ข้อกล่าวอ้างว่าวัคซีน mRNA ทำให้เกิดแท่งสีขาวในร่างกาย “เป็นข้อมูลผิด”

ในปัจจุบัน ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียและสร้างความกังวลและความสับสนให้ผู้คนได้ โดยล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่าพบแท่งย้วยสีขาวในผู้รับวัคซีนโควิดชนิด mRNA โดยประเด็นดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ระบุว่า มีงานวิจัยค้นพบแท่งย้วยสีขาว (White clot) คล้ายหนวดปลาหมึก ทั้งจากคนที่ยังมีชีวิตอยู่และเสียชีวิตจากวัคซีนโควิด ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยข้อมูลดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยมีการเผยแพร่จากสำนักข่าวต่างๆ (เช่น ที่นี่ และที่นี่) รวมถึงมีการแชร์ต่อบนแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร แถลงการณ์จากสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงในกรณีลิ่มเลือดสีขาวและวัคซีนโควิดชนิด mRNA ระบุว่า จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และระบุว่าสามารถพบสิ่งแปลกปลอมนี้ได้ในผู้ที่ยังมีชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนในวงกว้าง สถาบันวัคซีนแห่งชาติและภาคีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญไม่ได้นิ่งนอนใจกับประเด็นกังวลดังกล่าว จึงได้ประสานไปยังแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ […]

Continue Reading

รู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด JN.1: ความรุนแรง อาการ และวิธีป้องกันตนเอง

ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา อัตราผู้ป่วยจากโควิด-19 กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯ (CDC) ได้ออกมาแถลงถึงการค้นพบเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งก็คือสายพันธุ์ JN.1 ข้อควรรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ใหม่จาก CDC โควิด-19 สายพันธุ์ JN.1 พัฒนามาจาก BA.2.86 โดยปัจจุบันสายพันธุ์ใหม่นี้dลายเป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อเร็วที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดย ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2023 พบผู้ป่วยจากสายพันธุ์ดังกล่าวประมาณ 15–29% แต่แม้ว่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังไม่พบข้อมูลที่สนับสนุนว่าสายพันธุ์ JN.1 เพิ่มความเสี่ยงของประชาชนมากยิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีการระบาดอยู่ มีการคาดการณ์ว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในปัจจุบันจะสามารถป้องกัน JN.1 ได้ สายพันธุ์ JN.1 มีแนวโน้มจะไม่ก่อให้เกิดการป่วยที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้านี้ โดยอาการจากสายพันธุ์ JN.1 คล้ายคลึงกับอาการที่เกิดจากสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสุขภาพและระดับภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคลด้วย โดยอาการทั่วไป ได้แก่ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เหนื่อยล้า และปวดศีรษะ แม้ว่าอาการป่วยจากโรคติดเชื้อโควิด-19 โดยรวมในปัจจุบันจะดูรุนแรงน้อยกว่าในปีที่ผ่านมา แต่ข้อมูลของ CDC […]

Continue Reading

ข้อเท็จจริงของข้อความ “โควิดสายพันธุ์ใหม่ BA 4.5” ที่กำลังระบาดบนโซเชียล

แม้กระแสข่าวเรื่องโควิด-19 จะเริ่มซาลงแล้วในช่วงนี้ แต่หลายฝ่ายก็ยังเตือนว่าอย่าเพิ่งไว้วางใจ เพราะถึงแม้ยอดผู้ติดเชื้อจะลดลง แต่ยอดผู้ป่วยหนักและผู้เสียชีวิตยังคงสูงอยู่อย่างต่อเนื่อง (อ่านเพิ่มเติมที่นี่) ข้อมูลวันที่ 11 มิถุนายน จากกรมควบคุมโรค และล่าสุด เราได้รับเบาะแสผ่านทางไลน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยพบว่ามีข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ “BA 4.5” ที่ตรวจไม่พบ และมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้าถึง 5 เท่า และเราพบว่าข้อความดังกล่าวมีการแพร่กระจายบนเฟซบุ๊กด้วยเช่นเดียวกัน Source | Archive จากการตรวจสอบ เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวนั้นแปลมาจากข้อความภาษาอังกฤษที่มีการแชร์ตั้งแต่เมื่อปี 2022 Source | Archive อย่างไรก็ตาม ข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ คล้ายกับข้อความที่มีการแชร์ก่อนหน้านี้ เราพบว่าข้อความข้างต้นมีลักษณะคล้ายกับข้อความที่มีการแชร์ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่มีข้อแตกต่างกันที่ชนิดของสายพันธุ์ โดยข้อความที่แพร่กระจายในช่วงต้นปีระบุว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ Omicron XBB แต่ข้อมูลอื่นๆ เช่น ไม่มีอาการไข้หรืออาการไอ รวมถึงมีข้อกล่าวอ้างที่บอกว่ารุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้า 5 เท่าเหมือนกัน โดยคาดว่าแปลมาจากข้อความภาษาอังกฤษข้อความเดียวกัน แต่เปลี่ยนชื่อสายพันธุ์ Source | Archive สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างเดิมได้ที่นี่: อย่าแชร์ต่อ! ข้อความ Omicron XBB รุนแรงกว่าเดลต้า 5 เท่า […]

Continue Reading

อย่าแชร์ต่อ! ข้อความ Omicron XBB รุนแรงกว่าเดลต้า 5 เท่า เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

ในช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง โดยทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกมาเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวัง และเข้ารับวัคซีนประจำปีเพื่อป้องกันโควิดก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (อ่านข่าวที่นี่) ท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่กำลังกลับมาระบาดอีกครั้ง เราพบว่ามีข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนแพร่กระจายตามแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ใหม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้: Source | Archive ข้อความดังกล่าวได้มีการแชร์อย่างแพร่หลายบนเฟซบุ๊ก อย่างไรก็ตาม หลังจากทำการตรวจสอบ เราพบว่าบางส่วนในข้อความดังกล่าวนั้นเป็นเท็จ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ทีมงาน Fact Crescendo พบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่มีการแปลมาจาก Forwarding Message ในภาษาอังกฤษที่มีการแพร่กระจายในประเทศต่างๆ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ที่ผ่านมา ข้อความในเวอร์ชันภาษาอังกฤษได้แพร่กระจายทั้งบน Facebook และ Whatsapp เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวในเวอร์ชันภาษาอังกฤษตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยสามารถอ่านบทความของเราได้ที่นี่ โดยกระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ได้ออกมาปฏิเสธว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงตั้งแต่เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า “ไม่มีหลักฐานสนับสนุนคำกล่าวอ้างดังกล่าว” ในส่วนของผู้เชี่ยวชาญในไทยอย่าง รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับทาง AFP Thailand ว่าข้อมูลในข้อความดังกล่าวที่อ้างว่า “ไม่พบไวรัสสายพันธุ์นี้ในบริเวณโพรงหลังจมูก“ ว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศว่าข้อความดังกล่าวนั้นเป็นเท็จบางส่วน และขอความร่วมมือไม่แชร์ต่อ […]

Continue Reading

อย่าแชร์! ทวีตไฟเซอร์เอกสารหลุด ชวนให้เข้าใจผิด

วัคซีน Pfizer-BioNTech COVID-19 เป็นหนึ่งในวัคซีนหลักของโลกในการต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19 แต่นอกจากจะเป็นที่พูดถึงและยอมรับอย่างกว้างขวางแล้ว วัคซีนชนิดนี้ก็มักกลายเป็นประเด็นในข่าวเท็จและข้อมูลที่ผิดต่างๆ เช่นกัน ข้อกล่าวอ้างที่เป็นเท็จมีตั้งแต่ข้อสงสัยเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน ไปจนถึงทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับจุดประสงค์ของวัคซีนและผู้ผลิต และล่าสุด เราพบข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับวัคซีนชนิดนี้ที่อาจสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้คนได้ อ่านข่าวโควิด-19 ที่เราตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ที่นี่ ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียล เมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมา มีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้ทวีตถึงผลเสียของวัคซีนไฟเซอร์ พร้อมกล่าวว่าวัคซีนไฟเซอร์นั้น “ไม่เคยผ่านการทดสอบป้องกันการติดไวรัสโควิด-19” Source Post | Archive โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์รายดังกล่าวได้ทวีตข้อความว่า “เอกสารหลุดและถูกแฉถึงการปกปิดข้อความจริงของวัคซีน Pfizer ล่าสุดบริษัทฯแถลงยอมรับแล้วว่า วัคซีน Pfizer ส่งผลก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนเช่น กล้ามเนื้ออักเสบ เยื่อบุกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหลอดเลือด ที่สำคัญไม่เคยผ่านการทดสอบป้องกันการติดไวรัสโควิด 19 #วัคซีนเทพ” พร้อมแนบลิงก์เอกสารที่อ้างว่าเป็นเอกสารหลุด โดยทวีตดังกล่าวมีการดูไปแล้วกว่าเจ็ดแสนครั้ง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวและพบว่าเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากทวีตข้างต้นที่แนบลิงก์และอ้างว่าเป็นเอกสารหลุดของบริษัทไฟเซอร์ อันที่จริงแล้วลิงก์ดังกล่าวเป็นแถลงการณ์จากบริษัทไฟเซอร์เกี่ยวกับคำกล่าวอ้างเกี่ยวกับวัคซีนในงานวิจัย โดยทางไฟเซอร์กำลังตรวจสอบกรณีดังกล่าวอย่างจริงจัง และจะอัปเดตเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากวัคซีน อาการที่กล่าวอ้างว่าเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์นั้น เป็นอาการที่พึงระวังและควรเฝ้าสังเกตหลังจากฉีดวัคซีน ไม่ใช่ข้อมูลลับแต่อย่างใด โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข […]

Continue Reading

กระทรวงสาธารณสุขชี้แจง งานวิจัยว่าเข็มกระตุ้นเพิ่มความเสี่ยงติดโควิด ยังขาดความน่าเชื่อถือและใช้ในไทยไม่ได้

จากที่เพจ Center for Medical Genomics ได้แชร์งานวิจัยของ Dr. Nabin K Shrestha และทีมวิจัยแผนกโรคติดเชื้อจากคลีฟแลนด์คลินิก ที่แสดงผลวิจัยว่า ความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 กลับมีการแปรผันตรงตามจำนวนครั้งหรือโดสของการฉีดวัคซีน (mRNA) กล่าวคือ หากได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอจำนวนมากก่อนหน้านี้ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ก็จะยิ่งสูงขึ้น ผู้ที่ได้รับวัคซีนตั้งแต่ 3 โดสขึ้นไปจะมี “ความเสี่ยง” ในการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 6 เท่าเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน โดยโพสต์ดังกล่าวก็ได้รับการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง รวมถึงมีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ต่างๆ อีกด้วย Source | Archive Fact Crescendo ได้ตรวจสอบบทความดังกล่าวและพบว่างานวิจัยที่มีการอ้างอิงในบทความนั้นเป็นงานวิจัยที่ยังไม่ได้รับตีพิมพ์และยังไม่ผ่านการตรวจสอบ และในงานวิจัยดังกล่าวยังระบุไว้ว่างานวิจัยชิ้นดังกล่าวเป็นผลการวิจัยที่ทำขึ้นใหม่ และยังไม่ได้มีการประเมินอย่างเป็นทางการ จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นแนวทางในการรักษา แถลงการณ์จากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับบทความข้างต้นว่า ข้อมูลวิจัยจากสหรัฐฯ เรื่องรับวัคซีน mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโควิด-19 ยังขาดความน่าเชื่อถือ ยังไม่ถูกยอมรับให้เผยแพร่ ขาดการวิเคราะห์และสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านระบาดวิทยา พฤติกรรมเสี่ยงและการป้องกันโรคที่มีผลต่อการติดเชื้อ ที่สำคัญไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากสถานการณ์และมาตรการต่างกัน ย้ำฉีดวัคซีนอย่างน้อย 4 […]

Continue Reading

เฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ย่อยใหม่ แพทย์ชี้มีแนวโน้มเข้าไทยเร็วๆ นี้

แม้จะดูเหมือนว่าทั่วโลกต่างเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 แล้ว แต่ก็มีรายงานถึงการระบาดที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก จำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากถือเป็นภัยครั้งใหญ่ในช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมาและในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง องค์การอนามัยโลก (WHO) แสดงความกังวลเนื่องมาจากโรงพยาบาลในกรุงปักกิ่งและเมืองอื่นๆ เต็ม จากการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดในจีน วิดีโอที่น่าสลดใจของสถานการณ์ที่เลวร้ายในประเทศจีนกำลังเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย เมื่อไวรัสมีวิวัฒนาการไปตามเวลาและมีความแตกต่างจากไวรัสตัวดั้งเดิมอย่างมาก จะเรียกไวรัสที่วิวัฒนาการใหม่ว่าเป็น ‘สายพันธุ์’ ใหม่ สำหรับไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสตัวดั้งเดิมของ COVID-19 ก็มีการเปลี่ยนแปลงและได้มีการสันนิษฐานว่าเป็นรูปแบบของสายพันธุ์ใหม่และสายพันธุ์ย่อย ปัจจุบัน สายพันธุ์ย่อยของ Omicron มากกว่า 300 สายพันธุ์กระจายอยู่ทั่วโลก และเกือบ 75% เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.5 ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน มาทำความเข้าใจและดูข้อควรรู้เกี่ยวกับสายพันธุ์ย่อยใหม่ที่กระตุ้นให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น สายพันธุ์ย่อย BF.7 สายพันธุ์ล่าสุดที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้นนั้นเรียกว่า BF.7 เป็นสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนสายพันธุ์ BA.5 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่สามารถแพร่เชื้อได้สูง โดยมีความสามารถในการเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกายได้สูงกว่า แม้จะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม อาการของตัวแปรย่อย BF.7 ใหม่นั้นคล้ายกับไข้หวัดทั่วไปและรวมถึงไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ปวดตามตัว ปวดท้อง เป็นต้น โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้รักษาสุขอนามัยที่เหมาะสม […]

Continue Reading

ข่าวอย. สหรัฐฯ และไฟเซอร์แพ้คดีไม่เป็นความจริง

จากที่มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนไฟเซอร์ โดยข้อความดังกล่าวอ้างว่า อย. สหรัฐฯ และบริษัทไฟเซอร์แพ้คดี และไฟเซอร์ถูกบังคับให้เปิดเผยผลข้างเคียงของวัคซีน โดยข้อความดังกล่าวถูกแชร์ออกไปอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเฟซบุ๊กและไลน์  Facebook Post | Archive  มีการแชร์ต่อข้อความดังกล่าวออกไปอย่างแพร่หลายบนเฟซบุ๊ก ทาง Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว และพบว่าข้อมูลดังกล่าวชวนให้เข้าใจผิด โดยทางกรมควบคุมโรค กรมสาธารณสุขก็ได้ออกประกาศเตือนไม่ให้หลงเชื่อข้อมูลดังกล่าวบนเว็บไซต์ของทางองค์กรด้วยเช่นกัน (ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข) คำกล่าวอ้าง ข้อความดังกล่าวได้ระบุว่าคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ รวมถึงบริษัทไฟเซอร์แพ้คดี ศาลจึงสั่งให้ออกมาเปิดเผยเอกสารที่แสดงข้อมูลผลข้างเคียงจากวัคซีน ตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อทาง Fact Crescendo พบเห็นข้อความดังกล่าวที่มีการแชร์อย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ จึงทำการตรวจสอบข้อมูลโดยการค้นหาข้อมูลยืนยันจากคีย์เวิร์ดภายในข้อความ และได้พบว่าข้อความดังกล่าวมีการแชร์อย่างแพร่หลายมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 และได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริงโดยกรมควบคุมโรคตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวยังมีการแชร์อยู่บ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมา ทาง Fact Crescendo จึงต้องดำเนินการตรวจสอบอีกครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนที่อาจพบเห็นและกังวลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว โดยกรมควบคุมโรคได้ระบุว่า “รายงานเฝ้าระวังดังกล่าวนั้นไม่ได้มีการปิดบังหรือถูกศาลสั่งให้เปิดเผยแต่อย่างใด เพราะมีการเผยแพร่ให้สาธารณะทราบเป็นระยะอยู่แล้ว โดยทาง US FDA จะมีการตรวจสอบว่าอาการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน” นอกจากนี้ ยังมีการยืนยันจาก […]

Continue Reading

ข่าวเดลต้าสายพันธุ์ใหม่ตรวจไม่พบเชื้อ  ไม่เป็นความจริง

จากที่มีข้อความแชร์อย่างแพร่หลายในโซเชียล โดยเฉพาะการแชร์ผ่านแพลตฟอร์มไลน์ เกี่ยวกับอันตรายของเดลต้าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งไม่สามารถตรวจพบเชื้อได้ โดยภายในข้อความดังกล่าวได้ระบุว่า “อ่านด่วน งานเข้าแล้ว ประเทศไทย ทุกคนอ่าน คำเตือนฉุกเฉินสวมแมสก์ 2 ชั้น เพราะว่า เดลต้าสายพันธุ์ใหม่ มีความแตกต่างของการเสียชีวิต โดยตรวจไม่พบเชื้อ มาด้วยอาการดังนี้ ไม่ไอ ไม่มีไข้ แต่ส่วนใหญ่ปวดข้อ ปวดหัว ปวดคอ ปวดหลังบริเวณเหนือเอวขึ้นมา ปอดบวม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีอัตราเสียชีวิตสูงมาก การดำเนินโรคจนเข้าสู่อาการรุนแรงใช้ระยะเวลาสั้นๆ บางครั้งไม่มีอาการนำใดๆ สิ่งที่ต้องระวัง เชื้อจะไม่พักตัวที่บริเวณโพรงจมูก มันจะเข้าสู่ปอดโดยตรง ระยะฟักตัวสั้นลง ผู้เขียนพบบางครั้งผู้ป่วยไม่มีอาการไข้หรือปวดเลย แต่ภาพถ่ายรังสีมีปอดบวม ผล swab จมูก ให้ผลลบบ่อยครั้ง แม้ในโพรงจมูกก็ให้ผลลบปลอมเป็นส่วนใหญ่ หมายความว่า เชื้อนี้แพร่กระจายโดยตรงไปที่ปอด เกิดอาการปอดบวมแบบฉับพลัน เป็นคำตอบว่า ทำไมจึงเกิดอาการและเสียชีวิตในเวลาอันสั้น โปรดระมัดระวังให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด โดยเฉพาะห้องแอร์ เว้นระยะอย่างน้อย 1.5 เมตร อยู่ในที่อาการถ่ายเทได้ดี สวมแมสก์ 2 […]

Continue Reading

 รัฐบาลยืนยัน ไม่มีการงดจัดเทศกาลปีใหม่เนื่องจากการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่

จากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการแชร์ข้อความกันอย่างแพร่หลายในแพลตฟอร์มต่างๆ โดยเฉพาะในไลน์และเฟซบุ๊ก มีเนื้อความว่า  “รัฐบาลเตรียมจ่อประกาศงดเทศกาลปีใหม่ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ “เดลตาครอน XBC” ซึ่งแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว และมีผลอันตรายกว่า 2 สายพันธุ์ที่ผ่านมาถึง 3 เท่า ระมัดระวังกันด้วยนะครับ ตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านที่ติดกับไทยติดแล้วเป็นจำนวนมากครับ” (ที่มา: Line | Archive Link) ทางทีมงาน Fact Crescendo ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูลดังกล่าวและได้พบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ และรัฐบาลไม่ได้งดจัดเทศกาลปีใหม่แต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้าง: รัฐบาลเตรียมประกาศงดจัดปีใหม่ เนื่องจากกการระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกแถลงการณ์ในเพจเฟซบุ๊กขององค์กร แจ้งว่าข้อความดังกล่าวเป็นข่าวปลอม อย่าแชร์ต่อ โดยได้ระบุเพิ่มเติมว่า “ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขเฝ้าระวังทุกสายพันธุ์ และยังไม่ได้เสนอให้งดจัดเทศกาลปีใหม่” ในส่วนของโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่กล่าวถึง หรือสายพันธุ์ XBC กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ออกมาชี้แจงเมื่อวันที่ 30 พย. ว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดังกล่าวรายแรกของไทยได้หายเป็นปกติแล้ว และไม่มีอาการรุนแรงใดๆ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้ยกเลิกโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตรายและกำหนดให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเป็นทางการ สรุป ข่าวรัฐบาลงดจัดงานฉลองปีใหม่เนื่องจากโควิดสายพันธุ์ใหม่นั้นไม่เป็นความจริง […]

Continue Reading