร็งฟรี เพื่อนำไปสนับสนุนการจัดหายาฮอร์โมนสำหรับกลุ่มคนข้ามเพศ โดยข้อความดังกล่าวได้รับความสนใจและมีการแชร์ต่ออย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ Facebook หลายรายโพสต์ข้อความระบุว่า “สปสช. จะไม่จ่ายค่ารักษาโรคมะเร็งในโครงการ Cancer Anywhere แต่จะเอางบประมาณไปจ่ายค่าฮอร์โมนเตรียมผ่าตัดแปลงเพศแทน” โดยข้อความดังกล่าวได้มีการแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างนี้อย่างชัดเจน โดยไม่มีการตัดงบประมาณจากโครงการ “มะเร็งรักษาทุกที่” เพื่อนำไปใช้ในการจัดหายาฮอร์โมนสำหรับกลุ่มคนข้ามเพศ ทั้งสองการนี้มีงบประมาณแยกจากกันอย่างชัดเจน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ชี้แจงถึงข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่า มีการตัดงบมะเร็งรักษาทุกที่มาให้ยาฮอร์โมนกลุ่มคนข้ามเพศ โดยยืนยันว่าไม่เป็นความจริง และเป็นงบประมาณคนละส่วนกัน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ชี้แจงไว้ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ งบรักษามะเร็งยังมีเพียงพอ และยังสามารถเข้าถึงการรักษาได้ง่าย: รัฐบาลได้เตรียมงบประมาณรองรับโครงการ มะเร็งรักษาทุกที่ อย่างครบถ้วน […]

Continue Reading

จีนและอินเดียยังไม่ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินจากโรค HMPV

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อมูลอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการระบาดของโรค HMPV ในประเทศจีน พร้อมกับการอ้างว่ามีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศจีนและอินเดียแล้ว โดยข้อมูลดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียและสร้างความกังวลและสับสนแก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย  มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อมูลว่า จีนและอินเดียได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากโรค HMPV (Human Metapneumovirus) ระบาด พร้อมระบุว่าล่าสุดโรงพยาบาลได้เมืองหลักต่างๆ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว มีภาวะผู้ป่วยล้นจนเตียงเต็ม เนื่องมาจากการติดเชื้อ HMPV ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง HMPV คืออะไร? Human Metapneumovirus (HMPV) เป็นไวรัสในตระกูล Paramyxoviridae ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2001 โดยการศึกษาพบว่า HMPV สามารถแพร่กระจายได้ทั่วโลกและพบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ แม้ว่า HMPV จะมีลักษณะคล้ายกับ RSV (Respiratory Syncytial Virus) […]

Continue Reading

ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน กินลูกพลับ พร้อมกับกล้วย และโยเกิร์ต “ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย”

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการกินอาหารหลากหลายชนิดพร้อมๆ กัน มักแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้ง สร้างความกังวลและความสับสนแก่ผู้อ่านโดยไม่จำเป็น และหนึ่งในข้อกล่าวอ้างที่เราพบเมื่อเร็วๆ นี้คือ การรับประทานลูกพลับร่วมกับกล้วยและนมเปรี้ยวอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า “ช่วยบอกทุกคนที่บ้าน ฤดูลูกพลับออกตลาด กินลูกพลับห้ามต่อด้วยนมเปรี้ยวและกล้วยหอม เพราะจะทำให้เป็นพิษต่อร่างกาย มีข่าวออกมาแล้ว เด็กคนหนึ่งไปยังไม่ถึง รพ .ก็เสียชีวิต ใครมีกลุ่มไลน์เพื่อนฝูงเยอะ ๆ ช่วยกันส่งต่อด้วย เสียเวลาแค่ 2-3 นาที สามารถช่วยคนได้ เป็นบุญกุศลไม่รู้จบ จำให้แม่นห้ามลืม” ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อความดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นข้อความเท็จที่แพร่กระจายมาหลายปี โดยมาจากข้อความลูกโซ่ภาษาอังกฤษ ซึ่งเว็บไซต์ Wonderwell ของสิงคโปร์ก็เคยรายงานว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จในปี 2019 โดย Heng Mei Shan นักโภชนาการจากโรงพยาบาล Alexandra ก็ได้อธิบายว่า ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าการรับประทานลูกพลับ ตามด้วยนมเปรี้ยวและกล้วย […]

Continue Reading