เตือนภัย: เพจปลอมแอบอ้างว่าแจกต้นไม้ฟรี เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนตัว

ในยุคที่โซเชียลมีเดียกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การหลอกลวงผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ก็พัฒนาและซับซ้อนมากขึ้น และเมื่อเร็วๆ นี้ เราพบว่ามิจฉาชีพในรูปแบบใหม่ ใช้วิธีการสร้างเพจปลอมที่อ้างว่าแจกต้นไม้ฟรี เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อหลงเชื่อและแอดไลน์เพื่อดึงข้อมูลส่วนตัว โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เราได้รับเบาะแสจากผู้ใช้ผ่านทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา เกี่ยวกับเพจที่กล่าวอ้างว่าแจกต้นไม้ฟรีให้กับผู้ที่สนใจ โดยเมื่อเราตรวจสอบเพิ่มเติม ก็พบว่ามีผู้ใช้หลายรายที่ออกมาเตือนภัยเกี่ยวกับเพจดังกล่าวเช่นเดียวกัน ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยการตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมของเพจดังกล่าว โดยเมื่อดูในส่วน “ความโปร่งใสของเพจ” จะเห็นว่าเพจดังกล่าวผู้ดูแลเพจส่วนใหญ่จะอยู่ต่างประเทศ ซึ่งเป็นอีกสัญญาณเตือนที่ชัดเจนว่าอาจเป็นเพจหลอกลวง นอกจากนี้ เราพบว่าเพจดังกล่าวใช้ที่อยู่ปลอมในส่วนข้อมูลบนเพจ โดยเมื่อเราค้นหาที่อยู่ตามที่ระบุในเพจแล้วพบว่า เป็นที่อยู่ของ สำนักนิติการ กรมวิชาการเกษตร เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม เราใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพย้อนกลับ (Reverse Image Search) เพื่อหาที่มาของรูปภาพต้นไม้ในเพจดังกล่าว และพบว่าที่มาของรูปภาพมาจากเพจร้านต้นไม้ “เบี้ยไม้ พันธุ์ไม้ราคาถูก” โดยมีการโพสต์รูปนี้ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม ปี 2567 (ลิงก์ถาวร) ทีม Fact Crescendo ได้ติดต่อเพื่อสอบถามร้านต้นไม้ดังกล่าว และทางร้านยืนยันว่าเป็นผู้ถ่ายภาพดังกล่าวเอง แต่เพจที่แอบอ้างนั้นไม่ใช่เพจของทางร้านแต่อย่างใด รูปแบบของการหลอกลวงของเพจปลอม สร้างเพจปลอมที่ดูน่าเชื่อถือ: ใช้ชื่อและโลโก้ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติหรือการปลูกต้นไม้ […]

Continue Reading

ภาพบ้านที่รอดจากไฟไหม้ในแอลเอ แท้จริงเป็นภาพจาก AI

ท่ามกลางเหตุการณ์ไฟป่าลุกลามในลอสแองเจสิส เมื่อเร็วๆ นี้ มีรูปภาพบ้านหลังหนึ่งที่ตั้งอยู่ท่ามกลางบ้านหลังอื่นๆ ในบริเวณโดยรอบที่ถูกไฟไหม้ ที่เป็นไวรัลและได้รับการแชร์ต่ออย่างรวดเร็ว พร้อมข้อความว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์ไฟป่าในลอสแองเจลิสที่ผ่านมา โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์รูปภาพบ้านหลังดังกล่าว พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นรูปภาพหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ในแอลเอ โดยบางส่วนก็ตั้งคำถามถึงวัสดุที่บ้านหลังกล่าวใช้ แต่ก็มีบางส่วนที่ตั้งข้อสงสัยว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพจากเหตุการณ์จริงหรือไม่ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวยังมีการแชร์ต่อบนแพลตฟอร์ม X โดยมีผู้รับชมไปแล้วกว่าสองล้านครั้ง (ดูโพสต์ที่นี่ | ลิงก์ถาวร) ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ตรวจสอบหาที่มาของรูปภาพดังกล่าวโดยใช้ฟีเจอร์การค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่ารูปดังกล่าวเป็นรูปภาพที่สร้างขึ้นโดยใช้ Google AI โดยภาพที่สร้างขึ้นโดยใช้ Google AI นั้น จะมีลายน้ำดิจิทัลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถตรวจจับได้ด้วยระบบ SynthID ของ Google SynthID เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มลายน้ำดิจิทัลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าลงในพิกเซลของภาพหรือในแต่ละเฟรมของวิดีโอที่สร้างโดย AI ลายน้ำนี้ช่วยระบุว่าภาพหรือวิดีโอดังกล่าวสร้างขึ้นโดยเครื่องมือ AI ของ Google นอกจากนี้ SynthID ยังสามารถสแกนภาพหรือเฟรมในวิดีโอเพื่อตรวจจับลายน้ำดิจิทัลดังกล่าวได้ และผู้ใช้งานสามารถใช้ฟีเจอร์ “About this […]

Continue Reading

จีนจะขาย TikTok ให้กับสหรัฐฯ หรือไม่? รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ TikTok ในสหรัฐฯ

TikTok เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ที่ใช้แอปนี้เพื่อสร้างสรรค์และแชร์คลิปวิดีโอสั้นๆ ในรูปแบบใหม่ๆ มากมาย TikTok มีผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกานับสิบล้านคน และได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับผู้สร้างคอนเทนต์ในการหารายได้ หาฐานผู้ติดตาม และสร้างอิทธิพลทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม ความนิยมของ TikTok ในสหรัฐฯ กลับมาพร้อมกับความขัดแย้ง เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ มีความกังวลด้านความมั่นคงของประเทศ เพราะแอปนี้เป็นของบริษัท ByteDance ที่มีฐานอยู่ในจีน โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายเกี่ยวกับคำสั่งปิด TikTok ของรัฐบาลสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังมีผู้ใช้หลายรายที่ระบุว่าจีนพิจารณาขายกิจการ TikTok ในสหรัฐฯ ให้กับ Elon Musk อีกด้วย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง  ประวัติความเป็นมาของ TikTok และบริษัท ByteDance TikTok เปิดตัวในปี 2016 โดยบริษัท ByteDance ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2012 โดย Zhang Yiming ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน TikTok […]

Continue Reading

ซีรีส์ “Squid Game” ไม่ได้สร้างจากเหตุการณ์จริงตามข้อความไวรัลบนโซเชียล

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา Netflix ได้ปล่อยภาคต่อของซีรีส์เกาหลียอดนิยมที่กลายเป็นไวรัลทั่วโลกเมื่อปี 2021 อย่าง Squid Game ออกมา โดยหลังจากซีซั่นที่ 2 เปิดให้รับชม ก็มีข้อความไวรัลบนโซเชียลมีเดียอ้างว่า Squid Game นั้นสร้างมาจากเหตุการณ์จริง โดยอ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ในปี 1986 ที่มีผู้คนถูกจับเป็นตัวประกันและถูกบังคับให้เล่นเกมที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความที่ระบุว่า ซีรีส์ Squid Game สร้างจากเหตุการณ์จริงในปี 1986 เหตุการณ์จริงเกิดขึ้นในบังเกอร์แห่งหนึ่งในเกาหลีใต้ โดยผู้คนถูกจับเป็นตัวประกันและต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อให้อยู่รอด พร้อมอ้างว่าซีรีส์ดังเรื่องนี้มีแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์นี้ พร้อมภาพสถานที่ที่อ้างว่าเป็นภาพสถานที่จริงของเหตุการณ์ดังกล่าว ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม เราพบว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่มาของซีรีส์ Squid Game: Hwang Dong-hyuk ผู้กำกับซีรีส์ ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่าแรงบันดาลใจในการสร้าง Squid Game มาจากความยากลำบากในชีวิตส่วนตัวของเขาและการสังเกตเห็นความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ นอกจากนี้ เขายังได้รับอิทธิพลจากผลงานแนวดิสโทเปียของญี่ปุ่น เช่น Battle […]

Continue Reading

ป้าย Hollywood ในแอลเอ ไม่ได้ถูกไฟไหม้ตามภาพไวรัล

เมื่อไม่นานมานี้ ไฟป่าได้ลุกลามไปทั่วบริเวณกว้างของนคร ลอส แองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยท่ามกลางเหตุการณ์ภัยพิบัติครั้งใหญ่ มีข่าวลือแพร่สะพัดว่าป้ายฮอลลีวูด สัญลักษณ์ของเมืองแอลเอถูกไฟไหม้ สร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั่วโลก ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ภาพป้ายฮอลลีวูดอันถูกเปลวไฟปกคลุมได้แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอย่างกล้างขวาง หลังจากไฟป่าครั้งใหญ่ได้ทำลายบ้านเรือนและย่านที่อยู่อาศัยหลายแห่งในลอสแองเจลิส พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าป้ายนี้ถูกไฟไหม้ระหว่างเหตุการณ์ไฟป่าในลอสแองเจลิส ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้เริ่มต้นตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการใช้การฟีเจอร์การค้นหาภาพย้อนกลับ ซึ่งนำไปสู่ข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนี้ โพสต์บน X จากบัญชี raw_reporting เมื่อวันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา ระบุว่าข่าวลือที่ว่าป้ายฮอลลีวูดถูกไฟไหม้นั้นเป็นเท็จ โดยเผยว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นอยู่ห่างจากป้ายสัญลักษณ์นี้ถึง 2.3 ไมล์ ลิงก์ถาวร และเมื่อตรวจสอบเพิ่มเติมโดยการใช้โปรแกรมตรวจจับรูปภาพ AI ก็พบว่ารูปภาพดังกล่าวมีแนวโน้มจะสร้างด้วย AI Source: HiveModeration และเราพบว่าภาพป้ายฮอลลีวูดไฟไหม้อีกภาพที่เป็นไวรัล เป็นภาพที่สร้างโดย Grok ซึ่งเป็น AI บนแพลตฟอร์ม X โดยพบลายน้ำที่มุมด้านล่างของภาพ นอกจากนี้ บัญชี @rawsalerts บน X ก็ได้ยืนยันว่า […]

Continue Reading

รูปแบบวันในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 เกิดขึ้นเพียงหนึ่งครั้งในรอบ 823 ปี จริงหรือไม่?

ในทุกๆ ปี มักจะมีโพสต์ในโซเชียลมีเดียที่แชร์ความเชื่อเกี่ยวกับจำนวนวันในปฏิทินที่ดูน่าทึ่ง และหนึ่งในโพสต์เหล่านั้นก็คือข้อกล่าวอ้างที่ระบุว่ารูปแบบวันที่ในเดือนกุมภาพันธ์ ที่จะเกิดขึ้นเพียงแค่หนึ่งครั้งในรอบ 823 ปี ซึ่งมีการแชร์อย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้แชร์ข้อความว่าในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2025 จะมีวันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และวันเสาร์ อย่างละ 4 ครั้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงหนึ่งครั้งในรอบ 823 ปี ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในเดือนกุมภาพันธ์ ทุกวันในสัปดาห์จะเกิดขึ้น 4 ครั้งในเดือนนี้ในปี 2025 ซึ่งเป็นเรื่องปกติสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 วัน การอ้างว่ารูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวใน 823 ปีนั้นจึงไม่เป็นความจริง ปฏิทินเดือนกุมภาพันธ์ 2025 เนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์มี 28 วันในทุกปี ยกเว้นปีอธิกสุรทินที่มี 29 วัน ดังนั้นในปีปกติ แต่ละวันในสัปดาห์จะเกิดขึ้น 4 […]

Continue Reading

ชวนให้เข้าใจผิด: ฟุตเทจเก่าถูกนำมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์เครื่องบินของอาเซอร์ไบจานตก

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2024 มีวิดีโอที่แพร่กระจายบนสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งถูกระบุว่าเป็นเหตุการณ์ภายในเครื่องบิน ก่อนเครื่องบินไฟลท์ J2-8243 ของอาเซอร์ไบจานที่ตกในคาซัคสถาน โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแชร์และการรับชมอย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้ TikTok ได้โพสต์คลิปรายงานสถานการณ์เครื่องบินของประเทศอาเซอร์ไบจานที่ตกที่บริเวณตะวันตกของประเทศคาซัคสถาน พร้อมฟุตเทจภายในเครื่องบิน โดยระบุว่าเป็นเหตุการณ์ก่อนที่เครื่องบินของประเทศอาเซอร์ไบจานเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแชร์กว่าพันครั้ง และมีการรับชมไปกว่า 1.6 ล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบเราพบว่า ฟุตเทจในส่วนเริ่มต้นของวิดีโอที่แสดงถึงเหตุการณ์ชุลมุนภายในเครื่องบิน ไม่ได้มาจากไฟลท์ J2-8243 ที่ประสบอุบัติเหตุในช่วงปลายปีที่แล้วแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง เราได้ดำเนินกการตรวจสอบโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหารูปภาพแบบย้อนกลับ (Reverse Image Search) และพบว่าพบว่าวิดีโอนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2024 ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับไฟลท์ J2-8243 ที่ตกเมื่อวันที่ 25 ธันวาคมที่ผ่านมานี้แต่อย่างใด โดยเป็นวิดีโอแสดงเหตุการณ์ขัดข้องทางเทคนิคบนเที่ยวบินหมายเลข AH3018 ของสายการบิน Algerian Air ที่เดินทางจากแอลจีเรียไปยังกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ลิงก์ถาวร จากคำบรรยายในวิดีโอได้ระบุว่า เครื่องบินประสบปัญหาทางเทคนิคหลังจากออกเดินทางจากสนามบิน Houari Boumediene […]

Continue Reading

จีนและอินเดียยังไม่ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินจากโรค HMPV

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อมูลอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการระบาดของโรค HMPV ในประเทศจีน พร้อมกับการอ้างว่ามีการประกาศภาวะฉุกเฉินในประเทศจีนและอินเดียแล้ว โดยข้อมูลดังกล่าวได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดียและสร้างความกังวลและสับสนแก่ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย  มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อมูลว่า จีนและอินเดียได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน เนื่องจากโรค HMPV (Human Metapneumovirus) ระบาด พร้อมระบุว่าล่าสุดโรงพยาบาลได้เมืองหลักต่างๆ เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว มีภาวะผู้ป่วยล้นจนเตียงเต็ม เนื่องมาจากการติดเชื้อ HMPV ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตรวจสอบข้อเท็จจริง HMPV คืออะไร? Human Metapneumovirus (HMPV) เป็นไวรัสในตระกูล Paramyxoviridae ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ไวรัสนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2001 โดยการศึกษาพบว่า HMPV สามารถแพร่กระจายได้ทั่วโลกและพบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ แม้ว่า HMPV จะมีลักษณะคล้ายกับ RSV (Respiratory Syncytial Virus) […]

Continue Reading

Fact Crescendo Thailand 2024 Recap: รวบรวมบทความตรวจสอบข้อเท็จจริงที่น่าสนใจตลอดปี 2024

ในโลกยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงกับข้อมูลที่บิดเบือนยังคงเป็นสิ่งที่เรามุ่งมั่นทำมาตลอดปี 2024 โดยบทความนี้ เราได้รวบรวมประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ทีม Fact Crescendo Thailand ได้ตรวจสอบในปี 2024 ครอบคลุมทั้งด้านสุขภาพ กลโกงออนไลน์ และข่าวต่างประเทศที่เป็นไวรัลบนโซเชียลมีเดีย หมวดสุขภาพ ในปี 2024 ทีม Fact Crescendo Thailand ได้ตรวจสอบข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับสุขภาพหลายประเด็น ซึ่งมักจะเป็นข้อมูลที่สร้างความเข้าใจผิดและอาจส่งผลต่อการตัดสินใจด้านสุขภาพของประชาชน หนึ่งในหัวข้อสำคัญในช่วงต้นปีที่ผ่านมาคือเรื่องโควิด-19 โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่อย่าง JN.1 โดยเราได้เผยแพร่บทความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรง อาการ และวิธีป้องกัน เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าใจและเตรียมตัวรับมือโรคระบาดได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสอบข้อกล่าวอ้างที่เชื่อมโยงวัคซีน mRNA กับ การเกิดลิ่มเลือดสีขาว ซึ่งข้อเท็จจริงชี้ว่าไม่มีหลักฐานยืนยันความเชื่อมโยงดังกล่าว อีกประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจคือความเชื่อด้านสุขภาพที่มีการแชร์ต่ออย่างแพร่หลายบนโซเชียล เช่น การอ้างว่า การถือของหนักหรือสะพายกระเป๋าหนัก อาจนำไปสู่การเป็นโรคกระดูกสันหลังคด และข้อกล่าวอ้างที่ว่า การสระผมก่อนอาบน้ำอาจทำให้เส้นเลือดในสมองแตก หรือข้อความที่อ้างว่า การรับประทานเมล็ดมะละกอสามารถรักษามะเร็งได้ ล้วนเป็นข้อมูลที่ขาดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน ในด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ยังมีการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าสามารถป้องกันรังสี EMF ได้ ซึ่งพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพจริง เช่นเดียวกับข่าวลือเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนโควิด-19 กับ การระบาดของโรคฝีดาษลิง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง […]

Continue Reading

ภาพไวรัลที่ระบุว่าเป็นจอดรถในญี่ปุ่น ที่จริงแล้วถ่ายที่อังกฤษ

ภาพถ่ายทางอากาศของลานจอดรถที่มีการจัดระเบียบอย่างเป็นระบบ ถูกแชร์อย่างแพร่หลายทางออนไลน์พร้อมคำกล่าวอ้างว่าเป็นภาพลานจอดรถในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าภาพนี้ไม่ได้แสดงถึงภาพลานจอดรถในประเทศญี่ปุ่นตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ข้อกล่าวอ้างบนโซเชียลมีเดีย ภาพถ่ายที่โดดเด่นสะดุดตา โดยการถ่ายจากมุมสูงของลานจอดรถที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ถูกแชร์พร้อมข้อกล่าวอ้างว่าเป็นภาพลานจอดรถในประเทศญี่ปุ่น ด้วยความสมมาตรและความสวยงามของภาพ หลายคนเชื่อมโยงภาพนี้เข้ากับการวางผังเมืองความเป็นระบบระเบียบที่ถือเป็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวญี่ปุ่น ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่ารูปภาพนี้ไม่ได้ถ่ายขึ้นที่ญี่ปุ่นแต่อย่างใด ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังจากดำเนินการตรวจสอบด้วยการใช้ฟีเจอร์การค้นหาภาพย้อนกลับ (Reverse Image Search) ซึ่งเรานำไปยังบทความของ Daily Mail ที่มีการสัมภาษณ์ช่างภาพผู้ถ่ายภาพไวรัลนี้ โดยภาพนี้ถ่ายที่เมืองดอนแคสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ไม่ใช่ญี่ปุ่น โดยภาพดังกล่าวเป็นภาพของรถยนต์ที่ยังไม่ได้จัดจำหน่ายในลานจอดรถของโรงงาน ซึ่งถ่ายไว้โดยสองพี่น้องชาวอังกฤษ JP และ Mike Andrews อายุ 38 และ 36 ปี โดยทั้งสองคนเป็นที่รู้จักจากผลงานภาพถ่ายทางอากาศที่สวยงามและเป็นเอกลักษณ์ JP และ Mike Andrews เป็นที่รู้จักจากการใช้โดรนถ่ายภาพในคอนเซปต์ “โลกที่แปลกตาและน่าอัศจรรย์” จากมุมสูง ผลงานของทั้งสองมักจะเปลี่ยนมุมมองที่พบเห็นได้ทั่วไปให้กลายเป็นองค์ประกอบภาพที่น่าประทับใจ และภาพลานจอดรถที่เป็นไวรัลนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในคอลเลกชันภาพถ่ายของพวกเขา […]

Continue Reading