เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเนื่องจากการระบาดของไวรัส Mpox โดยการแพร่ระบาดครั้งล่าสุดมาจากสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าสายพันธุ์ Clade I โดยการประกาศภาวะฉุกเฉินของ WHO ในครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการสร้างการตระหนักรู้และกระตุ้นให้นานาชาติดำเนินการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสนี้ (ที่มา)

และในขณะเดียวกัน เราพบข้อกล่าวอ้างแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียที่ระบุว่า WHO ได้ขอให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ เตรียมตัวสำหรับ “การล็อกดาวน์ครั้งใหญ่” เนื่องจากการระบาดของไวรัส Mpox

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

เมื่อไม่นานนี้ ผู้ใช้โซเชียลมีเดียหลายรายได้แชร์ข้อความที่อ้างว่า WHO ประกาศว่ารัฐบาลควรเตรียมพร้อมรับมือกับ "การล็อกดาวน์ครั้งใหญ่" เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส Mpox โดยข้อความดังกล่าวถูกแชร์ในแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook และ X

A person with glasses and a mustache  Description automatically generated

Source | Archive

A screenshot of a social media post  Description automatically generated

Source | Archive

A person with glasses and a mustache  Description automatically generated

Source | Archive

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

จากการตรวจสอบ เราพบว่า WHO ยังไม่ได้ออกประกาศใดๆ เกี่ยวกับการเตรียมการล็อกดาวน์ในปัจจุบัน แม้ว่า WHO จะประกาศให้ Mpox เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่มีความน่ากังวลในระดับนานาชาติ เนื่องจากมีการแพร่ระบาดในบางภูมิภาค แต่ WHO ก็ไม่ได้แนะนำให้ควบคุมโรคนี้ด้วยการล็อกดาวน์แต่อย่างใด เนื่องจาก Mpox แพร่กระจายผ่านการสัมผัสผิวหนังโดยตรง ทำให้มีโอกาสเกิดโรคระบาดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโรคที่แพร่ทางอากาศ เช่น COVID-19

นอกจากนี้ ทีมงาน Fact Crescendo ได้ติดต่อไปยังสำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ซึ่งได้รับการยืนยันว่ “ในคำแนะนำของ WHO ไม่ได้มีการระบุถึงการล็อกดาวน์ใดๆ ทั้งสิ้น” โดยสามารถดูคำแนะนำเกี่ยวกับไวรัส Mpox จาก WHO ได้ที่นี่

Archive

และนอกเหนือจากข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับการล็อกดาวน์แล้ว เรายังพบรูปภาพที่อ้างว่าเป็นภาพของผู้ป่วย Mpox แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย (ที่นี่และที่นี่) หลังจากค้นหาแหล่งที่มาของรูปภาพโดยใช้การค้นหาภาพย้อนกลับ (Reverse Image Search) เราพบว่ารูปภาพดังกล่าวมีการโพสต์ครั้งแรกตั้งแต่เมื่อตุลาคม 2022 โดยแพทย์ชาวเม็กซิกัน แพทย์รายดังกล่าวชี้แจงว่าแม้ว่าผู้ป่วยรายนี้จะติดเชื้อโรค Mpox จริง แต่ผู้ป่วยรายนี้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องร่วมด้วย ดังนั้น การอ้างว่ารูปภาพนี้แสดงถึงเชื้อ Mpox สายพันธุ์ล่าสุดจึงถือเป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด

Archive

ความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ไวรัส Mpox สายพันธุ์ I และ II

ไวรัส Mpox แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ สายพันธุ์ I และสายพันธุ์ II โดยสายพันธุ์ I พบส่วนใหญ่ในแอฟริกากลาง ซึ่งทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่า โดยการระบาดในบางครั้งมีอัตราผู้เสียชีวิตสูงถึง 10% และสายพันธุ์นี้มักจะเป็นการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คน โดยส่วนใหญ่มาจากสัตว์ฟันแทะ และมีการแพร่กระจายจากคนสู่คนในวงที่จำกัด ในทางตรงกันข้าม สายพันธุ์ II ซึ่งประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อย IIa และ IIb มีความรุนแรงน้อยกว่า และมีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า โดยสายพันธุ์ IIb เป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดทั่วโลกในปี 2022 โดยสายพันธุ์นี้จะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสระหว่างคนสู่คนได้ง่ายยิ่งขึ้น

ข้อแตกต่างหลัก:

  • ความรุนแรง: สายพันธุ์ I มีความรุนแรงกว่าและมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ II
  • การแพร่เชื้อ: สายพันธุ์ I จะแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนเป็นหลัก ในขณะที่สายพันธุ์ II โดยเฉพาะสายพันธุ์ IIb จะแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ง่ายมากกว่า
  • พื้นที่ที่แพร่เชื้อ: สายพันธุ์ I เป็นโรคประจำถิ่นในแถบแอฟริกากลาง ในขณะที่สายพันธุ์ II เป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดในแอฟริกาตะวันตกและทั่วโลก

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดมาตรการป้องกันเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ Mpox (เดิมเรียกว่าโรคฝีดาษลิง) โดยหลักๆ มีดังนี้

  1. ฉีดวัคซีน: WHO แนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงฉีดวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการระบาด โดยควรฉีดภายใน 4 วันหลังจากสัมผัสกับผู้ป่วย Mpox แต่วัคซีนจะยังคงมีประสิทธิภาพภายใน 14 วัน หากไม่มีอาการ
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด: เชื้อ Mpox จะแพร่กระจายผ่านการสัมผัสใกล้ชิด รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อและการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยจึงสามารถลดความเสี่ยงในการติดต่อได้
  3. รักษาสุขอนามัย: การล้างมือเป็นประจำด้วยสบู่และน้ำ หรือใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสได้ และการฆ่าเชื้อบนพื้นผิวและวัตถุต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนก็มีความสำคัญเช่นกัน
  4. กักตัว: ผู้ติดเชื้อควรแยกตัวจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส
  5. ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE): เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ดูแลควรใช้ PPE ที่เหมาะสม เช่น ถุงมือและหน้ากาก เมื่อดูแลผู้ติดเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  6. มีมาตรการสาธารณสุข: เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรติดตามการติดต่อของเชื้อไวรัส สื่อสารเกี่ยวกับความเสี่ยงและมาตรการป้องกันอย่างชัดเจน และสร้างความมั่นใจว่าประชาชนสามารถเข้าถึงการดูแลทางการแพทย์และวัคซีนได้

สรุป

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลกเนื่องจากการระบาดของไวรัส Mpox ซึ่งเกิดจากสายพันธุ์ใหม่ แม้จะมีการกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดียว่า WHO เตือนให้มีการ "ล็อกดาวน์ครั้งใหญ่" แต่ WHO ได้ยืนยันแล้วว่าไม่ได้แนะนำมาตรการดังกล่าว โดยไวรัส Mpox แพร่กระจายโดยผ่านการสัมผัสใกล้ชิดเป็นหลัก มาตรการป้องกันที่สำคัญ ได้แก่ การฉีดวัคซีน การหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด การปฏิบัติสุขอนามัย การแยกผู้ติดเชื้อ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล

ที่มา:

Avatar

Title:WHO ไม่ได้แนะนำให้มีการล็อกดาวน์เพื่อป้องกัน Mpox

Fact Check By: Cielito Wang

Result: False