เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ที่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะคิวชู โดยทางหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นได้ออกคำเตือนแผ่นดินไหวที่แนวร่องลึกนันไก และเตือนว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขนาด 8-9 ในช่วง 1 อาทิตย์ถัดมาได้

และท่ามกลางเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกครั้งนี้ ก็มีรูปภาพและวิดีโอแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียโดยอ้างว่าเป็นภาพจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดนี้

โพสต์บนโซเชียลมีเดีย

มีผู้ใช้ Facebook หลายรายได้แชร์ภาพและวิดีโอ พร้อมอ้างว่าเป็นภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา

Source | Archive

Source | Archive

Source | Archive

อย่างไรก็ตาม หลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริง เราพบว่า ภาพและวิดีโอบางส่วนนั้นไม่ได้มาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อเร็วๆ นี้แต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อเท็จจริง

เราดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยใช้ฟีเจอร์ Reverse Image Search ค้นหาที่มาของรูปและวิดีโอที่มีการกล่าวอ้าง และนี่คือผลลัพธ์จากการตรวจสอบของเรา

ภาพที่ 1: ภาพเหตุการณ์สึนามิที่เมือง Rikuzentakata เมื่อปี 2011 โดยภาพดังกล่าวมากจากจากคลังภาพของ National Geographic ในบทความเกี่ยวกับสึนามิที่เผยแพร่ในปี 2013 ซึ่งถ่ายโดย Tamon Suzuki อ่านบทความได้ที่นี่

ภาพที่ 2 ภาพเหตุการณ์สึนามิที่เมือง Miyako เมื่อปี 2011 และภาพดังกล่าวเป็นภาพจากสำนักข่าว Reuters ที่ถ่ายโดยMainichi Shimbun โดยสามารถดูภาพเหตุการณ์ครั้งดังกล่าวจาก Reuters ได้ที่นี่

ภาพที่ 3: ภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นเมื่ช่วงปีใหม่ 2024 โดยภาพถนนที่ได้รับความเสียหายจนเกิดรอยแตกขนาดใหญ่ภาพนี้ถ่ายขึ้นที่เมือง Noto ที่ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว

ภาพโดย: AP

วิดีโอจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวช่วงต้นปี 2024 และเหตุการณ์สึนามิในปี 2011 ถูกนำมาแชร์มาเป็นภาพจากแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด

นอกจากนี้ วิดีโอที่ผู้คนหลบภัยขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหวในลานโบว์ลิ่ง และวิดีโอที่บันทึกภาพลานจอดรถในสถานีรถไฟขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหวก็มาจากเหตุการณ์ครั้งเดียวกันเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา (ที่มา: Dailymail)

นอกจากนี้ วิดีโอที่ผู้คนหลบภัยขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหวในลานโบว์ลิ่ง และวิดีโอที่บันทึกภาพลานจอดรถในสถานีรถไฟขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหวก็มาจากเหตุการณ์ครั้งเดียวกันเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ที่มา: CNN

ที่มา: Sambatimes

และฟุตเทจคลื่นสีดำพัดเข้ามาถล่มชายฝั่ง มาจากเหตุการณ์สึนามิครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นในปี 2011 เช่นเดียวกัน โดยสึนามิได้ส่งผลให้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ขัดข้อง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

สรุป

โพสต์บนโซเขียลมีเดียพร้อมภาพและวิดีโอที่กล่าวอ้างว่ามาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดที่ญี่ปุ่นนั้น เป็นข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ภาพและวิดีโอดังกล่าวมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอดีตเมื่อช่วงต้นปี 2024 และเหตุการณ์สึนามิเมื่อปี 2011

Avatar

Title:ภาพและวิดีโอในอดีตถูกนำมาแชร์ว่าเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นครั้งล่าสุด

Written By: Cielito Wang

Result: Misleading