เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมคนที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้ยุบพรรคก้าวไกล โดยระบุเหตุผลไว้ตอนหนึ่งว่าพฤติการณ์ของพรรคก้าวไกลที่เสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และใช้เป็นนโยบายพรรคในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยใช้ประโยชน์จากสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อหวังคะแนนเสียงและชนะการเลือกตั้ง มุ่งหมายให้สถาบันฯ อยู่ในฐานะคู่ขัดแย้งกับประชาชน (ที่มา: BBC)

ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีข้อความแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียว่าศาลโลกได้นำเรื่องการยุบพรรคก้าวไกลไปพิจารณาในศาลอุทธรณ์

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

เราได้รับเบาะแสผ่านทาง LINE ตรวจสอบข้อเท็จจริงของเรา โดยมีวิดีโอบนแพลตฟอร์ม TikTok ที่ระบุว่า “ก้าวไกลเฮลั่น!! ศาลโลกได้หยิบเรื่องการยุบพรรคก้าวไกล พิจารณาในศาลอุทธรณ์ โอกาสชนะสูง”

ที่มา | ลิงก์ถาวร

โดยวิดีโอดังกล่าวมีการกดถูกใจกว่าหกหมื่นครั้ง และแขร์ต่อกว่าสี่พันครั้ง

นอกจากนี้เรายังพบข้อกล่าวอ้างเดียวกันแพร่กระจายบนแพลตฟอร์ม Facebook ด้วยเช่นเดียวกัน

ที่มา | ลิงก์ถาวร

ที่มา | ลิงก์ถาวร

A screenshot of a blue screen  Description automatically generated

ที่มา | ลิงก์ถาวร

อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่าข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ส่งเบาะแสข้อมูลให้เราช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ที่นี่

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

ไม่พบรายงานจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ: เราได้พยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เราไม่พบรายงานข่าวใดๆ จากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือที่ระบุว่าศาลโลกจะนำคดียุบพรรคก้าวไกลมาพิจารณาแต่อย่างใด นอกจากนี้ ในวิดีโอฉบับเต็มที่ระบุข้อกล่าวอ้างนี้ ก็ไม่ได้อ้างอิงถึงแหล่งที่มาใดๆ

หน้าที่ของศาลโลก: โดยปกติแล้ว ศาลโลก หรือศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ) จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศของรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย และหลักการ “ไม่แทรกแซง” ถือเป็นแนวคิดพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งหมายความว่า ICJ เคารพอำนาจอธิปไตยและความเป็นอิสระทางการเมืองของรัฐต่างๆ (ที่มา) หน้าที่หลักของ ICJ คือการตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศและการให้ความเห็นที่ปรึกษาในประเด็นทางกฎหมายที่ถูกส่งมาจากหน่วยงานของสหประชาชาติหรือองค์กรเฉพาะทางอื่น ๆ ของ UN (ที่มา)

ความเห็นขององค์กรต่างชาติต่อกรณียุบพรรคก้าวไกล: อย่างไรก็ตาม มีองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่งแสดงความเห็นและข้อกังวลเกี่ยวกับการยุบพรรคก้าวไกลในประเทศไทย เช่น

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา: สหรัฐอเมริกาแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของศาลรัฐธรรมนูญไทยในการยุบพรรคก้าวไกลและสั่งห้ามแกนนำ 11 คนของพรรคไม่ให้เล่นการเมือง โดยได้เน้นย้ำว่าการตัดสินใจครั้งนี้ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งของไทยหลายล้านคนสูญเสียสิทธิและเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าทางประชาธิปไตยของไทย (ที่มา)

ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติ: ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติแสดงความกังวลเกี่ยวกับการยุบพรรค โดยอธิบายว่าเป็นการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่เป็นประชาธิปไตย โดยกล่าวว่า การอภิปรายทางการเมือง แม้กระทั่งในหัวข้อที่ละเอียดอ่อน ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสังคมประชาธิปไตย และไม่ควรสับสนกับความรุนแรงหรือการกบฏ (ที่มา)

สรุป

ข้อกล่าวอ้างที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) จะพิจารณาคดียุบพรรคก้าวไกลนั้น ไม่เป็นความจริง ไม่มีรายงานใดๆ ในประเด็นนี้จากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ ศาลโลก หรือ ICJ จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายในของรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย โดยหน้าที่หลักของ ICJ คือการตัดสินข้อพิพาทระหว่างรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ

Avatar

Title:ข้อกล่าวอ้างว่าศาลโลกจะพิจารณาคดียุบพรรคก้าวไกล “ไม่เป็นความจริง”

Fact Check By: Cielito Wang

Result: False