วิดีโออ้างว่าตึกถล่มจากแผ่นดินไหวในเชียงใหม่วันที่ 21 เม.ย. ไม่เป็นความจริง

ในช่วงวันที่ 21 เมษายน 2568 ได้มีการแพร่กระจายวิดีโอที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์ตึกถล่มจากแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมข้อความระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียด พบว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงและอาจสร้างความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอตึกถล่ม พร้อมข้อความว่า เกิดเหตุตึกถล่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อมูล เราไม่พบรายงานใด ๆ ที่ยืนยันว่าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงจนทำให้ตึกถล่มในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ แม้ว่าจะมีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กในประเทศไทย เช่น แผ่นดินไหวขนาด 1.9 แมกนิจูดที่ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และแผ่นดินไหวขนาด 1.6 ถึง 2.3 แมกนิจูดในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือและตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ และไม่มีรายงานตึกถล่มตามที่วิดีโอดังกล่าวอ้างถึง จากการวิเคราะห์วิดีโอที่แพร่กระจาย พบว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและตึกถล่มที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัล ไม่ใช่ “เหลนของสมาชิกวง Bee Gees” ตามข้อกล่าวอ้าง

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอหนึ่งที่อ้างว่าเป็น “เหลนของวง Bee Gees” ร้องเพลง How Deep Is Your Love? ของวง Bee Gees ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีความคิดเห็นหลากหลายตั้งแต่การชื่นชมไปจนถึงการตั้งข้อสงสัย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “แฝดสี่รุ่นเหลน ร้องเพลง Bee Gees” โดยมีการรับชมบนแพลตฟอร์ม TikTok ไปกว่าหนึ่งล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มต้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าผู้ที่แสดงในวิดีโอนี้คือ Ky Baldwin นักร้องและนักแสดงชาวออสเตรเลีย ซึ่งเขาเป็นผู้สร้างวิดีโอนี้ขึ้นมาเอง โดยใช้เทคนิคพิเศษ (Special Effects) ทำให้ดูเหมือนมีตัวเขาหลายคนร่วมแสดงพร้อมกัน Ky Baldwin เป็นที่รู้จักในเรื่องการสร้างวิดีโอในลักษณะนี้มาก่อน ตัวอย่างเช่น ในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 เขาเคยทำวิดีโอคัฟเวอร์เพลง I Want It That Way ของวง Backstreet Boys […]

Continue Reading

จดหมายไวรัลที่อ้างว่าเป็นข้อความจาก ปธน. เม็กซิโก ถึงทรัมป์และมัสก์ เป็นของปลอม

เมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่าเป็นจดหมายจากประธานาธิบดีเม็กซิโก คลอเดีย เซนบาม (Claudia Sheinbaum) ที่ส่งถึงโดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ เกี่ยวกับนโยบายสร้างกำแพงชายแดน จดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเสียดสีเกี่ยวกับภูมิประเทศของสหรัฐฯ และยังขู่ถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในระดับโลก จนกลายเป็นกระแสไวรัลบนแพลตฟอร์มต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จดหมายไวรัลฉบับนี้เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ช่วงต้นปี 2025 โดยอ้างว่าเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีเซนบาม เพื่อตอบโต้นโยบายใหม่เรื่องชายแดนของทรัมป์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 จดหมายดังกล่าวกล่าวถึงโครงการสร้างกำแพงกั้นพรมแดน พร้อมอ้างว่าอีลอน มัสก์ มีส่วนร่วมในโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลของทรัมป์ พร้อมทั้งอธิบายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา และลงท้ายด้วยชื่อของประธานาธิบดีเม็กซิโกที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2024 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเรา พบว่าไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการใด ๆ ที่แสดงว่า คลอเดีย เซนบาม เขียนหรือส่งจดหมายฉบับนี้ถึงทรัมป์และมัสก์ในปี 2025 แต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของเซนบาม เว็บไซต์รัฐบาลเม็กซิโก รวมถึงบันทึกคำแถลงข่าวรายวันระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 ก็ไม่ปรากฏข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจดหมายฉบับดังกล่าวเลย ที่มาของข้อความ […]

Continue Reading

ทีม K9 – ผู้ว่าชัชชาติ ยืนยัน ไม่มีการส่งสุนัข K9 ทำภารกิจในพื้นที่เสี่ยง

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข้อความที่ถูกแชร์อย่างแพร่หลายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าทีม K9 เตรียมส่ง “นวล” สุนัข K9 เข้าปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยง เพื่อค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหว พร้อมระบุว่าทีมพร้อมรับภารกิจเสี่ยงและยอมรับสภาพหากเกิดการสูญเสีย ข้อความดังกล่าวสร้างความกังวลและกระตุ้นให้ประชาชนออกมาคัดค้านการส่งสุนัข K9 เข้าปฏิบัติงานในภารกิจนี้อย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้ออกมาแชร์ข้อความว่า จะมีการส่ง “นวล” K9 เข้าไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยง และพร้อมรับความสูญเสียสุนัข K-9 ที่มา | ลิงก์ถาวร ข้อความดังกล่าวสร้างความกังวลให้แก่ประชาชนอย่างเป็นวงกว้าง โดยมีผู้ใช้หลายรายได้ออกมาคัดค้านการนำสุนัข K-9 ลงปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยง ดังโพสต์ด้านล่างนี้ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง แถลงการณ์จากองค์การสุนัขกู้ภัยแห่งชาติ (K9 USAR Thailand) เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 นายอลงกต ชูแก้ว รองผู้อำนวยการองค์การสุนัขกู้ภัยแห่งชาติ หรือ K9 USAR Thailand ได้ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ “K9 […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวที่เมียนมา แท้จริงแล้วที่สร้างด้วย AI

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอที่อ้างว่าแสดงถึงภาพเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศเมียนมาร์ได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยวิดีโอดังกล่าวแสดงภาพที่ถ่ายจากมุมสูง เผยให้เห็นเจดีย์สององค์ที่อยู่ท่ามกลางซากปรักหักพัง รายล้อมด้วยอาคารที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนสองสาย โดยวิดีโอดังกล่าวได้รับความสนใจและถูกแชร์ออกไปพร้อมข้อความแสดงความเสียใจและความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้แชร์วิดีโอที่อ้างว่าแสดงให้เห็นความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมียนมาร์ คลิปวิดีโอพร้อมภาพจากวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดีย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบหลายประเด็นที่บ่งชี้ว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ได้มาจากเหตุการณ์จริง ดังนี้ ความไม่สอดคล้องทางภูมิศาสตร์ วิดีโอมีภาพเจดีย์สององค์ที่มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมยุคพุกาม แต่เมืองที่ได้รับผลกระทบหลักจากแผ่นดินไหวอย่างสะกายและมัณฑะเลย์ ไม่มีเจดีย์ลักษณะนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองแบบที่ปรากฏในวิดีโอ ส่วนเมืองพุกามซึ่งมีชื่อเสียงด้านเจดีย์โบราณจำนวนมากนั้น ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนัก นอกจากนี้ ฉากหลังในวิดีโอก็ไม่ตรงกับภูมิทัศน์ของพุกาม วิดีโอเหตุการณ์เปรียบเทียบจาก INQUIRER.net ของเจดีย์ในมัณฑะเลย์หลังแผ่นดินไหว ไม่มีการรายงานจากสื่อท้องถิ่น จากการตรวจสอบ เราไม่พบวสำนักข่าวที่เชื่อถือได้ในภาษาพม่าที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ใช้วิดีโอนี้ในการรายงานแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นอีกเบาะแสว่าต้องมีการตรวจสอบที่มาของวิดีโอนี้เพิ่มเติม สัญญาณของการใช้ AI การวิเคราะห์ภาพ: เราใช้เครื่องมือวิเคราะห์และตรวจจับภาพที่สร้างโดยใช้ AI ตรวจสอบคีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และได้ผลลัพธ์ว่าวิดีโอนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกสร้างขึ้นด้วย AI ที่มา: Was it AI? ความยาวของวิดีโอ: วิดีโอยาวเพียง 6 วินาที […]

Continue Reading

ภาพสุนัขกู้ภัยพันธุ์เล็กช่วยกู้ซากตึกถล่มจากแผ่นดินไหว เป็นภาพที่สร้างจาก AI

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียในไทยต่างพากันแชร์ภาพของ “สุนัขกู้ภัย K9” ที่กำลังเข้าช่วยเหลือในพื้นที่ซากอาคารถล่มหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ โดยสิ่งที่สร้างความสนใจให้กับผู้คนจำนวนมากคือ สุนัขที่ปรากฏในภาพเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น ชิวาว่าและปอมเมอเรเนียน โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้แชร์ภาพสุนัขพันธุ์ชิวาว่า และปอมเมอเรเนียน ในชุดเครื่องแบบสุนัขกู้ภัย K9 โดยทั้งสองภาพได้มีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวางทั้งบน Facebbok, Instagram และ X ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อตรวจสอบภาพที่กำลังเป็นไวรัลดังกล่าว ผ่านเครื่องมือวิเคราะห์ภาพย้อนกลับ (Reverse Image Search) พบว่าไม่สามารถค้นหาที่มาที่ชัดเจนของภาพได้จากสำนักข่าวหรือแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือใดๆ ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อนำภาพไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมของ Hive Moderation ซึ่งเป็นเครื่องมือจำแนกภาพที่สร้างโดย AI และพบว่า ภาพดังกล่าวมีความเป็นไปได้สูงมากที่จะสร้างขึ้นโดยใช้ AI นอกจากนี้ เราพบว่าภาพดังกล่าวมาจากบัญชี TikTok ที่ใช้ชื่อว่า “K9 USER AI” โดยนอกจากภาพที่เป็นไวรัลแล้ว ยังมีภาพที่คล้ายกันบนโปรไฟล์ดังกล่าวด้วยเช่นกัน […]

Continue Reading

ไขปริศนาแสงประหลาดบนท้องฟ้าแถบยุโรป แท้จริงมาจากจรวด Falcom 9 ของ SpaceX

มีการแชร์ข่าวไวรัลออนไลน์ว่าหลายประเทศในยุโรปได้รายงานการพบปรากฏการณ์แสงลึกลับบนท้องฟ้า โดยที่มาของแสงเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ผู้ใช้โซเชียลมีเดียต่างคาดเดาสาเหตุต่างๆ นานา เช่น ยูเอฟโอ หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในชั้นบรรยากาศ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในวันที่ 25 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้ Facebook หลายราย ได้แชร์รูปภาพแสงรูปร่างประหลาดบนท้องฟ้า พร้อมข้อความว่า มีรายงานเกี่ยวกับปรากฏการณ์แสงรูปร่างแปลกประหลาดบนท้องฟ้า พบเห็นในหลายพื้นที่ในยุโรป โดยยังไม่ทราบว่าคืออะไร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบพบว่า แสงลึกลับที่สังเกตเห็นในหลายภูมิภาคของยุโรปเกิดจากการปล่อยจรวด SpaceX Falcon 9 ตามรายงานระบุว่าแสงดังกล่าวเกิดจากกระบวนการระบายเชื้อเพลิงระยะที่สองของจรวด Falcon 9 ซึ่งสามารถสร้างรูปแบบการหมุนเป็นเกลียวและเรืองแสงบนท้องฟ้าได้ โดย Yahoo News และ BBC ก็ได้รายงานว่า ผู้ใช้ในสหราชอาณาจักรหลายราบได้พบเห็นปรากฏการณ์แปลกตาบนท้องฟ้า ซึ่งถูกเรียกว่า “ก้นหอยเรืองแสง (Glowing Spiral)” โดยปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงค่ำคืนและสร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ได้เห็นอย่างมาก ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสาเหตุของวงก้นหอยนี้มาจากเชื้อเพลิงส่วนเกินที่ถูกปล่อยออกมาจากจรวด Falcon 9 ของบริษัท SpaceX หลังจากที่จรวดดังกล่าวปฏิบัติภารกิจและกลับสู่ชั้นบรรยากาศของโลก […]

Continue Reading

SCAM ALERT: โพสต์ปลอมแอบอ้างเครื่องสำอางแบรนด์เนมลดราคา เนื่องจากประเด็นของคิมซูฮยอน

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียที่อ้างว่าแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกอย่าง SK-II และ YSL (Yves Saint Laurent) ลดราคาสินค้าครั้งใหญ่ถึง 70-80% โดยให้เหตุผลว่าเป็นการขอโทษลูกค้าและฟื้นฟูภาพลักษณ์ หลังจากยกเลิกสัญญากับนักแสดงชื่อดังชาวเกาหลีใต้ คิมซูฮยอน (Kim Soo Hyun) อันเนื่องมาจากประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในอดีต ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงอย่างมาก โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีโพสต์ Facebook ต่างๆ ที่ระบุว่าแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังต่างๆ ทั้ง SK-II, YSL และ Dior ได้ออกมาประกาศยกเลิกสัญญากับนักแสดงชายชาวเกาหลีใต้ คิมซูฮยอน พร้อมแสดงความรับผิดชอบโดยการลดราคาสินค้ากว่า 70-80% ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ประเด็นอื้อฉาวของคิมซูฮยอนและการยกเลิกสัญญากับแบรนด์ จากข้อมูลที่เผยแพร่ในสื่อและโพสต์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ระบุว่า คิมซูฮยอนเผชิญข้อกล่าวหาจากครอบครัวของคิมแซรนว่านักแสดงมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่เธอยังเป็นผู้เยาว์ รวมถึงข้อพิพาทเรื่องเงินและการทำงาน ซึ่งส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ เช่น Prada ออกแถลงการณ์ยุติความสัมพันธ์กับนักแสดงรายดังกล่าวในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2025 (ที่มา) จากการตรวจสอบข้อมูล ปัจจุบันคิมซูฮยอนไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการในฐานะแบรนด์แอมบาสเดอร์หรือพรีเซนเตอร์ให้กับ SK-II หรือ Yves Saint […]

Continue Reading

ข่าวลือ “มิน-พีชญา” เสียชีวิต เป็นข้อมูลเท็จ

ในช่วงที่ผ่านมา มีกระแสข่าวลือแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียว่า “มิน พีชญา วัฒนามนตรี” อดีตนักแสดงสังกัดช่อง 7 ได้เสียชีวิตแล้ว โดย ข่าวลือนี้ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างแพร่หลาย สร้างความสงสัยและความตื่นตระหนกให้แก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดียอย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ TikTok ได้โพสต์วิดีโอไว้อาลัย “มิน พีชญา วัฒนามนตรี” พร้อมข้อความในวิดีโอระบุว่า “เผย สาเหตุบอสมินเสีย หลังโดนทางการยึดทรัพย์สินเพิ่ม ญาติคาดเครียดจากการโดนกลั่นแกล้ง เพราะเงินส่วนนี้ เป็นเงินที่มินได้มาจากการลงทุนแบบถูกกฎหมายทุกอย่าง” โดยวิดีโอดังกล่าวมีการรับชมไปกว่า 5 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายต่างออกมาแสดงความสงสัยเกี่ยวกับข่าวลือดังกล่าว ตรวจสอบข้อเท็จจริง สื่อหลักและแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ: จากการตรวจสอบเพิ่มเติม เราไม่พบรายงานใด ๆ จากสื่อหลักและแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ที่ยืนยันการเสียชีวิตของมิน พีชญา วัฒนามนตรี รวมถึงไม่มีการแถลงข่าวใดๆ จากทางต้นสังกัดหรือทางครอบครัวของนักแสดง รายงานข่าวล่าสุดเกี่ยวกับมิน: มิน พีชญา เพิ่งได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถานหญิงกลางเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 หลังอัยการพิเศษสั่งไม่ฟ้องในคดีที่เกี่ยวข้องกับ The ICON Group (ที่มา) […]

Continue Reading

ไทยขายไฟให้เมียนมาหน่วยละ 1.80 บาทจริงหรือ?

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข้อความแพร่กระจายอย่างแพร่หลาย โดยระบุว่า ไทยขายไฟฟ้าให้เมียนมาในราคาถูกกว่าที่ขายให้ประชาชนไทย โดยอ้างว่า PEA จำหน่ายไฟฟ้าให้เมียนมาในราคาต่ำเพียง 1.80 บาทต่อหน่วย ขณะที่คนไทยต้องจ่ายสูงถึง 4.18 บาทต่อหน่วย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความว่า “ไทยขายไฟฟ้าให้ชายแดนเมียนมาในราคาหน่วยละ 1.80 บาท ในขณะที่ประชาชนไทยจ่ายค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย” โดยมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันบนแพลตฟอร์ม X โดยล่าสุดมีการรับชมไปมากกว่าหนึ่งล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไทยขายไฟให้เมียนมาอย่างไร? การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) เป็นหน่วยงานหลักที่จำหน่ายไฟฟ้าให้กับ ผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลเมียนมา ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ได้รับสิทธิ์ในการขายไฟต่อให้กับประชาชนในพื้นที่ชายแดนเมียนมา จุดขายไฟฟ้าหลัก และบริษัทที่ได้รับสัมปทาน บ้านเจดีย์สามองค์ – เมืองพญาตองซู (รัฐมอญ) บ้านเหมืองแดง – เมืองท่าขี้เหล็ก (รัฐฉาน) สะพานมิตรภาพไทย […]

Continue Reading