Archives

SCB จะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการโอน 5 บาท จริงหรือ?

ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีการเผยแพร่ข้อความผ่านสื่อสังคมออนไลน์หลายช่องทาง อ้างว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงิน 5 บาทต่อรายการ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป ทำให้ประชาชนจำนวนมากเกิดความกังวลใจว่าอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมในการโอนเงินผ่านแอป SCB EASY ซึ่งเป็นบริการที่ผู้ใช้จำนวนมากนิยมใช้ในการทำธุรกรรมประจำวัน โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการแชร์ข้อความบนโซเชียลมีเดียอย่างกว้างขวางว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมการโอนเงิน 5 บาทต่อรายการ เมื่อทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร (SCB EASY) ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน เป็นต้นไป ข้อความดังกล่าวสร้างความสับสนอย่างมากในโลกออนไลน์ โดยมีผู้แชร์ต่อพร้อมแสดงความคิดเห็นเชิงไม่พอใจต่อธนาคารจำนวนมาก ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังจากเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์บนโลกออนไลน์ SCB ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียของทางธนาคารเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2568 โดยชี้แจงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวไว้ดังนี้ ค่าธรรมเนียมที่เป็นประเด็น: ค่าธรรมเนียมโอนเงิน 5 บาทต่อรายการนั้น มีผลเฉพาะลูกค้านิติบุคคลรายใหม่ ที่สมัครใช้บริการ SCB […]

Continue Reading

จริงหรือไม่: ดื่มชาเขียวพร้อมกับนมวัวทำให้ดูดซึมแคลเซียมไม่ได้และทำลายสารต้านอนุมูลอิสระ?

ในยุคที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น การผสมผสานเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างชาเขียวก็กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น แต่มีข้อถกเถียงในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับผลกระทบต่อคุณค่าทางโภชนาการในการดื่มชาเขียวใส่นมวัว ว่าจะทำลายคุณประโยชน์ในชาเขียวและทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมไม่ได้ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในสื่อออนไลน์มีการแชร์ข้อมูลว่าการดื่มชาเขียวพร้อมกับนมวัวจะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากนมไม่ได้ และทำลายคุณค่าของสารต้านอนุมูลอิสระ (catechins) ในชาเขียว Source | Archive Source | Archive ตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลการวิจัยเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระ (Catechins) งานวิจัยพบว่า ชาเขียวมีสารกลุ่ม catechins ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ ส่วนนมวัวมีโปรตีนหลักคือ เคซีน (casein) ที่อาจไปจับกับสาร polyphenols ในชาได้ โดยการจับตัวกันนี้สามารถเปลี่ยนคุณสมบัติของสารและโปรตีนได้ วารสารงานวิจัยของ EFSA ชี้ให้เห็นว่า catechins ในชาเขียวสามารถจับกับโปรตีนในนม (เคซีน) ซึ่งอาจทำให้สาร catechin ที่อยู่ในรูป “อิสระ” ลดลงได้ นอกจากนี้ งานวิจัยใน Food Research International (2020) ชี้ว่า เมื่อเติมนมลงในชาเขียว ปริมาณ catechins ที่เข้าสู่ระบบและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระโดยรวมอาจลดลงบ้าง เมื่อมีการจับกับโปรตีน โดยระบุว่า การทำฏิกิริยาระหว่าง catechins กับโปรตีนในนมทำให้ปริมาณ catechins ที่พร้อมดูดซึมได้และการต้านอนุมูลอิสระของ “เครื่องดื่มชานม” ลดลง เมื่อจำลองการย่อยในกระเพาะและลำไส้ อย่างไรก็ตาม […]

Continue Reading

กด 1 หรือ 2 ตอบ SMS แล้วเงินจะถูกดูดออกจากบัญชี จริงหรือไม่?

เมื่อเร็วๆ นี้ มีการแชร์ข้อความว่ามี SMS สอบถามเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่เมื่อตอบกลับ SMS ด้วยการกดเลข “1” หรือ “2” จะทำให้ถูกดูดเงินในบัญชี โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีข้อความแพร่กระจายทั้งบนแพลตฟอร์ม LINE และ Facebook ที่ระบุว่า เมื่อตอบกลับข้อความ SMS สอบถามการฉีดวัคซีนโควิด 19 จะถูกดูดเงินออกจากบัญชีธนาคาร โดยมีเนื้อหาดังนี้: “เตือนให้ระวัง !!! ที่เมืองจีนโดนแล้ว จะมีข้อความถามว่า คุณได้รับการฉีดวัคซีน”โควิด19″หรือยัง ได้รับแล้วโปรดกด “1” ยังไม่ได้ฉีดโปรดกด “2” เกือบทุกคนก็จะกด “1” ก็จะโดนดูดเงินออกจากบัญชี เมืองไทยกำลังจะมา..หากมีข้อความทำนองนี้ส่งเข้าไปในโทรศัพท์ของท่าน ก็ไม่ต้องสนใจอะไรทั้งนั้น..ลบทิ้งลูกเดียว ผู้ที่ลบเองไม่เป็น..รีบให้ลูกหลานลบให้” ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง มี SMS ลักษณะดังกล่าวระบาดที่จีนจริงหรือไม่? จากการตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ เราไม่พบรายงานข่าวเกี่ยวกับข้อความสอบถามเกี่ยวกับการรับวัคซีนโควิด-19 ที่เมื่อตอบกลับแล้วจะทำการแฮ็กข้อมูลหรือดูดเงินออกจากบัญชีธนาคารได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2022 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง […]

Continue Reading

71% ของสินค้าบน Amazon มาจากจีน จริงหรือไม่?

เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อกล่าวอ้างที่กำลังได้รับความสนใจ ที่ระบุว่า “71% ของสินค้าบน Amazon มาจากจีน” พร้อมกราฟประกอบ ทำให้ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้รับความสนใจและแชร์ต่ออย่างรวดเร็วบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย โพสต์ไวรัลที่แพร่หลายบนโลกออนไลน์แสดงข้อความว่า “71% ของสินค้าบน Amazon มาจากจีน” โดยแนบกราฟชื่อว่า “Made in China, Sold on Amazon” ซึ่งอ้างอิงจาก Jungle Scout ผ่าน ECDB (2024) และเผยแพร่โดย Statista ที่มา | ลิงก์ถาวร กราฟที่นำเสนอปรากฏข้อมูลว่า จีนครองตลาด Amazon ด้วยสัดส่วน 71% ของสินค้า อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าเมื่อรวมเปอร์เซ็นต์จากทุกประเทศในกราฟ จะได้ผลรวมถึง 162% ซึ่งการแสดงเปอร์เซ็นต์ที่ถูกต้องควรรวมกันได้ 100% เท่านั้น ชี้ให้เห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนในการตีความข้อมูล ตรวจสอบข้อเท็จจริง วิธีการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ กราฟนี้มีที่มาจาก Jungle Scout ผ่าน ECDB (2024) […]

Continue Reading

วิดีโออ้างว่าตึกถล่มจากแผ่นดินไหวในเชียงใหม่วันที่ 21 เม.ย. ไม่เป็นความจริง

ในช่วงวันที่ 21 เมษายน 2568 ได้มีการแพร่กระจายวิดีโอที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์ตึกถล่มจากแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมข้อความระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียด พบว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงและอาจสร้างความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน โพสต์บนโซเชียลมีเดีย เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอตึกถล่ม พร้อมข้อความว่า เกิดเหตุตึกถล่มขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่มา | ลิงก์ถาวร โดยวิดีโอดังกล่าวมีการแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบข้อมูล เราไม่พบรายงานใด ๆ ที่ยืนยันว่าเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงจนทำให้ตึกถล่มในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ แม้ว่าจะมีรายงานแผ่นดินไหวขนาดเล็กในประเทศไทย เช่น แผ่นดินไหวขนาด 1.9 แมกนิจูดที่ตำบลยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และแผ่นดินไหวขนาด 1.6 ถึง 2.3 แมกนิจูดในพื้นที่ตำบลเวียงเหนือและตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ และไม่มีรายงานตึกถล่มตามที่วิดีโอดังกล่าวอ้างถึง จากการวิเคราะห์วิดีโอที่แพร่กระจาย พบว่ามีความเป็นไปได้สูงว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและตึกถล่มที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 […]

Continue Reading

โพสต์ไวรัลว่า Cynthia Erivo รับบทราพันเซลในเวอร์ชันคนแสดง ไม่เป็นความจริง

ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2025 ได้มีการเผยแพร่โพสต์บนโซเชียลมีเดียที่อ้างว่า Disney ได้ระงับการสร้างภาพยนตร์ Tangled เวอร์ชั่นไลฟ์แอ็กชันเอาไว้ และโดยเวอร์ชั่นดังกล่าวได้มีการประกาศว่า Cynthia Erivo นักแสดงหญิงชื่อดัง จะมารับบทเป็นราพันเซล ข้อกล่าวหานี้ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากในอดีต Disney เคยได้รับกระแสวิพากย์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในการตัดสินใจเลือกนักแสดงนำของภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันที่นำมาจากการ์ตูนยอดฮิต และ Erivo เองก็เป็นนักแสดงหญิงที่กำลังมาแรง โพสต์ในโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้มีการแชร์ข่าวเกี่ยวกับการที่ Disney ระงับโปรเจกต์ภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันเรื่อง Tangled พร้อมกับภาพตัดต่อของ Cynthia Erivo ในชุดของราพันเซล ซึ่งอาจชี้ให้ผู้อ่านเข้าใจว่าตัวโปรเจกต์ต้องหยุดชะงักเนื่องจากการเลือกนักแสดงนำหญิงคนนี้ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณี Disney ระงับโปรเจกต์ Tangled ไลฟ์แอ็กชัน จากรายงานของ BBC เมื่อเดือนธันวาคม 2024 Disney ได้ประกาศสร้างภาพยนตร์ Tangled เวอร์ชั่นไลฟ์แอ็กชัน โดยระบุว่า Michael Gracey จะมารับหน้าที่ผู้กำกับ แต่ไม่มีการระบุรายชื่อของนักแสดง ไม่ว่าจะเป็น […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัล ไม่ใช่ “เหลนของสมาชิกวง Bee Gees” ตามข้อกล่าวอ้าง

เมื่อไม่นานมานี้ มีวิดีโอหนึ่งที่อ้างว่าเป็น “เหลนของวง Bee Gees” ร้องเพลง How Deep Is Your Love? ของวง Bee Gees ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีความคิดเห็นหลากหลายตั้งแต่การชื่นชมไปจนถึงการตั้งข้อสงสัย โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์วิดีโอพร้อมข้อความว่า “แฝดสี่รุ่นเหลน ร้องเพลง Bee Gees” โดยมีการรับชมบนแพลตฟอร์ม TikTok ไปกว่าหนึ่งล้านครั้ง ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง เราเริ่มต้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการตรวจสอบหาที่มาของวิดีโอดังกล่าว และพบว่าผู้ที่แสดงในวิดีโอนี้คือ Ky Baldwin นักร้องและนักแสดงชาวออสเตรเลีย ซึ่งเขาเป็นผู้สร้างวิดีโอนี้ขึ้นมาเอง โดยใช้เทคนิคพิเศษ (Special Effects) ทำให้ดูเหมือนมีตัวเขาหลายคนร่วมแสดงพร้อมกัน Ky Baldwin เป็นที่รู้จักในเรื่องการสร้างวิดีโอในลักษณะนี้มาก่อน ตัวอย่างเช่น ในเดือนกรกฎาคม ปี 2023 เขาเคยทำวิดีโอคัฟเวอร์เพลง I Want It That Way ของวง Backstreet Boys […]

Continue Reading

จดหมายไวรัลที่อ้างว่าเป็นข้อความจาก ปธน. เม็กซิโก ถึงทรัมป์และมัสก์ เป็นของปลอม

เมื่อไม่นานมานี้ มีโพสต์บนโซเชียลมีเดียแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่าเป็นจดหมายจากประธานาธิบดีเม็กซิโก คลอเดีย เซนบาม (Claudia Sheinbaum) ที่ส่งถึงโดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ เกี่ยวกับนโยบายสร้างกำแพงชายแดน จดหมายฉบับนี้มีเนื้อหาเสียดสีเกี่ยวกับภูมิประเทศของสหรัฐฯ และยังขู่ถึงการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในระดับโลก จนกลายเป็นกระแสไวรัลบนแพลตฟอร์มต่างๆ โพสต์บนโซเชียลมีเดีย จดหมายไวรัลฉบับนี้เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ช่วงต้นปี 2025 โดยอ้างว่าเป็นแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีเซนบาม เพื่อตอบโต้นโยบายใหม่เรื่องชายแดนของทรัมป์ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 จดหมายดังกล่าวกล่าวถึงโครงการสร้างกำแพงกั้นพรมแดน พร้อมอ้างว่าอีลอน มัสก์ มีส่วนร่วมในโครงการนี้ร่วมกับรัฐบาลของทรัมป์ พร้อมทั้งอธิบายถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา และลงท้ายด้วยชื่อของประธานาธิบดีเม็กซิโกที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2024 ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร การตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบของเรา พบว่าไม่มีบันทึกอย่างเป็นทางการใด ๆ ที่แสดงว่า คลอเดีย เซนบาม เขียนหรือส่งจดหมายฉบับนี้ถึงทรัมป์และมัสก์ในปี 2025 แต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการของเซนบาม เว็บไซต์รัฐบาลเม็กซิโก รวมถึงบันทึกคำแถลงข่าวรายวันระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน 2025 ก็ไม่ปรากฏข้อความหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจดหมายฉบับดังกล่าวเลย ที่มาของข้อความ […]

Continue Reading

ทีม K9 – ผู้ว่าชัชชาติ ยืนยัน ไม่มีการส่งสุนัข K9 ทำภารกิจในพื้นที่เสี่ยง

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา มีข้อความที่ถูกแชร์อย่างแพร่หลายบนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าทีม K9 เตรียมส่ง “นวล” สุนัข K9 เข้าปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยง เพื่อค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหว พร้อมระบุว่าทีมพร้อมรับภารกิจเสี่ยงและยอมรับสภาพหากเกิดการสูญเสีย ข้อความดังกล่าวสร้างความกังวลและกระตุ้นให้ประชาชนออกมาคัดค้านการส่งสุนัข K9 เข้าปฏิบัติงานในภารกิจนี้อย่างกว้างขวาง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย มีผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายราย ได้ออกมาแชร์ข้อความว่า จะมีการส่ง “นวล” K9 เข้าไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยง และพร้อมรับความสูญเสียสุนัข K-9 ที่มา | ลิงก์ถาวร ข้อความดังกล่าวสร้างความกังวลให้แก่ประชาชนอย่างเป็นวงกว้าง โดยมีผู้ใช้หลายรายได้ออกมาคัดค้านการนำสุนัข K-9 ลงปฏิบัติภารกิจในพื้นที่เสี่ยง ดังโพสต์ด้านล่างนี้ ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง แถลงการณ์จากองค์การสุนัขกู้ภัยแห่งชาติ (K9 USAR Thailand) เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2568 นายอลงกต ชูแก้ว รองผู้อำนวยการองค์การสุนัขกู้ภัยแห่งชาติ หรือ K9 USAR Thailand ได้ออกแถลงการณ์ผ่านหน้าเพจเฟซบุ๊กอย่างเป็นทางการ “K9 […]

Continue Reading

วิดีโอไวรัลเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวที่เมียนมา แท้จริงแล้วที่สร้างด้วย AI

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วิดีโอที่อ้างว่าแสดงถึงภาพเหตุการณ์หลังแผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศเมียนมาร์ได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยวิดีโอดังกล่าวแสดงภาพที่ถ่ายจากมุมสูง เผยให้เห็นเจดีย์สององค์ที่อยู่ท่ามกลางซากปรักหักพัง รายล้อมด้วยอาคารที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนสองสาย โดยวิดีโอดังกล่าวได้รับความสนใจและถูกแชร์ออกไปพร้อมข้อความแสดงความเสียใจและความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเป็นวงกว้าง โพสต์บนโซเชียลมีเดีย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียได้แชร์วิดีโอที่อ้างว่าแสดงให้เห็นความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมียนมาร์ คลิปวิดีโอพร้อมภาพจากวิดีโอนี้ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วผ่านโซเชียลมีเดีย ที่มา | ลิงก์ถาวร ที่มา | ลิงก์ถาวร ตรวจสอบข้อเท็จจริง จากการตรวจสอบ เราพบหลายประเด็นที่บ่งชี้ว่าวิดีโอดังกล่าวไม่ได้มาจากเหตุการณ์จริง ดังนี้ ความไม่สอดคล้องทางภูมิศาสตร์ วิดีโอมีภาพเจดีย์สององค์ที่มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมยุคพุกาม แต่เมืองที่ได้รับผลกระทบหลักจากแผ่นดินไหวอย่างสะกายและมัณฑะเลย์ ไม่มีเจดีย์ลักษณะนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองแบบที่ปรากฏในวิดีโอ ส่วนเมืองพุกามซึ่งมีชื่อเสียงด้านเจดีย์โบราณจำนวนมากนั้น ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนัก นอกจากนี้ ฉากหลังในวิดีโอก็ไม่ตรงกับภูมิทัศน์ของพุกาม วิดีโอเหตุการณ์เปรียบเทียบจาก INQUIRER.net ของเจดีย์ในมัณฑะเลย์หลังแผ่นดินไหว ไม่มีการรายงานจากสื่อท้องถิ่น จากการตรวจสอบ เราไม่พบวสำนักข่าวที่เชื่อถือได้ในภาษาพม่าที่รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ใช้วิดีโอนี้ในการรายงานแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นอีกเบาะแสว่าต้องมีการตรวจสอบที่มาของวิดีโอนี้เพิ่มเติม สัญญาณของการใช้ AI การวิเคราะห์ภาพ: เราใช้เครื่องมือวิเคราะห์และตรวจจับภาพที่สร้างโดยใช้ AI ตรวจสอบคีย์เฟรมจากวิดีโอดังกล่าว และได้ผลลัพธ์ว่าวิดีโอนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกสร้างขึ้นด้วย AI ที่มา: Was it AI? ความยาวของวิดีโอ: วิดีโอยาวเพียง 6 วินาที […]

Continue Reading